นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ดเยี่ยมชมและศึกษาดูงานการแปรรูปหน่อไม้อบแห้งกึ่งสำเร็จรูป
บ้านไร่อิ่มอุ่น101 ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 175 หมู่ 4 ตำบลนาเมือง อำเภอเสลภูมิ ในพื้นที่ 2.1 ไร่ โดยมีกิจกรรมหลักประกอบด้วย
1. เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรพอเพียงวิถีอินทรีย์ ผลิตและแปรรูปอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร เน้นการปลูกพืชไม่ใช้สารเคมี การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลไส้เดือนและน้ำหมักชีวภาพ
2.เป็นสถานที่ในการดูแลสุขภาพและแหล่งรวบรวมสมุนไพร พืชสมุนไพร ในการดูแลสสุขภาพ มีที่อบสมุนไพร นวดผ่อนคลาย โดย แพทย์แผนไทย
3.เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน/งานวิจัย ทั้งส่วนราชการและผู้สนใจทั่วไปที่สนใจกิจกรรมการทำเกษตรผสมผสาน เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน
4.เป็นศูนย์ภาคีเครือข่ายในการเรียน อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบทร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด เปิดสอนระดับ ปวช.1-3 สาขาวิชาเกษตรกรรม ปัจจุบันมีนักเรียน 75 คน สำเร็จการศึกษารุ่นที่1 ปี 2566 จำนวน 34 คน
5.เป็นสถานที่ตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านไร่อิ่มอุ่น101 โดย เน้นกิจกรรมผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หน่อไม้อบแห้งกึ่งสำเร็จ กิมจิหน่อไม้ ยาหม่องสมุนไพร ฯลฯ
บ้านหนองคอนไทย ม.14 ต.กุดตุ้ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ มีจำนวน หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 554 คน ชาย 266 คน หญิง 288 คน อาชีพ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป ค้าขายนักเรียน นักศึกษา ตามลำดับ โดยข้อมูลการทำกิจกรรมทางกายของแต่ละช่วงวัยในชุมชน ใน 3 กลุ่มวัย ได้แก่ วัยเด็กและเยาวชน (6 - 18 ปี) มีความสนใจและร่วมออกกำลังกายกับชมรม วัยทำงาน (18 – 59 ปี) มีความสนใจและร่วมออกกำลังกายกับชมรม ออกกำลังกายกับชมรม และ วัยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ความสนใจและร่วมออกกำลังกายกับชมรม ออกกำลังกายกับชมรมเป็นประจำ ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชน หรือข้อจำกัดที่ทำให้ไม่ได้ทำกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่ความต้องการในการทำกิจกรรมทางกายให้เพิ่มขึ้นในชุมชน ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 23 คน โรคเบาหวาน รับยา รพ.สต. 20 คนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รับยา รพ.ชัยภูมิ 11 คน ผู้ป่วยติดบ้าน 3 คน ผู้ป่วยมะเร็ง 5 คน ปัญหาในการไม่ได้ทำกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องก่อนเข้าร่วมดำเนินโครงการกับ สสส. ได้แก่ ภาระงาน เศรษฐกิจ สถานที่ สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ขาดความตระหนัก ขาดผู้นำ และขาดการสนับสนุนกลไกภาครัฐ
ทั้งนี้ในหมู่บ้านชุมชนมีศิลปวัฒนธรรมไทยที่สำคัญคือการรำจังหวะลำเพลินที่เหมาะสมกับการนำมาในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางกายให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เนื่องจากการทำกิจกรรมการรำจังหวะลำเพลินดังกล่าวนั้น พบว่าได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั้งแขน ขา ร่างกายทุกส่วนในการออกกำลังกาย มีความสนุก เพลิดเพลิน และต้องมีสมาธิ ทำให้ได้ออกกำลังกายต่อเนื่อง มีความแรงและใช้เวลานาน สามารถสลายไขมันออกจากร่างกายได้ การฟังลำ ฟังเพลง ทำให้เพลิดเพลิน เกิดสมาธิ จิตใจจดจ่ออยู่กับเสียงเพลง ฮอร์โมนความสุขหลั่ง ทั้งนี้ชุมชนจะใช้พื้นที่ในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางกายคือ วัดอุดรหนองคอนไทย ซึ่งได้มีการดำเนินกิจกรรมมาก่อนนี้ แต่ยังขาดความต่อเนื่องและขาดการติดตามข้อมูลด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมไทยและอยากให้ชุมชนเกิดความสามัคคี เกิดความร่วมมือร่วมสนับสนุน สร้างความสัมพันธ์ในการดำเนินกิจกรรมในทุกช่วงวัย
การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน นอกจากสร้างความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนซึ่งประเทศไทยมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายมาอย่างยาวนานทั้งการละเล่นที่ไม่มีแบบแผนชัดเจนประยุกต์ และรูปแบบที่มีความเป็นมาตรฐาน ดังนั้น การส่งเสริมให้นำเอาศิลปวัฒนธรรมไทยมาออกแบบในการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน เป็นการผลักดันให้คนในชุมชนทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่
ชุมชนบ้านหนองคอนไทยเดิมเป็นชุมชนที่มีการลำเพลินเป็นหมู่บ้านลำเพลิน มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและมีการประยุกต์เป็นลำกลอนกลอนรำประกอบท่าทางต่าง ๆ ชุมชนหนองคอนไทเป็นชุมชนที่มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและศิลปะพื้นบ้านโดยลำเพลินและมีการร่วมกิจกรรมตีคลีไฟ ของทางจังหวัดชัยภูมิทุก ๆ ปีอย่างสม่ำเสมอ และได้การสนับสนุนกิจกรรมโครงการจากภาคีเครือข่าย เช่น ผู้นำชุมชน อบต.กุดตุ้ม อบจ.ชัยภูมิ และอำเภอเมืองชัยภูมิ และร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายภายนอกด้วย
ชุมชนมีบุคคลต้นแบบคือหมอลำอดิศักดิ์ หงส์ยนต์ ที่สามารถแต่งกลอนรำประยุกต์กับกลอนลำสาธารณสุขเช่นกลอนลำไข้เลือดออกมีการเป่าแคนและประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านเกิดเครือข่ายศิลปินชาวบ้านมีการออกแบบท่าทางการเต้นการรำประยุกต์กับศิลปะพื้นบ้านให้สมาชิกและผู้สูงอายุในชุมชนสามารถมาร่วมกิจกรรมได้
ทุนเดิมด้านทรัพยากรบุคคลมีประธานโครงการ นางเรณู หมู่โยธา เป็นข้าราชการบำนาญเป็นพยาบาล ที่มีความรู้ด้านสุขภาพเป็นอย่างดี ซึ่งเดิมทำงานที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ เมื่อเกษียณอายุราชการ มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาชุมชนบ้านเกิดโดยยึดหลัก บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน ทำอย่างไรจะให้เข้ามาร่วมกิจกรรมและพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปะวัฒนธรรมไทยจุดเด่นทุนทรัพยากรมีการจัดตั้งพัฒนา ครูก.ไก่ คือการรวมคนที่สนใจในการฟ้อนรำศิลปะวัฒนธรรมไทยและมีการอบรมเชิญผู้นำหรือผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรร่วมฝึกออกแบบท่ารำให้เหมาะสมกับสมาชิกออกแบบท่ารำหนักกลางเบาโดยครูก.ไก่ จะอยู่วงนอกหรือล้อมสมาชิกเพื่อเป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจกรรมทางไกลด้วยศิลปะวัฒนธรรมไทย ครูก.ไก่ จะเป็นต้นแบบในการสอนต้นแบบท่ารำส่งผลให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเกิดความผ่อนคลายสามารถร่วมกิจกรรมได้ เมื่อมีต้นแบบหรือตัวอย่างในการรำ สมาชิกเกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลาย ไม่เคอะเขิน มาร่วมกิจกรรมแล้วไม่เกิดความเครียด รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เป็นแกะดำ และหากสมาชิกไม่สามารถทำกิจกรรมทางกายได้ทันกับเพื่อนๆก็จะมี ครูก.ไก่ คอยสอนเสริมกำลังใจเป็นการส่งเสริมเสริมพลังด้วยจิตตะวิทยาอีกรูปแบบหนึ่ง
เดิมชุมชนยังขาดเยาวชนที่จะมาช่วยด้านเอกสารหรือไอทีประธานโครงการกล่าวว่า “เมื่อมีวิกฤติก็ค้นหาเพชร”ทำให้ได้มีเยาวชนเข้ามาร่วมโครงการช่วยด้านเอกสารและไอที แรงบันดาลใจจากประธานโครงการคือนางเรณูมีแนวคิดว่าเมื่อเกษียณอายุราชการอยากจะรวม บวร บ้าน วัด โรงเรียน รวมคนทุกกลุ่มวัยให้เข้ามาร่วมกิจกรรมภายในวัดนึกถึงในอดีตเมื่อตอนเด็ก ๆ ที่เด็ก ๆ จะมาเล่นที่วัดมีกิจกรรมที่วัดเมื่อเด็กเข้ามาร่วมกิจกรรมเด็ก ๆ ก็จะลดการติดเกมลดการท้องไม่พร้อมได้ในอนาคตมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยเกิดความสุขและสมาชิกมีความคิดว่าไม่อยากกระทำความผิดในวัด เหมือนมารับฟัง เกิดการกล่อมเกลาจากหลวงพ่อไปในตัว นอกจากนี้การส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมไทยเช่นการลำเพลินการฟ้อนท่ารำต่าง ๆ ก็จะมารวมกันที่วัดเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมมีวัดเป็นศูนย์รวมทำให้สามารถลดปัญหาต่าง ๆ ได้หรือแม้ในกระทั่งปัจจุบันปัญหาสถานการณ์โควิด ก็มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ส่งเสริมให้สมาชิกไปฉีดวัคซีนป้องกัน covid ได้ในตัวทั้งนี้ยังสามารถอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม คือการเอารากเหง้าจุดเด่นลำเพลินอนุรักษ์ไว้ให้เกิดประโยชน์ในโครงการดีๆ
ชุมชนบ้านทามจาน เคยได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับหน่วยจัดการร่วมกับ สสส. ในระดับพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากโครงการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนขนาดเล็กปี 2560 เพื่อพัฒนาให้เกิดชุมชนเข้มแข็งที่มี ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพและจัดการตนเองในจังหวัดชัยภูมิ โครงการกิจกรรมด้าน การจัดการขยะ จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมามีเงินกองทุนจำนวน 34,160 บาท โดยสมาชิกได้จ่ายสบทบเดือนละ 20 บาท มีกิจกรรมทำผ้าป่าขยะ และการรับบริจาคขยะ ทำผ้าป่าขยะ การรับบริจาคขยะริไซเคิลทุกเดือน โดย ม.5 มีการรับบริจาคขยะริไซเคิลทุกเสาร์แรกของเดือน ม.8 การรับบริจาคขยะริไซเคิลทุกวันที่ 1 ของเดือน การจัดการขยะของท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคกมีการเก็บขยะ โดยรถขนขยะ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง มีจุดรวบรวมขยะที่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน มีสถานที่ทิ้งขยะในพื้นที่ 10 ไร่ จากการสำรวจขอมูลขององค์การบริ หารส่วนตำบลหนองบัวโคกในการจัดการขยะชุมชน พบว่าหมู่บ้านทามจาน หมู่ที่ 5 และบ้านหนองซึก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองบัวโคกส่วนใหญ่เป็นสังคมชนบท ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 288 ครัวเรือน มีประชากรทั้ งหมด 914 คน พบว่าในชุมชนมีปริมาณขยะเฉลี่ยประมาณ 2,800 กิโลกรัมต่อเดือน ประเภทขยะที่พบ คือขยะมูลฝอยย่อยสลายได้ ในครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 1,300 กิโลกรัมต่อเดือน ขยะรีไซเคิล เฉลี่ยประมาณ 750 กิโลกรัมต่อเดือน ขยะมูลฝอยทั่วไป เฉลี่ยประมาณ 705 กิโลกรัมต่อเดือน ขยะอันตราย เฉลี่ยประมาณ 45 กิโลกรัมต่อเดือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 16 กิโลกรัมต่อเดือนหรือมี ปริมาณขยะ 0.5 กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อวัน
เดิมสภาพปัญหาการจัดการขยะ คือ ขยะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุของปัญหาดังกล่าวคือ ประชาชน ไม่ใส่ใจในการคัดแยกขยะ ขาดความรู้ การคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ผลกระทบต่อชุมชนที่เห็นได้ ชัด คือ ขยะเพิ่มขึ้น เป็นภาระต่อการจัดการขยะในภาพรวมของท้องถิ่น ที่ผ่านมาชุมชนมีวิธีการจัดการขยะครัวเรือนที่คัดแยกขยะก่อนทิ้งมีน้อยมาก ทำให้มีขยะสะสมเกิดขึ้น จากข้อมูลข้างต้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยพบว่ามี ประชาชนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก ท้องร่วง ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่ามีขยะถุงพลาสติกกระจาย เมื่อมีลมพัดบริเวณรอบๆบ่อขยะ เกิดไฟป่าจากการจุดเผาขยะ มีกลิ่นเหม็นและมีแมลงวัน พฤติกรรมของคนในชุมชนคือ รู้แต่ไม่ทำทิ้งขยะไม่เป็นที่ ไม่รู้ว่าจะเอาขยะไปขายที่ไหน และเกิดพฤติ กรรมการเก็บสะสมขยะไว้ สมทบสวัสดิ การรอบหน้า และมีการทิ้งขยะตามถนน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพยังพบว่าตามสถานที่ต่างๆ ยังมีคนทิ้งขยะบริเวณสาธารณะทิ้งขยะตามร่องถนน
จากข้อมูลที่เดิมนั้นชุมชนบ้านทามจานได้รับทุนสนันสนุนสสส.จากปี 2560 ในโครงการขนาดเล็กซึ่งมีความรู้ด้านงานเอกสาร การเงิน และระบบคอมพิวเตอร์ การคีย์ข้อมูลในระออนไลน์ ชุมชนเข้าใจในการทำงานผ่านเครื่องมือ สสส. ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยในปี 2562 จึงได้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมที่บ้านหนองซึก และยกระดับเป็นทุนทั่วไป มีผู้ช่วยพี่เลี้ยง คือนายสุรศักดิ์ แหล่งสะท้าน ที่อยู่ในระดับพื้นที่ที่คอยช่วยดำเนินงาน โดยพี่เลี้ยงทีมสนับสนุนวิชาการได้ประสานให้เลขาฯโครงการ ในการเตรียมเอกสารเอกสารการเงิน เช่นสมุดบันทึกการเงิน สมุดเลขบัญชี เอกสารใบสำคัญรับเงิน เอกสาร รายงาน ที่เบิกเงินออกใช้ในกิจกรรม พร้อมสมุดบัญชี การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประกอบการคีย์ระบบออนไลน์ ข้อมูลบันไดผลลัพธ์ ข้อมูลรูปภาพ กิจกรรม และข้อมูลการเก็บปริมาณขยะในชุมชน โดยผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการฯ ได้นัดประชุมตามแผนการดำเนินงาน เพื่อประชุมพูดคุยทบทวนรายละเอียดโครงการ ทบทวนแต่งตั้งคณะงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ และวางแผนการดำเนินงาน และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
คณะกรรมการดำเนินงานได้ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน มีการคืนข้อมูลให้แก่ชุมชนทุกครั้งโดยใช้การคืนข้อมูลร่วมกับการประชุมคืนข้อมูลร่วมกัน ด้วยชุมชนต้องมีการนัดหมายประชุมประจำเดือนตามแผนงานวิธีการคืนข้อมูลเป็นทำการคืนข้อมูลแก่สมาชิกครัวเรือนในวันที่มีการรับบริจาคขยะ และตามประกาศเสียงตามสายของผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงข้อมูล
มีการปรับปรุงกฎกติกาชุมชน ดังนี้
1) ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิจกรรม
2) ทุกครัวเรือนต้องดูแลหน้าบ้านของตนเองปลอดจากพลาสติก
3) ทุกครัวเรือนต้องลดขยะหรือใช้ขยะเท่าที่จำเป็น
4) ทุกครัวเรือนต้องแยกขยะ 4 ประเภท อย่างจริงจังและร่วมปรับปรุงบริเวณที่สาธารณะใน
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน การสะท้อนผลลัพธ์คณะกรรมการโครงการเกิดความเข้าใจบันไดผลลัพธ์ และมีกระบวนการทำงาน ตามแผนงาน เช่นมีการประชุมคณะทำงานทุกเดือน มีการคืนข้อมูล และประชาคมระดับชุมชน ทั้งในรูปแบบการประชุมและการประกาศเสียงตามสายจากผู้ใหญ่บ้าน มีการแบ่งการทำงานเป็นโซนตามคุ้ม 9 คุ้ม ให้สะดวกในการบริหารจัดการระดับคุ้ม เนื่องจากเป็นพื้นที่หมู่บ้านที่มีการกระจายตัวของหลังคาเรือน เพื่อการบริหารจัดการคุยในระดับเวที่ใหญ่ทั้งหมู่บ้านทั้งนี้เกิดผลสำเร็จเชิงประเด็นและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกชุมชน คือการลดลงลงของปริมาณขยะ
โครงการมีดำเนินกิจกรรม การคัดแยกขยะ /มีการพัฒนาใช้ประโยชน์จากขยะเช่นการทำหมวก พรมเช็ดเท้า จัดทำแจกันดอกไม้ ตระกร้า เป็นต้น
นอกจากนี้ชุมชนมีการคัดแยกขยะ ให้เป็นประเภทชัดเจน ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย ขยะรีไซคเคิล มีเพิ่มมูลค่าขยะ เช่นจัดทำไม้กวาด ทำแจกันดอกไม้ จัดทำตระกร้า จัดทำหมวกเป็นต้น ทั้งนี้ขยะอินทรีย์ ที่ย่อยสลายได้มีการจัดอบรมสาธิตการทำถังขยะเปียกขยะอินทรีย์ และจัดทำถังแยกขยะในครัวเรือน โดยวิทยากรจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ สิ่งแวดล้อม เส้นทาง ถนนรอบชุมชน ในชุมชนให้สะอาดน่าอยู่ น่ามอง
ร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่สาธาณะของชุมชน ให้สะอาดน่าอยู่น่ามอง เช่นการใช้รถไถเกรดปรับปรุงพื้นที่ การทำความสะอาดบริเวณถนนหลักของหมู่บ้าน มีกิจกรรม Big cleaning day พื้นที่สาธารณะในชุมชนโดยการทำความสะอาดรอบหมู่บ้าน ดำเนินการแล้วทุกครัวเรือนโดยให้ความร่วมมือ คือรู้และร่วมทำ คณะทำงานได้มีการประชุมและลงพื้นที่ ให้ความรู้และเชิญชวนให้เข้ามาร่วมกิจกรรมเพื่อชุมชนสะอาด และคืนถังขยะแก่ อบต.ได้ 100 เปอร์เซนต์
ประชาชน เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทำให้เกิดความตระหนักและใส่ใจในการคัดแยกขยะ มีความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ขยะลดลงไม่ส่งผลหรือเป็นภาระต่อการจัดการขยะในภาพรวมของท้องถิ่น ชุมชนมีวิธีการจัดการขยะครัวเรือนที่คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ไม่มีมีขยะสะสม สุขภาพโดยรวมพบว่า ประชาชนที่ไม่มีการป่วยเป็นไข้เลือดออก ท้องร่วง ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าชุมชนสะอาดมากขึ้น ไม่มีขยะถุงพลาสติ กระจายตามถนนเหมือนแต่ก่อน ที่เมื่อมีลมพัดบริเวณรอบๆบ่อขยะเพราะมีการจัดการและทำความสะอาดบริเวณพื้นที่สาธารณะแล้ว ไม่เกิดไฟป่าจากการจุดเผาขยะ ไม่มีกลิ่นเหม็นและมีแมลงวัน ชุมชนสะอาดมากขึ้น
เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนคือ รู้และลงมือทำทิ้ง คัดแยกขยะ โดยชุมชนเชิญชวนให้คัดแยกในครัวเรือน ผู้สูงอายุมาร่วมในกิจกรรม สอนลูกหลานให้รู้จักคัดแยกขยะในครัวเรือน ไม่เกิดพฤติกรรมการเก็บสะสมขยะไว้เพื่อสมทบสวัสดิการรอบหน้าทั้งนี้ด้วยมีการปรับกฎกติการใหม่ให้ไม่คิดเป็นจำนวนปริมาณขยะที่จะนำมาร่วมสวัสดิการ และไม่มีการทิ้งขยะตามถนน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพตามสถานที่ต่างๆ บริเวณสาธารณะ ไม่มีการทิ้งขยะตามร่องถนน สะอาด เมื่อผู้สูงอายุในชุมชนได้มีส่วนร่วมเกิดการเห็นคุณค่าในตนเอง ลดช่องว่างระหว่าวัยมีการสอนลูกหลานให้รู้จักแยกขยะ รู้จักรับผิดชอบและเยาวชนก็มีส่วนร่วมในโรงเรียน ทำให้ชุมชนเกิดความสามัคคีและเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์แก่ชุมชนเกิดชุมชนเข้มแข็ง ในอนาคตเมื่อชุมชนสามารถจัดการขยะได้ดีมีประสิทธิภาพชุมชนต้องการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชนได้แก่ การให้ความสำคัญและพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ดังภาพ
รายละเอียด
พวกเราคนทำงานสุขภาวะในพื้นที่ คงมีเรื่องราวที่น่าตื่นตา ตื่นใจเต็มไปหมด
แต่พอจะลงมือเขียนเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างแรงบันดาลใจแก่สังคม กลับเป็นเรื่องยากมากๆ ระดับที่คิดแล้วก็ท้อใจ ยากที่จะเขียนได้
.
ไทอีสานจึงอยากนำเสนอหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเกิดจากการรวบรวมประสบการณ์งานเขียนเล่าเรื่องของพี่ตึ๋ง วีระ นิจไตรรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนพอๆกับการทำงานพัฒนา ที่ทำให้องค์ความรู้จากการทำงานในพื้นที่หรืองานวิชาการ มาผสมผสานกับงานวรรณกรรม เกิดเป็นเรื่องเล่าเร้าพลัง ที่น่าหยิบจับอ่านแบบได้อรรถรส ซึ่งจัดทำขึ้นหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากโครงการต่างๆ จัดพิมพ์เป็นหนังสือคู่มือ " ถอดองค์ความรู้ชุมชนด้วยตนเอง "
.
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจ สามารถศึกษาและปรับใช้กับงานเขียนเล่าเรื่องของตัวเองได้บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ
ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://drive.google.com/.../17wRGCEokLcn9Kfh...
หรือสแกนในคิวอาร์โค้ดที่โปสเตอร์ได้เลยครับ
“ขยะใครคิดว่าไม่สำคัญ !! สำคัญข้อแรกคือ สร้างเงิน สำคัญข้อสอง คือสร้างความสามัคคีในหมู่บ้าน และสำคัญข้อสามคือสร้างเสน่ห์ และเอกลักษณ์ให้หมู่บ้าน เพราะเป็นหมู่บ้านจัดการขยะ 100% บ้านโคกกลางจึงเป็นหมู่บ้านที่มีเสน่ห์”
พ่อเสนีย์ บุญเพิ่ม ประธานโครงการ การจัดการขยะในชุมชนบ้านโคกกลาง หมู่ 2 ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เล่าย้อนไปเมื่อประมาณปี 2559 ว่า ช่วงนั้น ปริมาณขยะในพื้นที่บ้านโคกกลาง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง แม้บางหลังคาเรือนจะมีถังขยะ แต่ก็ไม่มีการคัดแยกขยะ อย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการนำขยะไปทิ้งใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักในการนำน้ำมาผลิตประปาหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านใช้อุปโภคบริโภคด้วย หากปล่อยไว้เช่นนี้ ปริมาณขยะก็จะเพิ่มขึ้น และมีขยะเกลื่อนพื้นที่ ทางผู้นำชุมชน ซึ่งสมัยนั้น พ่อเสนีย์ รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน จึงได้หารือร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนชาวบ้านในหมู่บ้าน เกี่ยวกับการจัดการขยะ เพื่อให้หมู่บ้านสะอาด น่าอยู่ มีการบริหารจัดการขยะอย่างมีแบบแผน ประกอบกับขณะนั้น หน่วยงานภาครัฐมีการรณรงค์เรื่องการจัดการขยะ ทางผู้นำชุมชนจึงมีแรงผลักดัน ที่จะนำพาหมู่บ้านไปสู่เป้าหมายเดียวกันกับภาครัฐ คือหมู่บ้านสะอาด ปราศจากขยะ และมีการบริหารจัดการขยะอย่างจริงจัง
หลังจากมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ทางผู้นำชุมชน จึงได้ประกาศเสียงตามสาย เพื่อเชิญชวนชาวบ้านมาร่วมประชุมหารือ ถึงแนวทางการดำเนินงานก่อนจะมีการทำประชาคมทั้งหมูบ้าน เมื่อการทำประชาคมหมู่บ้านผ่านไปด้วยดี ผู้นำชุมชน นำโดย ผู้ใหญ่ เสนีย์ (สมัยนั้น) และชาวบ้าน จึงเริ่มเข้าเกียร์เดินหน้า ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะทันที
พ่อเสนีย์ เล่าไปยิ้มไป ด้วยสำเนียงชาวภูไท ว่า แรกเริ่มก็ยังจับต้นชนปลายอะไรไม่ได้เท่าที่ควร แต่ด้วยความร่วมมือ และร่วมแรงร่วมใจของทุกคนในหมู่บ้าน ที่ช่วยกันคิด ช่วยกันวางแผน มีการหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการขยะ การเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ขยะแต่ละครัวเรือน ก่อนจะนำมาสรุปในที่ประชุมหมู่บ้านทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง จึงได้แบบอย่างการจัดการขยะที่จัดเจน ขึ้น
เมื่อทุกอย่างชัดเจน จึงเริ่มวางแผนทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมการเก็บขยะ และทำความสะอาดบริเวณรอบบ้านเรือน ถนนรอบหมู่บ้าน โรงเรียน และวัด การแบ่งเขตรับผิดชอบตามคุ้มต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมผ้าป่าขยะด้วย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้ทำควบคู่ไปกับการรับซื้อขยะ เพื่อนำมาคัดแยก และนำไปขาย นำเงินที่ได้มาเข้ากองทุนขยะ เก็บไว้พัฒนาหมู่บ้าน
“การรับซื้อขยะ จะรับซื้อทุกหมู่บ้านในเขตตำบลหนองสูง หลังจากที่ได้ขยะมาแล้ว คณะกรรมการหมู่บ้าน และชาวบ้าน จิตอาสา ก็จะช่วยกันคัดแยก ก่อนจะนำไปขาย หากถามว่าเหนื่อยไหม ตอบเลยว่า ก็มีบ้างนะ แต่มันคุ้มค่ากับแรงที่ลงไป เพราะข้อแรก หมู่บ้านสะอาด มีการแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง ขยะที่สามารถขายได้ ชาวบ้านก็นำมาขายให้กองทุนขยะ แม้จะได้เงินจากการขายขยะไม่มาก แต่ทุกคนก็มีรอยยิ้มที่ได้ร่วมกันทำสิ่งดีๆให้หมู่บ้าน ไม่ว่าใครจะโทรศัพท์มาให้ไปรับซื้อขยะเราก็ไปนะ ซื้อมาแล้วก็คัดแยก และนำไปขาย ส่วนเงินที่ได้ก็เก็บไว้ บริการจัดการกันต่อไป มันไม่เหลือบ่ากว่าแรงเราไปได้หรอก ถ้าเราจะทำ ”
ผลจากการลงมือทำอย่างจริงจัง นอกจากจะทำให้หมู่บ้าน สะอาด มีการจัดการขยะอย่างมีแบบแผนแล้ว ชาวบ้านมีการคัดแยกขยะ 100% ที่สำคัญ กองทุนขยะ ยังมีรายได้มากพอ ที่สามารถจัดซื้อที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ จัดซื้อรถเก็บขยะ จัดซื้อเครื่องปั่นไฟ เอาไว้ใช้ประโยชน์ในหมู่บ้าน และยังมีเงินจำนวนหนึ่งเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป และผลพลอยได้จากโครงการ การจัดการขยะในชุมชนบ้านโคกกลาง ยังทำให้ชาวบ้านหันรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการทำเกษตรแบบอินทรีย์ด้วย
“หมู่บ้านเราถือเป็นหมู่บ้านต้นแบบในตำบลหนองสูงใต้นะ เมื่อหมู่บ้านเราประสบความสำเร็จ ต่อมา ในปี 2562 จึงได้เกิดธรรมนูญตำบลเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะขึ้น โดยมี 8 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลหนองสูงใต้ ร่วมลงนามความร่วมมือที่จะ บริหารจัดการขยะอย่างเป็นรูปแบบต่อไป”
พ่อเสนีย์ บอกว่า แม้ตอนนี้จะเกษียณอายุจากผู้ใหญ่บ้าน และมารับตำแหน่ง อบต. แล้ว แต่ก็ยังไม่ละทิ้งการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารขยะ ชาวบ้านทุกคน รวมทั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ ยังดำเนินงานสืบเนื่องกันมา เฉกเช่นสมัยที่พ่อเสนีย์ ยังรับหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน
ยิ่งไปกว่านั้นนายไชยา สุวรรณไตรย์ อายุ 48 ปี ผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ไฟแรง ยังบอกว่า โครงการนี้เราจะไปต่อ ไม่พอแค่นี้แน่นอน พูดไปก็หัวเราะไปด้วยเป็นคนอารมณ์ดี ส่วนในมือก็ถือถุงพลาสติกขนาดใหญ่ที่มีขวดพลาสติก 3-4 ขวด พร้อมบอกว่าเมื่อสักครู่ขี่รถจักรยานยนต์ออกไปซื้อของนอกหมู่บ้านเห็นขวดพลาสติกถูกทิ้งอยู่ข้างถนนจึงเก็บกลับมา
]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]สมพร กิ่งมาลา ผู้เขียน]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]]
การจัดการขยะเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
เขียนโดย คณะทำงานถอดบทเรียน : ปวีณา ลิมปิทีปราการ จีราพร ทิพย์พิลา วินัย วงศ์อาสา และ สงกา สามารถ
ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีพื้นที่บริเวณที่สามารถจัดการขยะเศษอาหารด้วยการทำถังอินทรีย์ก้นรั่ว หรือ การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ ขนาดของครัวเรือนอยู่ประมาณ 70 ถึง 300 ครัวเรือน อาชีพส่วนใหญ่ของประชาชนเป็นอาชีพทำการเกษตร เป็นชุมชนที่มีการบริการจัดเก็บขยะจากครัวเรือน มีคณะกรรมการหมู่บ้าน ทีมอสม. ที่เข้มแข็ง มีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน มีจำนวน 17 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น 9,550 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,156 ครัวเรือน มีองค์กรหรือหน่วยงานในตำบล ได้แก่ โรงเรียนจำนวน 4 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง วัด 2 แห่งและที่พักสงฆ์ 6 แห่ง รวม 18 แห่ง รพ.สต.จำนวน 2 แห่ง และมีตลาดนัด 4 แห่ง แต่ไม่มีตลาดสด และสำนักงานเทศบาลจำนวน 1 แห่ง รวมจำนวนองค์กรและหน่วยงานในตำบลทั้งหมด 21 แห่ง จุดเสี่ยงที่พบในการทิ้งขยะไม่ถูกวิธี จำนวน 3 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 บริเวณใกล้วัดป่า จุดที่ 2 บริเวณใกล้สำนักงานเทศบาล และจุดที่ 3 บริเวณใกล้บ่อฝังกลบหมู่ที่ 3 จากการสำรวจปัญหาขยะในชุมชนเทศบาลตำบลขามป้อม พบว่าใน17 ชุมชนมีปริมาณขยะเฉลี่ย 3,567 ตันต่อปี หรือ 297.25 ตันต่อเดือน หรือคิดเป็น 9.9 ตันต่อวัน ประเภทขยะที่พบมากคือ ขยะทั่วไป ในแต่ละเดือนเทศบาลตำบลขามป้อมได้ใช้จ่ายงบประมาณในการบริหารจัดการขยะ คิดเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 34,360 บาทต่อเดือน หรือจำนวน 412,320 บาทต่อปี เพื่อจ่ายเป็นค่าจ้างเหมาเก็บขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลขามป้อม นับเป็นปัญหาหนักของเทศบาลตำบลขามป้อมในการบริหารจัดการขยะเหล่านั้น
จากสถานการณ์ปริมาณขยะตำบลขามป้อม ทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนในหลายด้าน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง และพาหะของโรคเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับขยะมูลฝอยมีโอกาสที่จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ ก่อให้เกิดความรำคาญขยะมูลฝอย การเก็บรวบรวมได้ไม่หมดก็จะเกิดเป็นกลิ่นรบกวน กระจายอยู่ทั่วไปในชุมชน อีกทั้งมีทัศนะวิสัยที่ไม่น่ามอง ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษของน้ำ มลพิษของดิน และมลพิษของอากาศ เนื่องจากขยะส่วนที่ขาดการเก็บรวบรวม หรือไม่นำมากำจัดให้ถูกวิธี ปล่อยทิ้งค้างไว้ในพื้นที่ของชุมชน เมื่อมีฝนตกลงมาจะไหลชะล้างนำสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรค และสารพิษจากขยะไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งการจัดหางบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารจัดการขยะ ขยะมูลฝอยปริมาณมาก ๆ ย่อมต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ ซึ่งในแต่ละเดือนเทศบาลตำบลขามป้อมได้ใช้จ่ายงบประมาณในการบริหารจัดการขยะ คิดเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 34,360 บาทต่อเดือน หรือจำนวน 412,320 บาทต่อปี
อนึ่ง เทศบาลตำบลขามป้อมไม่ได้นิ่งนอนใจ ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมแก่ประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการจัดการขยะ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ การจัดหาถังขยะใส่ขยะอันตรายทุกชุมชน การจัดหารถขนขยะจำนวน 1 คัน คนงานเก็บขยะจำนวน 3 คน เก็บทุกวันจันทร์ อังคาร พุธและพฤหัสบดี และมีที่ฝังกลบขยะพื้นที่จำนวน 3 ไร่ รวมทั้งได้มีการจัดหาถังคัดแยกขยะในหน่วยงานราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และในชุมชน พร้อมทั้งยังมีการส่งเสริมการจัดการขยะในครัวเรือนโดยเริ่มต้นที่ ครัวเรือน อสม.ก่อน การส่งเสริมให้ อสม.จัดการขยะอินทรีย์โดยการทำถังหมักขยะอินทรีย์ ขณะนี้ได้ 108 ถังหรือ 108 ครัวเรือน ต่อเนื่องด้วยในปี 2563 เทศบาลตำบลขามป้อม ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จัดทำธรรมนูญประชาชนตำบลขามป้อม เรื่องการจัดการขยะในชุมชน ได้ระบุในธรรมนูญประชาชนตำบลขามป้อม ร่วมกันส่งเสริมความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน การลดขยะ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการจัดการขยะอันตรายให้กับชุมชนในตำบลขามป้อม เช่น (1) ให้ทุกครัวเรือนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยขยะเปียกกำจัดโดยวิธีฝังกลบ ขยะแห้งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ให้ขายกับธนาคารขยะของชุมชน (2) ให้ทุกครัวเรือนดูแลจัดการความสะอาดหน้าบ้านของตนเองให้สะอาดเรียบร้อย (3) เทศบาลสนับสนุนป้าย “ห้ามทิ้งขยะ”ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ริมถนน คอสะพาน หัวไร่ปลายนา หากพบว่ามีการฝ่าฝืน ให้ชุมชนแจ้งเบาะแสกับผู้นำชุมชน หรือ คณะกรรมการธรรมนูญตำบลในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อดำเนินการปรับรายละ 500 บาท และนำเงินค่าปรับเข้าสู่กองทุนธนาคารขยะของชุมชน (4) ให้เทศบาลตำบลขามป้อม จัดหาภาชนะสำหรับใส่ขยะที่เป็นพิษหรือขยะอันตราย คุ้มละ 1 จุด และประสานหน่วยงานที่จัดเก็บขยะอันตราย เพื่อนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสม เป็นต้น
จากการขับเคลื่อนการจัดการขยะตำบลขามป้อม ได้มีการข้อเสนอเพื่อให้มีการจัดตั้งคณะทำงานแบบมีส่วนร่วมที่มีความหลากหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมในการดำเนินงานจัดการขยะในพื้นที่ตำบลขามป้อม ได้แก่ เทศบาลตำบลขามป้อม รพ.สต.ตำบลขามป้อม โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล อสม. และผู้นำชุมชน เป็นต้น โดยมีแผนการดำเนินงานที่มีความชัดเจน และการเก็บข้อมูลในการประเมินผลสู่การเปลี่ยนแปลง มีการสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้กับชุมชน โดยการอบรมพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน ในการคัดแยกขยะในครัวเรือน การบูรณาการในพื้นที่หน่วยงาน/องค์กรในชุมชนเกิดการคัดแยกขยะ การแปรรูปขยะให้เกิดรายได้ การนำขยะไปใช้ประโยชน์โดยการทำถังหมักขยะอินทรีย์ การทำเสวียงกำจัดใบไม้ และการรณรงค์ผ่านกิจกรรม ผ่านหอกระจายข่าวในชุมชน และการรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติกให้ใช้ถุงผ้าแทน การขยายผลครัวเรือนต้นแบบ โดย อสม. ผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่าง จากต้นแบบ 108 ครัวเรือนให้ขยายมากขึ้น การสร้างพฤติกรรมการลดขยะในโรงเรียน การจัดตั้งศูนย์จัดการขยะในชุมชน โดยเป็นจุดรับ-ขายขยะ เป็นสถานที่แปรรูปขยะ เป็นแหล่งให้ความรู้ในการจัดการขยะ และการวางกฎกติการ่วมกันของคนในชุมชนให้มีการคัดแยกขยะ และการติดตามการจัดการขยะแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงรูปธรรมคือการลดปริมาณขยะของชุมชน โดยรวมลดลง จากผลการสำรวจข้อมูล และจัดเก็บข้อมูล และสถานการณ์การจัดการขยะของตำบลขามป้อม มีปริมาณขยะลดลงจากเดือนกันยายน 2564 ก่อนเริ่มโครงการฯ ปริมาณขยะอยู่ที่ 297 ตัน/เดือน ในเดือนมกราคม 2565 ลดเหลือ 120.76 ตัน/เดือน คิดเป็นปริมาณขยะลดลง ร้อยละ 40.66 และรอบเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 62.73 และรอบเดือนมีนาคม 2565 ลดลงร้อยละ 78.54 มีครัวเรือนต้นแบบจาก 10 หมู่บ้าน ๆ ละ 1 ครัวเรือน โดยต้องผ่านเกณฑ์ 6 ตัวชี้วัด และจะมีการขยายผลสู่บ้านของผู้นำชุมชน อสม. ด้วยการใช้กลไกที่ง่าย ๆ จากการแบ่งสีของบ้านเป็นสีเขียว และสีแดง สีเขียว คือ บ้านเข้าร่วมโครงการแล้วขยะลดลง สีแดง คือบ้านที่เข้าร่วมโครงการแต่ขยะยังไม่ลด ต้องมีการเข้าไปเคาะประตูบ้านซ้ำ และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตมองว่าควรมีแนวทางในการลงโทษโดยใช้กติกาทางสังคมกับกลุ่มบ้านที่เป็นสีแดง เพื่อเป็นแรงจูงใจและผลักดันให้ลดปริมาณขยะที่ต้นทางจากครัวเรือน มีกิจกรรมส่งเสริมความสะอาดมากขึ้นจากกิจกรรม Big cleaning Day ที่เป็นนโยบายที่ส่งเสริมให้เกิด “ชุมชนน่าอยู่” มีการพัฒนาจุด check in ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อทำให้เป็นแลนมาร์คของการคัดแยกขยะ และสามารถต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบล ประชาชนในหมู่บ้าน เห็นถึงความสำคัญของการคัดแยก การช่วยกันดูแลสภาพแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่น่าอาศัย ใครผ่านไปมาก็รู้สึกชื่นชมในความสะอาดภายในหมู่บ้าน จากการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน มีการกำหนดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการกำจัดขยะในร่างกายด้วยการออกกำลังกายโดยการรำและเต้นประกอบเพลง มีการส่งเสริมให้ทุกหมู่บ้านทำกิจกรรมนี้ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันร่วมกับทาง รพสต.ขามป้อม ดังภาพด้านล่าง
ส่วนกลไกการทำงาน ได้แบ่งโครงสร้างของกลไกออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับคณะทำงานหลักระดับตำบล ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีตำบลขามป้อม รองนายกเทศมนตรีตำบลขามป้อม รองปลัดเทศบาล หัวหน้าสำนักปลัด กำนันตำบลขามป้อม ผู้อำนวยการส่งเสริมสุขภาพตำบลขามป้อม ผู้ใหญ่บ้านขามป้อม หมู่ที่ 1-17 หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ พยาบาลวิชาชีพชำนาญ เลขานุการสภาเทศบาลฯ การเงินและบัญชี นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการผู้ช่วยนักวิชาการสุขาภิบาล และระดับคณะทำงานย่อยระดับหมู่บ้าน การแบ่งกลไกโครงสร้างเป็น 2 ระดับ ทำให้มีงานระดับพื้นที่และงานระดับนโยบายที่จะคอยติดตามและผลักดัน หากกิจกรรมการลดปริมาณขยะยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยทีมคณะทำงานหลักจะเน้นเรื่องการติดตามข้อมูล และทำการสั่งการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมและแก้ไขปัญหา ส่วนคณะทำงานย่อยระดับหมู่บ้านจะเป็นทีมที่ลงทำงานจริงในพื้นที่ รู้จักพื้นที่เป็นอย่างดี ที่ มีการออกแบบการเก็บข้อมูลโดยใช้พนักงานเก็บขนขยะเป็นผู้ชั่งปริมาณขยะจากแต่ละบ้านในพื้นที่ในขณะที่มีการลงไปเก็บขยะ ซึ่งพนักงานเก็บขนจะสามารถประเมินเบื้องต้นในบ้านที่เป็นสีแดง จากปริมาณขยะที่ไม่ลดลง เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลที่เก็บในครั้งแรกก่อนเริ่มดำเนินการ โดยบ้านที่เป็นสีเขียวต้องมีปริมาณขยะลดลงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ ทำการประเมินติดตามทุกอาทิตย์ เน้นการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกไปใช้ประโยชน์ด้วยการหมักทำปุ๋ย หรือทำน้ำหมักชีวภาพ รวมถึงการนำไปเลี้ยงสัตว์ เพื่อลดปริมาณขยะอินทรีย์ที่จะปนเปื้อนมาในขยะทั่วไป กิจกรรมหลักคือทีมคณะทำงานในระดับพื้นที่ คือ อสม. จะลงไปเคาะประตูแต่ละบ้าน และสื่อสารเพื่อให้เกิดการคัดแยกขยะ และลดปริมาณขยะลง โดยเฉพาะบ้านที่มีสีแดง จะมีการลงเคาะประตูซ้ำเพื่อสื่อสารอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีการเปลี่ยนเป็นบ้านสีเขียว คือมีปริมาณขยะที่นำมาทิ้งเป็นขยะทั่วไปลดลง โดยมี 1 หมู่บ้านที่ตั้งเป็นกองทุนรับซื้อขยะขึ้น เพื่อรับซื้อขยะรีไซเคิลที่ประชาชนในหมู่บ้านคัดแยก การสื่อสารของทีมคณะทำงานย่อยกับประชาชนก็อาศัยการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายร่วมด้วย รวมถึงการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ไลน์กลุ่ม เป็นต้น สำหรับบ้านที่เป็นสีเขียวก็มีการส่งเสริมให้ต่อยอดเป็นครัวเรือนต้นแบบ ซึ่งปัจจุบันได้มีครัวเรือนต้นแบบจำนวนหมู่บ้านละ 1 แห่ง และมีแผนที่จะขยายผลให้เพิ่มครัวเรือนต้นแบบในบ้านของผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และทีม อสม. ทั้งหมด ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนการคัดแยกขยะ ให้เป็นครัวเรือนต้นแบบต่อไป
ปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่กลไกคณะทำงาน ที่ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ทีมอสม. ที่มีความเข้มแข็ง เสียสละ ประสานงานเก่ง อดทน และมีจิตอาสา มีความรับผิดชอบของผู้นำชุมชน มีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบที่ชัดเจน การนำความอ่อนโยนนำมาสู่การแก้ไขปัญหา การใช้กิจกรรมเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน มาสร้างให้เกิดความรักสามัคคีกันในการทำงานร่วมกัน
******************************************
องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมด้านการสร้างและขยายโอกาสการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ของกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ในรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะได้แก่ ความรู้ ทักษะ คุณค่า และทัศนคติ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกผ่านกิจกรรมต่างๆโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในเชิงประเด็น เช่น สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาศักยภาพเยาวชน ปัจจุบันศูนย์ฯ ได้สนับสนุนและดำเนินงานในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ สกลนคร นครพนม บึงกาฬ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี และภาคเหนือในพื้นที่จังหวัดลำปาง
.
พิกัด : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนคนหนุ่มสาว 29 หมู่ 12 ตำบลโพนแพง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
ผู้ประสานงาน : นายธนภัทร แสงหิรัญ เบอร์ติดต่อ : 0963459391
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนท่องเที่ยวบ้านปรางค์นคร
ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เกิดจากความตั้งใจของชุมชนในการอนุรักษ์ศิลปะการแสดง ถ่ายทอดศาสตร์แห่งการแสดงของเหล่าบรรพชนสู่อนุชนรุ่นหลัง โดยมีคุณครูเตือนใจ แก้วประเสริฐ ที่ใช้เวลาหลังจากเกษียณอายุราชการ เป็นผู้ฝึกสอนและถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้กับเด็กๆและเยาวชนในชุมชนบ้านปรางค์ โดยนักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนบ้านปรางค์นคร นอกจากได้เรียนรู้การร่ายรำแล้วยังสามารถเช่าชุดนางอัปสราเพื่อไปถ่ายภาพที่ปราสาทบ้านปรางค์ เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำดีๆได้อีกด้วย
นอกจากการสอนศิลปะการร่ายรำแล้วที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนได้เรื่องการท่องเที่ยวชุมชนผ่านโครงการยุวชนอาสานำเที่ยว Little Guide
เรื่องราวของศราวุธ อินตรีทอง เจ้าของบ้านกะสวนฟาร์ม เป็นเกษตรกรที่ใส่ใจชอบเรียนรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ จนกลายพัฒนามาเป็นวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแปรรูปผักผลไม้อินทรีย์ สถานที่แห่งนี้เป็นสวนเกษตรอินทรีย์แบบธรรมชาติ มีการปลูกพืชต่างถิ่น พืชที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่แต่สามารถเอามาประยุกต์ใช้กับการเกษตรได้ก่อให้เกิดรายได้โดยการท่องเที่ยวในเชิงเกษตร จึงทำให้เกิดเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรสิ่งที่วิสาหกิจชุมชนได้รับการสนับสนุน คือ โอกาสที่ได้รับมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้วิสาหกิจชุมชนขยายผลไปในทางที่ดีในชุมชน สิ่งสำคัญที่ชุมชนได้รับ คือ สามารถสร้างรายได้จากผลผลิตที่มีอยู่ ในการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณ์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการทำกิจกรรมเพาะปลูกพืชผักอินทรีย์, การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก, การทำสารชีวภัณฑ์ควบคุมการกำจัดแมลงอีกด้วย
โครงการกินสบายใจ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสื่อสร้างสุข ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส. ในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การผลิตรับรองมาตรฐานการตลาด การส่งเสริมการบริโภคอาหารอินทรีย์ในโรงเรียนและองค์กร จนถึงการบริโภค ซึ่งในการพัฒนาห่วงโซ่อาหารปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตพืชผักอินทรีย์ การตรวจรับรองแปลง การแปรรูป การกระจาย การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ การบริโภคผักผลไม้อย่างเพียงพอ ลดหวานมันเค็ม และการทำตลาด ในจังหวัดอุบลราชธานี จะว่าไปแล้วก็ถือว่าเครือข่ายกินสบายใจเดินทางมาไกลกว่าเป้าหมายมากๆ เพราะจากเดิมที่เริ่มต้นมากับรายการทีวีท้องถิ่นแต่ปัจจุบันได้พลิกบทบาทที่เป็นเสมือนการหมุนรอบทิศ จนกลายมาเป็นการทำงานที่ครบวงจร
กินสบายใจช็อป เกิดขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 เมื่อช่วงกลางเดือนเมษายน ปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช็อปที่มีฉายาว่ามีความอินดี้และเหมาะกับคนนอกกรุงในยุคนี้ การเกิดขึ้นของกินสบายใจช็อปคือการเปิดหน้าร้าน เพื่อให้ผู้บริโภคซึ่งส่วนมากเป็นคนเมืองเนื่องจากช็อปนั้นตั้งใจที่จะวางอยู่ในห้างสรรพสินค้าเรียกได้ว่า คือ โมเดิร์นเทรดที่เป็นตลาดทันสมัย ดังนั้น ที่นี่จึงเปรียบเสมือนนิทรรศการผักและอาหารอินทรีย์ของชาวอุบลราชธานีที่ทุกคนจะได้มาเรียนรู้ร่วมกัน
หัวใจหลักของการทำงานกินสบายใจช็อป ต้องการเห็นผลประกอบการที่มีรูปธรรมและธุรกิจต้องอยู่ได้อย่างสง่าผ่าเผยเพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจในเส้นทางอาชีพที่สร้างรายได้และรวยได้โดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสามารถยกระดับราคาให้สูงขึ้นได้ ดังนั้น โอกาสที่จะก่อให้เกิดกำไรที่ดีจึงมีสูง”
เรื่องราวของโรงเรียนบ้านคูเมือง (อ่อนอนุเคราะห์) เป็นโรงเรียนที่เป็นจุดเด่นในการส่งเสริมอาชีพนักเรียนเพราะฉะนั้นการเพาะปลูกทำไว้ตั้งแต่เดิมอยู่แล้ว สิ่งสำคัญที่โรงเรีนแห่งนี้ทำขึ้นมา ได้แก่ 1.เพิ่มพื้นที่ปลูกผักในพื้นที่ว่างเปล่าหลังโรงเรียน 2.ซื้อผักจากเกษตรกรอินทรีย์ในชุมชน 3.บูรณาการเกษตรอินทรีย์เข้ากับสาระการเรียนรู้ เช่น สมุดเล่มเล็ก นิทานปากขยับ 4.จัดตั้งตลาดในโรงเรียน อย่างไรก็ตามการทำเกษตรอินทรีย์ไม่ได้ยากอย่างที่คิดถ้าลองเปลี่ยนแปลงมุมมองความคิดจากการทำเคมีเป็นทำอินทรีย์แทนทำให้ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการใช้งานภาคเกษตรได้ทั้งเป็นผลอย่างดี ส่งผลให้ทั้งผู้ปลูกและผู้กินได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงรวมถึงเป็นการปรับสภาพแวดล้อม เช่น กำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป นอกจากนี้การปลูกผักแบบอินทรีย์ทั้งยังเป็นผลดีกับสิ่งแวดล้อมแล้วยังทำให้ลดอัตราการเสี่ยงสารเคมีในเลือดได้อีกด้วย
บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ไม่ใชสารเคมี ปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ ต้านภัยโควิด 2019 ปลูกผักปลอดสารเคมี ไว้รับประทานในยามเกิดวิกฤต ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก ประหยัดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เสริมสร้างความแข็งแรง
ชุมชนหนอวิไลเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลเขมราฐ ซึ่งเทศบาลตำบลเขมราฐมีประชากรทั้งหมด 6,279 คน มีครัวเรือน 2,256 หลังคาเรือน มีพื้นที่ประมาณ 7.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านเหนือเขมราฐ หมู่ที่ 7 บ้านกงพะเนียง หมู่ที่ 8 บ้านโนนนารี หมู่ที่ 11 บ้านหนองวิไล หมู่ที่ 22 บ้านแสนสุข พร้อมทั้งมีการแบ่งพื้นที่ในการดูแลออกเป็น 8 ชุมชน ได้แก่ 1) ชุมชนบ้านเหนือ 2) ชุมชนหลังหมวดการทาง 3) ชุมชนแสนสุข 4) ชุมชนกงพะเนียง 5)ชุมชนโนนนารี 6) ชุมชนเทพนิมิต 7) ชุมชนหนองวิไล 8) ชุมชนโนนสังข์พัฒนา มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ มีประมาณ 6 ตัน/วัน โดยปริมาณขยะที่ผลิตอยู่ที่เฉลี่ย 0.56 กก./คน/วัน ประมาณ 2,190 ตัน/ปี
ตำบลเขมราฐเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว และมีการตั้งโรงแรม ตลาด ถนนคนเดินจึงทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น ทำให้ขยะล้นถัง การบริหารจัดการมีปัญหา จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องของการจัดการขยะ โดยทางเทศบาลตำบลเขมราฐเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน แล้วขอความร่วมมือจากทางผู้ประกอบการ ร้านค้า วัด รพ.สต. โรงเรียน ชุมชน ฯลฯ เพื่อจัดการขยะทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย
พันตำรวจโทสุรชัย เทศวงศ์ ประธานสภาเทศบาลตำบลเขมราฐ หนึ่งในแกนนำคนสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการขยะในพื้นที่ เล่าว่า ในการจัดการขยะเริ่มต้นด้วยการสร้างคนก่อน เริ่มจากกลไกการทำงานโดยมีหัวหน้าคุ้ม, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, ผู้สูงอายุ/ผู้อาวุโส/จิตอาสา และประธานชุมชน ซึ่งมีการขยายไปให้ครอบคลุมในทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านเหนือ หมู่ที่ 7 บ้านกงพะเนียง/เขมราฐ หมู่ที่ 8 บ้านโนนนารี หมู่ที่ 22 บ้านแสนสุข จนเกิดกลไกระดับชุมชนๆละ อย่างน้อย 12 คน ที่ประกอบไปด้วย เทศบาล, สภาเทศบาล, ผู้นำชุมชน, ตัวแทนชุมชน เป็นต้น เกิดกรรมการคุ้ม/ อสม. ทั้ง 6 คุ้ม ที่คอยติดตาม/ประเมินครัวเรือนในการจัดการขยะอย่างถูกวิธี
จากการทำงานที่ผ่านมา ทำให้เกิดความรู้ในหลายรูปแบบ คือ ความรู้การจัดการขยะ 4 ประเภท ได้แก่ ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ ขยะอันตรายและขยะทั่วไป เป็นต้น ชุมชนมีการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน โดยช่วยกันใช้ถุงผ้าไปจับจ่ายที่ตลาด มีร้านค้าในชุมชนเข้าร่วมโครงการในการลดขยะโดยไม่ใส่ถุงพลาสติก ลดการใช้โฟมโดยร้านค้าปลอดโฟม และการสร้างแรงจูงใจโดยการให้ลูกค้าซื้อของครบ 200 บาท ร้านค้าจะมีแจกถุงผ้าให้ เกิดมาตรการและมีการกำหนดเป้าหมายร่วม ซึ่งหมู่บ้านต้องเข้มแข็งจัดการขยะเองได้ ครัวเรือนทุกครัวเรือนมีการจัดการขยะในบ้าน มีการคัดแยกขยะทั้ง 4 ประเภท และเป็นสมาชิกธนาคารขยะ โดยหากใครไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษ เช่น ไม่ให้กู้ยืมเงิน ไม่ให้ยืมของ เป็นต้น เกิดข้อเสนอเข้าสู่เทศบาลเป็นเทศบัญญัติร่วมกัน เกิดครัวเรือนคัดแยก 656 ครัวเรือน จาก 1,911ครัวเรือนคิดเป็น 34.33% เกิดครัวเรือนต้นแบบ 56 ครัวเรือน โดยมีเงื่อนไขหรือเกณฑ์วัดครัวเรือนต้นแบบ 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ หน้าบ้าน-ในบ้านสะอาด ครัวเรือนคัดแยกขยะ หน้าบ้านสวยหลังบ้านสวน ปลอดลูกน้ำยุงลาย มีถังขยะเปียก และมีธนาคารใบไม้ เป็นต้น
ทั้งนี้ได้นำขยะมาสร้างมูลค่าด้วยการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น ดอกไม้แจกัน โมบาย เก้าอี้จากล้อรถ รวมถึงการจัดตั้งจุดรวมขยะที่เรียกว่า “ธนาคารขยะ” จะมีคณะกรรมการทำหน้าที่รับซื้อ-ขายขยะของชุมชน จำนวน 3 แห่ง ท้ายสุดปริมาณขยะในชุมชนลดลง เหลือ 0.56 กก./วัน/ครัวเรือน จากเดิม 1.14 กก./วัน/ครัวเรือน จนเหลือปริมาณขยะ 380.48 กก./วัน
ที่มาของการเลี้ยงความอินทรีย์เมื่อปี 2560 จาการที่สุขภาพของปริชาติไม่ดี เจ็บป่วยบ่อยเกือบเสียชีวิตจาการทำงานที่กรุงเทพฯ จึงเปลี่ยนความคิดที่จะกลับบ้านเพื่อที่จะสานงานต่อจากพ่อ ซึ่งเคยเป็นนายฮ้อยค้าขายควาย โดยเริ่มต้นจากการซื้อควายมาเลี้ยงจากเงินที่ได้จากดกการทำงานที่สะสมมา และปรับผืนที่นาเป็นโคกหนองนา ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จากมูลของควาย และการปลูกหญ้าอินทรีย์เลี้ยงควายเพื่อป้องกันการกินหญ้าที่มีสารเคมีปนเปื้อน เพื่อไม่ให้ควายสะสมเคมีและเจ็บป่วย พร้อมเพื่อดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว ให้ทานข้าวอินทรีย์ เลี้ยงปลาในบ่อดินธรรมชาติ ใช้ข้าวที่เหลือจากการรับประทาน พืชผักที่ปลูกและหญ้าหวานที่ปลูกไว้ให้ควายนำมาใช้เลี้ยงปลาในบ่อ
เทศบาลเมืองวารินชำราบ เป็นชุมชนกึ่งเมืองที่มีการขยายตัวทุก ๆ อย่างรวดเร็ว มีตลาดสด 2 แห่ง ร้านขายส่งเครื่องอุปโภค บริโภคและร้านค้าอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย ดังนั้นจึงเกิดขยะจำนวนมากมาย โดยสถิติการเก็บขยะพบว่า ปี 2558 เฉลี่ย วันละ 25.48 ตัน ปี 2559 เฉลี่ย วันละ 26.08 ตัน ปี 2560 เฉลี่ย ปีละ 26.74 ตัน และปี 2561 เฉลี่ย ปีละ 27.34 ตัน ซึ่งจะเห็นว่า ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากการเก็บข้อมูลประเภทขยะพบว่า ร้อยละ 64 เป็นขยะย่อยสลายได้ ร้อยละ 30 เป็นขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ร้อยละ 3 เป็นขยะอันตราย และอีกร้อยละ 3 เป็นขยะทั่วไป
ในปี 2563 ได้ดำเนินการจัดการขยะในชุมชนหนองตาโผ่นและชุมชนบูรณะ โดยใช้รูปแบบธนาคารขยะชุมชน เพื่อให้สมาชิกนำขยะที่มีในครัวเรือนมาฝาก เก็บออมเป็นกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ เพื่อจ่ายให้กรณีคนในครัวเรือนที่เป็นสมาชิกเสียชีวิต ในอัตรา 30 บาทต่อครัวเรือน ผลที่เกิดขึ้นในโครงการดังกล่าว สามารถลดปริมาณขยะได้ร้อยละ 57 และเกิดนวัตกรรมในการจำกัดขยะ โดยสมาชิกได้นำขยะขวดพลาสติกมาทำเป็นไม้กวาด และนำหลอดกาแฟมาทำเป็นไส้หมอน หมอนรองคอ เบาะรองนั่งเพื่อป้องกันแผลกดทับ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเป็นตัวอย่างให้หลายหน่วยงาน ได้ร่วมออกบู๊ธ นิทรรศการต่าง ๆ ทั้งรับดับจังหวัด และระดับประเทศ ทีมงานธนาคารขยะชุมชน เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้แก่หน่วยงานต่าง ๆ อีกหลายรายการ ทั้งในและนอกจังหวัด
แต่ขยะก็ไม่อาจลดลงได้ดั่งใจ และตามความต้องการ เพราะขยะเกิดขึ้นทุกวัน ทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกแห่ง ส่วนหนึ่งคือจิตสำนึก นิสัย ความมักง่าย และหรือ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เกิดปัญหาต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม
ศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งที่ 2 ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว ได้พยายามดำเนินงานด้านการจัดการขยะให้ครบ 7 ชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ประกอบด้วย ชุมชนหนองตาโผ่น ชุมชนหนองกอก ชุมชนหนองบก ชุมชนแสนสำราญ ชุมชนวัดผาสุการาม ชุมชนบ้านสวนวาริน และชุมชนบูรณะ ที่เกิดปัญหาคล้าย ๆ กัน เช่นการมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ การเกิดก่อเกิดขยะนอกจากคนในชุมชนเองแล้ว ยังมีประชาชนเขตตำบลแสนสุขนำเอาขยะมาทิ้งรวมด้วย ด้วยเหตุผลความสะดวก สบาย ศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งที่ 2 มี 3,190 หลังคาเรือน ประชากร 3,635 คน คิดเฉลี่ยทิ้งขยะคนละ 1.7 กิโลกรัม 2 แหล่งที่สร้างขยะ ประกอบด้วยบ้านเรือนประชาชน 3,190 หลังคาเรือน ร้านเนื้อย่าง แจ่วฮ้อน จำนวน 11 ร้าน ร้านกาแฟ ชา เครื่องดื่ม จำนวน 34 ร้าน ร้านอาหาร ร้านข้าวต้ม 15 ร้าน ร้านส้มตำ ไก่ย่าง อาหารถุง ปิ้งย่าง 36 ร้าน ร้านลาบ ต้ม อาหารตามสั่ง 16 ร้าน ร้านขายผลไม้ 4 ร้าน ร้านเคก เบเกอรี่ ขนมปัง นมสด 11 ร้าน ร้านก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ ผัดไท ข้าวมันไก่ 29 ร้าน อื่น ๆ 3 ร้าน รวมร้านที่เป็นกิจการเกี่ยวกับอาหาร จำนวน 159 ร้าน
จากสถานการณ์ของชุมขน พบว่า มีบุคคลภายนอกเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ นำขยะมาทิ้งในถังขยะของเทศบาลเมืองวารินชำราบ ปัญหาคนเก็บขยะ คุ้ยเขี่ยถังขยะเพื่อเก็บเอาขยะไปขายแล้วไม่เก็บใส่ถังคืน ในครัวเรือนเอง ไม่มีการคัดแยกขยะ ซึ่งคิดคร่าว ๆ ประมาณ ร้อยละ 10 ทำให้เกิดปัญหากลิ่นเหม็นรบกวนประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง การจัดการขยะเพื่อนำมาใช้ประโยชน์รูปแบบต่าง ๆ มีน้อย ซึ่งพบว่า การกำจัดขยะ ใช้วิธีฝังร้อยละ 2.10 ให้วิธีหมัก ร้อยละ 0.03 ใช้วิธีเผา ร้อยละ 6.14 และใช้วิธีส่งต่อให้เทศบาลกำจัด ร้อยละ 91.7 ที่พบส่วนใหญ่อีกปัญหาคือ ขยะจากครัวเรือนส่วนใหญ่ เป็นขยะเศษอาหาร ซึ่งมีน้ำหนักค่อนข้างมาก และทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มีการเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นได้ ส่งผลกระทบเพื่อนบ้าน ประชาชนที่อยู่ใกล้ถังขยะบ่น เสียสุขภาพจิต หายใจไม่สะดวก เกิดหนอนแมลงวัน เกิดความรำคาญด้านกลิ่น สิ่งแวดล้อม มองไปเห็นไม่เจริญตา สกปรกตามถนนหลังจากที่รถเทศบาลมาเก็บก็จะเกิดน้ำที่เน่าเสียไหล หยดไปตามถนน ด้านเศรษฐกิจ เทศบาลเมืองวารินชำราบ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น ต้องเพิ่มสถานที่ฝังกลบ รถที่ใช้ขนส่งก็ใช้จำนวนเที่ยวมากขึ้น ต้องจ้างแรงงานในการกำจัดขยะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ปัญหาด้านสังคม ประชาชนในชุมชนอยู่บ้าน พักผ่อนไม่เต็มที่ เพราะมีเหม็นรบกวน เกิดการต่อว่ากัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่านสื่อโชเชียลต่าง ๆ เทศบาลเมืองวารินชำราบก็ต้องตามแก้ปัญหาไม่จบสิ้น ปัญหาด้านสุขภาพ เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน การปัญหาโรคทางเดินหายใจ หอบ หืด ภูมิแพ้ เป็นต้น หากประชาชนให้ความตระหนัก เอาใจใส่ ในการคัดแยกขยะ การจัดการขยะที่เป็นระบบ จะสามารถลดปริมาณขยะให้ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดรายได้ และประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการปรับไปสู่การสร้างหลักประกันชีวิตที่มั่นคง ยั่งยืนได้
การจัดการขยะของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ ใช้รูปแบบธนาคารขยะชุมชน เพื่อให้สมาชิกนำขยะที่มีในครัวเรือนมาฝาก เก็บออมเป็นกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นกลวิธีหนึ่งที่จะดึงดูดให้คนมาช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน “ขยะในชุมชนเมืองถึงจะถูกจัดการ”
ตำบลพังเคน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นตำบลเล็กๆในพื้นที่อำเภอนาตาล มีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 6 แห่ง และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา วัดและที่พักสงฆ์จำนวน 20 แห่ง ตลาดนัด 4 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ประชากร 11,357 คน 3,394 ครัวเรือน
จากการสำรวจข้อมูลขยะในพื้นที่ตำบลพังเคน 619.40 ตัน/ปี ช่องว่างที่ก่อให้เกิดการทิ้งขยะประเภทถุงพลาสติก ไม่มีการคัดแยกขยะประเภทนี้ ได้แก่ วัด มีการคัดแยกขยะ 4 แห่ง ซึ่งเหลืออีก 16 แห่ง ตลาด และโรงเรียน ยังไม่มีการคัดแยกขยะ และครัวเรือน มีการคัดแยกขยะเป็นบางส่วนประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์
สถานการณ์ปัญหาดังกล่าวเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้ ด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล ได้แก่ การขาดจิตสำนึก ความมักง่าย ทิ้งไม่เป็นที่ ไม่มีการคัดแยกก่อนทิ้ง และยังขาดความรู้ในการคัดแยกขยะแต่ละประเภท ส่วนด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ การใช้ถุงพลาสติกในวัด ตลาด อบต.ไม่ได้จัดที่ทิ้งขยะให้และไม่มีรถขยะให้บริการคนในชุมชนตำบลพังเคน ส่วนด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ การมีตลาดนัด ซึ่งตลาดนัดในชุมชนนั้นมีการจัดเก็บขยะแต่ไม่ได้มีการคัดแยกขยะแต่ละประเภทออกจากกัน และมีการใช้มาตรการทางสังคมแต่ไม่มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทำให้ทิ้งขยะที่ผิดวิธี เช่น การนำขยะอันตรายมาทิ้งรวมกับขยะทั่วไป ซึ่งทาง อบต. พังคน ได้มีถังขยะอันตรายให้ทุกหมู่บ้าน และจะมีเจ้าหน้าที่ออกเก็บขยะทุกวันพุธที่ 3 ของทุกเดือน จากการสังเกต ทั้ง 19 หมู่บ้านยังทิ้งขยะไม่ถูกช่องที่กำหนดให้ ทั้งนี้ ได้ประสานไปยังผู้นำหมู่บ้าน ประธาน อสม. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้เข้าใจ วิธีการทิ้งขยะแต่ละประเภทให้ถูกช่องตามที่กำหนดไว้ และท้ายสุดด้านความรู้ ได้แก่ ปัญหาการขาดความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และขาดความรู้ในการนำขยะไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
จากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น สิ่งที่ตามมา คือ ผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนตำบลพังเคนในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ผลกระทบทางด้านสุขภาพ ได้แก่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง และพาหะนำโรค เกิดการสะสมของเชื้อโรค เกิดจากการเน่าเปื่อยของขยะอินทรีย์ที่ไม่มีการจัดเก็บ และยังเป็นแหล่งที่อาหารของสัตว์ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน เช่น โรคอุจจาระร่วง นอกจากนี้ หากไม่มีการคว่ำภาชนะหรือเศษวัสดุที่มีน้ำขัง ก็จะทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย เช่น โรคไข้เลือดออก และก่อให้เกิดความรำคาญขยะมูลฝอย การเก็บรวบไม่หมดก็จะเกิดเป็นกลิ่นรบกวนกระจายไปยังบ้านใกล้เคียงและเกิดปัญหาการร้องเรียนเกิดขึ้น ส่วนผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพมากเพิ่มขึ้นจากการเจ็บป่วย และทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ต่อมาคือผลกระทบทางสังคม ได้แก่ ปัญหาการร้องเรียน เหตุรำคานในการเผาขยะ ท้ายสุดคือผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษของน้ำ มลพิษของดินและมลพิษของอากาศ เนื่องจากขยะส่วนที่ขาดการเก็บรวบรวมหรือไม่นำมากำจัดให้ถูกวิธีปล่อยทิ้งไว้ เมื่อมีฝนตกมาจะไหลชะนำความสกปรก สารพิษจากขยะไหลลงสู่แม่น้ำ ทำให้แหล่งน้ำเกิดการเน่าเสีย และนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพดิน และถ้ามีการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันมีการพิษทำให้คุณภาพาของอากาศเสียและยังทำให้ทัศนียภาพไม่สวยงาม
หมู่บ้านต้นแบบจัดการขยะ 3 ขนาดเป็นแนวทางหนึ่งที่ทางคณะทำงานการจัดการขยะตำบลได้มีการดำเนินงานมาในปี พ.ศ.2562-2563 มีหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้านขนาดเล็ก 1 หมู่บ้าน ขนาดกลาง 1 หมู่บ้าน และขนาดใหญ่ 1 หมู่บ้าน ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างหมู่บ้านต้นแบบให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะชุมชน 4 ประเภท โดยขยะประเภทที่ 1 ขยะอินทรีย์ ครัวเรือนคัดแยกแล้วจัดการโดยทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง รวบรวมใส่เสวียนเพื่อทำปุ๋ย ทำธนาคารใบไม้ประเภทที่ 2 ขยะทั่วไปจัดการโดยการลดการใช้ถุงพลาสติก สินค้าหลายชิ้นชุ้งใบเดียว ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ถุงที่ได้มาล้างให้สะอาดตากให้แห้งส่งให้ อบต.พังเคน เพื่อการจัดการต่อไป ไปตลาดใช้ตะกร้า เหรียญโปรยทานทำจากใบมะพร้าว ประเภทที่ 3 ขยะรีไซเคิล ให้แต่ละครัวเรือนแยกเพื่อจำหน่ายให้ร้านรับซื้อของเก่า หรือรถเร่รับซื้อของเก่า และประเภทที่ 4 ขยะอันตราย อบต.จัดทำถังรวบรวมขยะอันตรายให้หมู่บ้านละ 1 จุด ผู้นำหมู่บ้านประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนคัดแยกและนำมารวบรวม ณ จุด ที่จัดไว้ให้ อบต.ดำเนินการรวบรวมทุกวันพุธที่ 3 ของเดือน เพื่อนำส่ง อบจ.ปีละ 2 ครั้ง มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้น 89 หลังคา และทุกครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมครัวเรือนคัดแยกขยะ
การขยายผลหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ 4 ประเภทอย่างถูกวิธีภายใต้แนวคิด “แยกไม่เป็นขยะ”แต่เป็นประโยชน์ และสร้างรายได้ โดยนำรูปแบบกิจกรรมที่ได้ดำเนินการที่กล่าวมาสู่การขยายผลอีก 16 หมู่บ้านให้ครอบคลุมพื้นที่ 19 หมู่บ้านในตำบล อบต.พังเคน โดยดำเนินงานโครงการ “ตำบลพังเคนร่วมใจ จัดการขยะถูกวิธี สู่วิถีชีวิตใหม่”
จากความมุ่งมั่นตั้งใจของคนตำบลพังเคน ร่วมมือกันทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้แทนภาครัฐ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนจากภาคประชาชน และผู้แทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกันจัดทำธรรมนูญสุขภาพประชาชนตำบลพังเคน ฉบับที่ 1 พ.ศ.2562 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 เพื่อให้ องค์การบริการส่วนตำบลพังเคน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร่วมกันส่งเสริมความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน การลดขยะ การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ การจัดการขยะอันตราย และการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีให้กับชุมชนในตำบลพังเคน ข้อ 7 ให้แต่ละหมู่บ้านมีกฎระเบียบในเรื่องของการจัดการขยะ เช่น 1) ให้ทุกครัวเรือนในชุมชนรับผิดชอบดูแลทำความสะอาดตามบริเวณบ้าน และหน้าบ้านของตนเอง 2) ให้ชุมชนมีการคัดแยกขยะของครัวเรือน โดยขยะเปียกกำจัดโดยทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำเป็นอาหารสัตว์หรือวิธีการฝังกลบ ขยะแห้งที่สามารถใช้ซ้ำได้ให้นำกลับมาใช้ใหม่ ขยะที่ขายได้ให้ขายเข้ากองทุนขยะหรือธนาคารขยะของชุมชน 3) ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้านร่วมกันประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย เรื่องการดูแลทำความสะอาดบริเวณบ้าน การคัดแยกขยะ การลดใช้ถุงพลาสติกทุกสัปดาห์ 4) ให้ครัวเรือนและร้านค้าในชุมชนลดการใช้ถุงพลาสติก โดยให้หันมาใช้ถุงผ้าแทน 5) ให้แต่ละครัวเรือนในชุมชน ปฏิเสธการรับถุงพลาสติกจากรถพุ่มพวง ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้า 6) ให้โรงเรียนมีการดำเนินการของธนาคารขยะ และให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ และการลดขยะแก่เด็กนักเรียน และคนทั่วไปในชุมชน
7) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนป้าย “ห้ามทิ้งขยะ” ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ข้างถนน แหล่งน้ำลำคลอง หากพบว่ามีการฝ่าฝืน ให้ชุมชนแจ้งเบาะแสกับให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือคณะกรรมการธรรมนูญตำบลในแต่ละหมู่บ้าน โดยผู้ฝ่าฝืนจะถูกปฏิเสธการเข้ากลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
8) ให้องค์การบริการส่วนตำบลพังเคน จัดหาภาชนะสำหรับใส่ขยะที่เป็นพิษหรือขยะอันตราย หมู่บ้านละ 1 ที่ และประสานหน่วยงานที่จัดเก็บขยะอันตราย เพื่อนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสม
ข้อ 8 ให้องค์การบริหารส่วนตำบลพังเคนสนับสนุนการจัดตั้ง “ธนาคารขยะ” ภายในชุมชน
ข้อ 9 ให้องค์การบริหารส่วนตำบลพังเคน บังคับใช้กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยความสะอาดของชุมชน และให้ประชาชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
จากการวางแนวทางการดำเนินโครงการหมู่บ้าน 3R นั้น ทำให้ปริมาณขยะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 91.58 ซึ่งปริมาณขยะที่ลดลง เกิดจากประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และร่วมมือในการคัดแยกขยะชุมชน 4 ประเภท โดยยึดหลักแนวคิด “แยกไม่เป็นขยะ แต่เป็นประโยชน์ และสร้างรายได้”
ชมรมผู้สูงอายุบ้านค้อคือกลุ่มจักสาน จะสานพวกกระติ๊บข้าวเหนียว อุปกรณ์จะใช้ไม่ไผ่ที่มีอยู่ในชุมชน และจะทำเป็นงานอดิเรกช่วงแรกๆก็จะสานรวมกลุ่มกันเฉพาะญาติที่บ้านอยู่ใกล้กันประมาณ4-5คน ได้วัน1กระติ๊บจากกิจกรรมจักสานเกิดรายได้พิเศษและจากนั้นก็ทำอย่างต่อเนื่องมานานจึงทำให้ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเล็งเห็นความสำคัญและได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาอย่างเป็นทางการ กระติ๊บข้าวของชมรมผู้สูงอายุบ้านค้อมีจุดเด่นคือการนำเอาเปลือกไม้ จำพวกเปลือกประดู่,เปลือกกระโดน,เปลือกไม้มะเข็ง,เปลือกต้นฉะฝางที่มีอยู่ในป่าชุมชนมาย้อมเป็นสี ซึ่งไม่มีอันตรายและทำเป็นลวดลายได้หลากหลายลาย เช่น ลายหม่อง,ลายกระแต,ลายเวียน เป็นต้น
" การสร้างอาหารปลอดภัยตั้งแต่ท้องนาจนมาถึงพาข้าวที่หมายถึงการสร้างระบบการผลิต การแปรรูป การบริโภคที่ปลอดภัย รวมทั้งการสร้างเป้าหมายหรือการสร้างนโยบายร่วมกันระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภคและหน่วยงานรัฐ
เกษตรกรต้องวางแผนการผลิตให้ปลอดภัย มีตลาดภายในชุมชนเกิดเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้ชุมชนรู้ว่ามีอาหารปลอดภัย รัฐเข้ามาสร้างมาตรฐานและสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจแปลง ส่วนเกษตรกรรุ่นใหม่ขายสินค้าในตลาดออนไลน์ "
.
ทันตแพทย์หญิงวรางคณา อินโลหิต สมัชชาสุขภาพจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวภายในงาน เวทีโชว์ แชร์ เชื่อม “เชื่อมประสานภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนประเด็นเกษตรอินทรีย์ ภาคอีสาน” ตอน “เกษตรอินทรีย์ทางรอดในสถานการณ์โควิด 19” วันที่ 7 สิงหาคม 2564 ที่เพจไทอีสาน
.
banner by โอเล่อุบลฯ
กลุ่มเยาวชนนาคเล่นน้ำ - รำมวยโบราณ สกลนคร เป็นกลุ่มเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดสกลนคร อาทิ มวยโบราณ ฟ้อนหางนกยูง การเล่นเส็งกลอง รำกั๊บแก๊ป ฯลฯ โดยมีการฝึกซ้อมฝึกฝนให้กับเด็ก เยาวชนที่สนใจ และหากมีความชำนาญก็สามารถออกงานต่างๆได้ โดยกลุ่มเยาวชนมีผลงานที่เด่นชัด เช่น การร่วมขบวนแห่ปราสาทผึ้งสกลนคร, การแสดงแสงสีเสียงตำนานเมืองหนองหานสกลนคร, การออกงานบุญประเพณีต่างๆทั่วประเทศ
กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนปากหมาก
“รับซ้าย จ่ายขวา”
ทำบัญชีสิดี รู้รายรับรายจ่าย พ่อทำบัญชีมาตั้งแต่สมัยที่เค้าจดในสมุด “รับซ้าย จ่ายขวา” ทำเกษตรแล้วเจ้าหน้าที่กรมบัญชีมาเห็นว่าพ่อทำบัญชีได้เลยให้พ่อไปเรียนรู้การใช้ App Smart Me พอนำมาใช้ทำให้เรารู้ว่าเรามีต้นทุนอะไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายอะไร แต่ละเดือนมีรายได้เท่าไหร่ ซึ่งรายได้ของพ่อมาจากการทำเกษตร ช่วงหน้าหนาวก็ส่งผักขาย ช่องทางการจำหน่ายของพ่อก็คือเพจเมืองเลยเดลิเวอรี่ จะเปิดรับออเดอร์ตอนเช้า ปิดรับช่วงบ่าย 2 เพราะช่วงบ่าย 3 พ่อจะต้องเอาของไปตะลอนส่งลูกค้า
หรือใครอยากเจอพ่อวันจันทร์และวันศุกร์พ่อจะไปขายอยู่ที่ตลาดประชารัฐข้างอำเภอเมืองเลย วันอังคารและวันเสาร์พ่อจะขับรถตะลอนขายบางครั้งก็นำไปขายที่โรงพยาบาลเลย ช่วงเย็นวันเสาร์ก็จะไปที่ตลาดแจ๊บใจด้วยนะ วันพุธพ่อจะขายอยู่ที่ตลาดปันสุข แต่จะหยุดพักมาดูแลสวนอย่างเต็มที่ในวันพฤหัส วันอาทิตย์ก็จะไปขายผักที่ตลาดบ้านหัวนา
พ่อเล่าให้ฟังว่า...มีคำสอนของพ่อผม แกบอกว่า “อย่าไปกลัวคนขี้เกียจให้กลัวคนฉลาด อย่าไปกลัวคนฉลาดให้กลัวคนขยัน อย่าไปกลัวขยันให้กลัวคนอดทน อย่าไปกลัวคนอดทนให้กลัวคนอึด” ที่ทำเกษตรแล้วได้ผลขนาดนี้เพราะผมอึด “ผมไม่เคยคิดว่าตัวเองประสบผลสำเร็จ เพราะผมพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา” เรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้
สวนพ่อปลูกผักสวนครัว ส่วนใหญ่ที่นำไปขายก็จะมีกะหล่ำ ขึ่นช่าย ผักชี ต้นหอม กวางตุ้ง คะน้า จะขายในช่วงฤดูหนาว
ช่วงเมษาถึงประมาณช่วงตุลาก็ขายสับประรด
เทคนิค
- ใช้น้ำหมักรกหมูช่วยบำรุงพืชผักให้แข็งแรงโตไว
- นอกจากน้ำหมักก็ผสมปุ๋ยเองประกอบไปด้วย แกลบ ขี้วัว และขี้แพะ บำรุงดินทำให้ผลผลิตออกมาสวยใหญ่
- ทำกับดักล่อแมลงในแปลงผักง่ายๆคือใช้กระดาษสีเหลืองทาเคลือบสารเหนียวดักแมลงไปห้อยไว้ใกล้ ๆ แปลงผัก สีเหลืองจะช่วยล่อแมลงให้มาติดกับดักเอง
- การสร้างรายได้เพิ่มจากการเก็บกะหล่ำคือ...เมื่อตัดหัวกะหล่ำแล้วนำใบมาปิดขั้วที่ตัดออกไม่เกิน 1 อาทิตย์ จะเกิดแหนงดอกกะหล่ำ
อำนาจเจริญเมืองธรรมะเกษตร......
เป็นคำที่หลายๆคนหลายท่านอาจจะเคยได้ยินมา นอกจากการดำเนินงานผลักดันด้านยุทธศาสตร์แล้ว อีกหนึ่งกำลังสำคัญคือ พลังเยาวชนลูกหลานเมืองอำนาจเจริญ หรือ "เมืองธรรมะเกษตร" แห่งนี้ โดยสมาพันธ์เด็กและเยาวชนเมืองธรรมเกษตรก่อตั้งขึ้นโดยการรวมกลุ่มของเยาวชนในพื้นที่ตำบล ปัจจุบันมีกลุ่มเยาวชนในเครือข่ายสมาพันธ์จำนวน 20 กลุ่ม (20ตำบล) และมีแผนพัฒนาแกนนำเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ รวมกลุ่มทำกิจกรรมและจัดตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนระดับตำบลร่วมเข้ามาเป็นเครือข่าย โดยทางจังหวัดเองเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณ การพัฒนาแกนนำเยาวชน โดยการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน และเวทีสรุปบทเรียนปีละ1ครั้ง โดยให้เยาวชนแต่ละตำบลมาเสนอแผนงานกิจกรรมที่อยากทำในพื้นที่ของตนเอง นอกจากการทำกิจกรรมแล้ว เด็กและเยาวชนเองก็ได้ฝึกพัฒนาศักยภาพ ทั้งด้านงานกิจกรรม/สันทนาการ/การประสานงาน/การสร้างกลุ่มแกนนำเยาวชนเพื่อสานต่อกิจกรรมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง