การจัดการขยะชุมชนเมือง "เมืองวารินชำราบ"
เทศบาลเมืองวารินชำราบ เป็นชุมชนกึ่งเมืองที่มีการขยายตัวทุก ๆ อย่างรวดเร็ว มีตลาดสด 2 แห่ง ร้านขายส่งเครื่องอุปโภค บริโภคและร้านค้าอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย ดังนั้นจึงเกิดขยะจำนวนมากมาย โดยสถิติการเก็บขยะพบว่า ปี 2558 เฉลี่ย วันละ 25.48 ตัน ปี 2559 เฉลี่ย วันละ 26.08 ตัน ปี 2560 เฉลี่ย ปีละ 26.74 ตัน และปี 2561 เฉลี่ย ปีละ 27.34 ตัน ซึ่งจะเห็นว่า ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากการเก็บข้อมูลประเภทขยะพบว่า ร้อยละ 64 เป็นขยะย่อยสลายได้ ร้อยละ 30 เป็นขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ร้อยละ 3 เป็นขยะอันตราย และอีกร้อยละ 3 เป็นขยะทั่วไป
ในปี 2563 ได้ดำเนินการจัดการขยะในชุมชนหนองตาโผ่นและชุมชนบูรณะ โดยใช้รูปแบบธนาคารขยะชุมชน เพื่อให้สมาชิกนำขยะที่มีในครัวเรือนมาฝาก เก็บออมเป็นกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ เพื่อจ่ายให้กรณีคนในครัวเรือนที่เป็นสมาชิกเสียชีวิต ในอัตรา 30 บาทต่อครัวเรือน ผลที่เกิดขึ้นในโครงการดังกล่าว สามารถลดปริมาณขยะได้ร้อยละ 57 และเกิดนวัตกรรมในการจำกัดขยะ โดยสมาชิกได้นำขยะขวดพลาสติกมาทำเป็นไม้กวาด และนำหลอดกาแฟมาทำเป็นไส้หมอน หมอนรองคอ เบาะรองนั่งเพื่อป้องกันแผลกดทับ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเป็นตัวอย่างให้หลายหน่วยงาน ได้ร่วมออกบู๊ธ นิทรรศการต่าง ๆ ทั้งรับดับจังหวัด และระดับประเทศ ทีมงานธนาคารขยะชุมชน เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้แก่หน่วยงานต่าง ๆ อีกหลายรายการ ทั้งในและนอกจังหวัด
แต่ขยะก็ไม่อาจลดลงได้ดั่งใจ และตามความต้องการ เพราะขยะเกิดขึ้นทุกวัน ทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกแห่ง ส่วนหนึ่งคือจิตสำนึก นิสัย ความมักง่าย และหรือ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เกิดปัญหาต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม
ศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งที่ 2 ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว ได้พยายามดำเนินงานด้านการจัดการขยะให้ครบ 7 ชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ประกอบด้วย ชุมชนหนองตาโผ่น ชุมชนหนองกอก ชุมชนหนองบก ชุมชนแสนสำราญ ชุมชนวัดผาสุการาม ชุมชนบ้านสวนวาริน และชุมชนบูรณะ ที่เกิดปัญหาคล้าย ๆ กัน เช่นการมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ การเกิดก่อเกิดขยะนอกจากคนในชุมชนเองแล้ว ยังมีประชาชนเขตตำบลแสนสุขนำเอาขยะมาทิ้งรวมด้วย ด้วยเหตุผลความสะดวก สบาย ศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งที่ 2 มี 3,190 หลังคาเรือน ประชากร 3,635 คน คิดเฉลี่ยทิ้งขยะคนละ 1.7 กิโลกรัม 2 แหล่งที่สร้างขยะ ประกอบด้วยบ้านเรือนประชาชน 3,190 หลังคาเรือน ร้านเนื้อย่าง แจ่วฮ้อน จำนวน 11 ร้าน ร้านกาแฟ ชา เครื่องดื่ม จำนวน 34 ร้าน ร้านอาหาร ร้านข้าวต้ม 15 ร้าน ร้านส้มตำ ไก่ย่าง อาหารถุง ปิ้งย่าง 36 ร้าน ร้านลาบ ต้ม อาหารตามสั่ง 16 ร้าน ร้านขายผลไม้ 4 ร้าน ร้านเคก เบเกอรี่ ขนมปัง นมสด 11 ร้าน ร้านก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ ผัดไท ข้าวมันไก่ 29 ร้าน อื่น ๆ 3 ร้าน รวมร้านที่เป็นกิจการเกี่ยวกับอาหาร จำนวน 159 ร้าน
จากสถานการณ์ของชุมขน พบว่า มีบุคคลภายนอกเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ นำขยะมาทิ้งในถังขยะของเทศบาลเมืองวารินชำราบ ปัญหาคนเก็บขยะ คุ้ยเขี่ยถังขยะเพื่อเก็บเอาขยะไปขายแล้วไม่เก็บใส่ถังคืน ในครัวเรือนเอง ไม่มีการคัดแยกขยะ ซึ่งคิดคร่าว ๆ ประมาณ ร้อยละ 10 ทำให้เกิดปัญหากลิ่นเหม็นรบกวนประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง การจัดการขยะเพื่อนำมาใช้ประโยชน์รูปแบบต่าง ๆ มีน้อย ซึ่งพบว่า การกำจัดขยะ ใช้วิธีฝังร้อยละ 2.10 ให้วิธีหมัก ร้อยละ 0.03 ใช้วิธีเผา ร้อยละ 6.14 และใช้วิธีส่งต่อให้เทศบาลกำจัด ร้อยละ 91.7 ที่พบส่วนใหญ่อีกปัญหาคือ ขยะจากครัวเรือนส่วนใหญ่ เป็นขยะเศษอาหาร ซึ่งมีน้ำหนักค่อนข้างมาก และทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มีการเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นได้ ส่งผลกระทบเพื่อนบ้าน ประชาชนที่อยู่ใกล้ถังขยะบ่น เสียสุขภาพจิต หายใจไม่สะดวก เกิดหนอนแมลงวัน เกิดความรำคาญด้านกลิ่น สิ่งแวดล้อม มองไปเห็นไม่เจริญตา สกปรกตามถนนหลังจากที่รถเทศบาลมาเก็บก็จะเกิดน้ำที่เน่าเสียไหล หยดไปตามถนน ด้านเศรษฐกิจ เทศบาลเมืองวารินชำราบ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น ต้องเพิ่มสถานที่ฝังกลบ รถที่ใช้ขนส่งก็ใช้จำนวนเที่ยวมากขึ้น ต้องจ้างแรงงานในการกำจัดขยะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ปัญหาด้านสังคม ประชาชนในชุมชนอยู่บ้าน พักผ่อนไม่เต็มที่ เพราะมีเหม็นรบกวน เกิดการต่อว่ากัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่านสื่อโชเชียลต่าง ๆ เทศบาลเมืองวารินชำราบก็ต้องตามแก้ปัญหาไม่จบสิ้น ปัญหาด้านสุขภาพ เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน การปัญหาโรคทางเดินหายใจ หอบ หืด ภูมิแพ้ เป็นต้น หากประชาชนให้ความตระหนัก เอาใจใส่ ในการคัดแยกขยะ การจัดการขยะที่เป็นระบบ จะสามารถลดปริมาณขยะให้ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดรายได้ และประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการปรับไปสู่การสร้างหลักประกันชีวิตที่มั่นคง ยั่งยืนได้
การจัดการขยะของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ ใช้รูปแบบธนาคารขยะชุมชน เพื่อให้สมาชิกนำขยะที่มีในครัวเรือนมาฝาก เก็บออมเป็นกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นกลวิธีหนึ่งที่จะดึงดูดให้คนมาช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน “ขยะในชุมชนเมืองถึงจะถูกจัดการ”