โรงเรียนผู้สูงอายุเติมสุข ตำบลกุดตุ้ม
บ้านหนองคอนไทย ม.14 ต.กุดตุ้ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ มีจำนวน หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 554 คน ชาย 266 คน หญิง 288 คน อาชีพ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป ค้าขายนักเรียน นักศึกษา ตามลำดับ โดยข้อมูลการทำกิจกรรมทางกายของแต่ละช่วงวัยในชุมชน ใน 3 กลุ่มวัย ได้แก่ วัยเด็กและเยาวชน (6 - 18 ปี) มีความสนใจและร่วมออกกำลังกายกับชมรม วัยทำงาน (18 – 59 ปี) มีความสนใจและร่วมออกกำลังกายกับชมรม ออกกำลังกายกับชมรม และ วัยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ความสนใจและร่วมออกกำลังกายกับชมรม ออกกำลังกายกับชมรมเป็นประจำ ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชน หรือข้อจำกัดที่ทำให้ไม่ได้ทำกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่ความต้องการในการทำกิจกรรมทางกายให้เพิ่มขึ้นในชุมชน ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 23 คน โรคเบาหวาน รับยา รพ.สต. 20 คนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รับยา รพ.ชัยภูมิ 11 คน ผู้ป่วยติดบ้าน 3 คน ผู้ป่วยมะเร็ง 5 คน ปัญหาในการไม่ได้ทำกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องก่อนเข้าร่วมดำเนินโครงการกับ สสส. ได้แก่ ภาระงาน เศรษฐกิจ สถานที่ สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ขาดความตระหนัก ขาดผู้นำ และขาดการสนับสนุนกลไกภาครัฐ
ทั้งนี้ในหมู่บ้านชุมชนมีศิลปวัฒนธรรมไทยที่สำคัญคือการรำจังหวะลำเพลินที่เหมาะสมกับการนำมาในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางกายให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เนื่องจากการทำกิจกรรมการรำจังหวะลำเพลินดังกล่าวนั้น พบว่าได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั้งแขน ขา ร่างกายทุกส่วนในการออกกำลังกาย มีความสนุก เพลิดเพลิน และต้องมีสมาธิ ทำให้ได้ออกกำลังกายต่อเนื่อง มีความแรงและใช้เวลานาน สามารถสลายไขมันออกจากร่างกายได้ การฟังลำ ฟังเพลง ทำให้เพลิดเพลิน เกิดสมาธิ จิตใจจดจ่ออยู่กับเสียงเพลง ฮอร์โมนความสุขหลั่ง ทั้งนี้ชุมชนจะใช้พื้นที่ในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางกายคือ วัดอุดรหนองคอนไทย ซึ่งได้มีการดำเนินกิจกรรมมาก่อนนี้ แต่ยังขาดความต่อเนื่องและขาดการติดตามข้อมูลด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมไทยและอยากให้ชุมชนเกิดความสามัคคี เกิดความร่วมมือร่วมสนับสนุน สร้างความสัมพันธ์ในการดำเนินกิจกรรมในทุกช่วงวัย
การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน นอกจากสร้างความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนซึ่งประเทศไทยมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายมาอย่างยาวนานทั้งการละเล่นที่ไม่มีแบบแผนชัดเจนประยุกต์ และรูปแบบที่มีความเป็นมาตรฐาน ดังนั้น การส่งเสริมให้นำเอาศิลปวัฒนธรรมไทยมาออกแบบในการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน เป็นการผลักดันให้คนในชุมชนทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่
ชุมชนบ้านหนองคอนไทยเดิมเป็นชุมชนที่มีการลำเพลินเป็นหมู่บ้านลำเพลิน มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและมีการประยุกต์เป็นลำกลอนกลอนรำประกอบท่าทางต่าง ๆ ชุมชนหนองคอนไทเป็นชุมชนที่มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและศิลปะพื้นบ้านโดยลำเพลินและมีการร่วมกิจกรรมตีคลีไฟ ของทางจังหวัดชัยภูมิทุก ๆ ปีอย่างสม่ำเสมอ และได้การสนับสนุนกิจกรรมโครงการจากภาคีเครือข่าย เช่น ผู้นำชุมชน อบต.กุดตุ้ม อบจ.ชัยภูมิ และอำเภอเมืองชัยภูมิ และร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายภายนอกด้วย
ชุมชนมีบุคคลต้นแบบคือหมอลำอดิศักดิ์ หงส์ยนต์ ที่สามารถแต่งกลอนรำประยุกต์กับกลอนลำสาธารณสุขเช่นกลอนลำไข้เลือดออกมีการเป่าแคนและประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านเกิดเครือข่ายศิลปินชาวบ้านมีการออกแบบท่าทางการเต้นการรำประยุกต์กับศิลปะพื้นบ้านให้สมาชิกและผู้สูงอายุในชุมชนสามารถมาร่วมกิจกรรมได้
ทุนเดิมด้านทรัพยากรบุคคลมีประธานโครงการ นางเรณู หมู่โยธา เป็นข้าราชการบำนาญเป็นพยาบาล ที่มีความรู้ด้านสุขภาพเป็นอย่างดี ซึ่งเดิมทำงานที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ เมื่อเกษียณอายุราชการ มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาชุมชนบ้านเกิดโดยยึดหลัก บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน ทำอย่างไรจะให้เข้ามาร่วมกิจกรรมและพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปะวัฒนธรรมไทยจุดเด่นทุนทรัพยากรมีการจัดตั้งพัฒนา ครูก.ไก่ คือการรวมคนที่สนใจในการฟ้อนรำศิลปะวัฒนธรรมไทยและมีการอบรมเชิญผู้นำหรือผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรร่วมฝึกออกแบบท่ารำให้เหมาะสมกับสมาชิกออกแบบท่ารำหนักกลางเบาโดยครูก.ไก่ จะอยู่วงนอกหรือล้อมสมาชิกเพื่อเป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจกรรมทางไกลด้วยศิลปะวัฒนธรรมไทย ครูก.ไก่ จะเป็นต้นแบบในการสอนต้นแบบท่ารำส่งผลให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเกิดความผ่อนคลายสามารถร่วมกิจกรรมได้ เมื่อมีต้นแบบหรือตัวอย่างในการรำ สมาชิกเกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลาย ไม่เคอะเขิน มาร่วมกิจกรรมแล้วไม่เกิดความเครียด รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เป็นแกะดำ และหากสมาชิกไม่สามารถทำกิจกรรมทางกายได้ทันกับเพื่อนๆก็จะมี ครูก.ไก่ คอยสอนเสริมกำลังใจเป็นการส่งเสริมเสริมพลังด้วยจิตตะวิทยาอีกรูปแบบหนึ่ง
เดิมชุมชนยังขาดเยาวชนที่จะมาช่วยด้านเอกสารหรือไอทีประธานโครงการกล่าวว่า “เมื่อมีวิกฤติก็ค้นหาเพชร”ทำให้ได้มีเยาวชนเข้ามาร่วมโครงการช่วยด้านเอกสารและไอที แรงบันดาลใจจากประธานโครงการคือนางเรณูมีแนวคิดว่าเมื่อเกษียณอายุราชการอยากจะรวม บวร บ้าน วัด โรงเรียน รวมคนทุกกลุ่มวัยให้เข้ามาร่วมกิจกรรมภายในวัดนึกถึงในอดีตเมื่อตอนเด็ก ๆ ที่เด็ก ๆ จะมาเล่นที่วัดมีกิจกรรมที่วัดเมื่อเด็กเข้ามาร่วมกิจกรรมเด็ก ๆ ก็จะลดการติดเกมลดการท้องไม่พร้อมได้ในอนาคตมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยเกิดความสุขและสมาชิกมีความคิดว่าไม่อยากกระทำความผิดในวัด เหมือนมารับฟัง เกิดการกล่อมเกลาจากหลวงพ่อไปในตัว นอกจากนี้การส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมไทยเช่นการลำเพลินการฟ้อนท่ารำต่าง ๆ ก็จะมารวมกันที่วัดเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมมีวัดเป็นศูนย์รวมทำให้สามารถลดปัญหาต่าง ๆ ได้หรือแม้ในกระทั่งปัจจุบันปัญหาสถานการณ์โควิด ก็มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ส่งเสริมให้สมาชิกไปฉีดวัคซีนป้องกัน covid ได้ในตัวทั้งนี้ยังสามารถอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม คือการเอารากเหง้าจุดเด่นลำเพลินอนุรักษ์ไว้ให้เกิดประโยชน์ในโครงการดีๆ