Website ไทอีสาน
ตลอดระยะเวลากว่าสองทศวรรษที่ สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน พบว่าแต่ละจังหวัดมีกลุ่ม องค์กร ภาคประชาสังคมร่วมมือกันขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามทักษะ ความสามารถ ความสนใจ และบริบทของพื้นที่ จนทำให้งานสร้างเสริมสุขภาพโดยภาคีเครือข่ายกระจายครอบคลุมพื้นที่ 20 จังหวัด ภาคอีสาน เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงทุกกลุ่มประชากร เช่นประชาการกลุ่มเด็กเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มสตรี และกลุ่มเปาะบางอื่นๆ เป็นต้น และมีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเชิงประเด็นทุกประเด็น เช่นประเด็นการจัดการขยะ เกษตรอินทรีย์ การรณรงค์ลดบุหรี่สุรา ลดอุบัติเหตุ และลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพต่างๆ เป็นต้น
การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพดังกล่าวก่อให้เกิดรูปธรรมความสำเร็จทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเสริมสร้างสุขภาพ มีทั้งพื้นที่ตัวอย่างต้นแบบ และบุคคลตัวอย่างต้นแบบ รวมทั้งเกิดผู้นำด้านการเสริมสร้างสุขภาพกระจายอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานเป็นจำนวนมาก และพร้อมที่จะเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ที่สนใจได้มากมาย
สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) จึงร่วมมือกับศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำฐานข้อมูล “แหล่งเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ” ภาคอีสานด้วยระบบ GIS ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่าย และเปิดโอกาสให้บุคคลและหน่วยงาน สืบค้นและเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาพได้โดยง่าย
แหล่งเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง พื้นที่ที่มีการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะจากงบประมาณ สสส. จนเกิดเป็นความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ สามารถถ่ายทอดได้ และปรับประยุกต์ใช้ต่อได้
ระบบ GIS หมายถึง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นกระบวนการจัดทำฐานข้อมูล โดยการกำหนดรายละเอียดข้อมูลและการสื่อสาร ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ ตามข้อมูลตำแหน่งเส้นรุ้ง เส้นแวง ในแผนที