post-image

การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม บ้านทามจานและบ้านหนองซึก

ชุมชนบ้านทามจาน เคยได้รับการสนับสนุน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับหน่วยจัดการร่วมกับ  สสส. ในระดับพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากโครงการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนขนาดเล็กปี 2560 เพื่อพัฒนาให้เกิดชุมชนเข้มแข็งที่มี ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพและจัดการตนเองในจังหวัดชัยภูมิ โครงการกิจกรรมด้าน การจัดการขยะ จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมามีเงินกองทุนจำนวน  34,160 บาท โดยสมาชิกได้จ่ายสบทบเดือนละ 20 บาท  มีกิจกรรมทำผ้าป่าขยะ และการรับบริจาคขยะ ทำผ้าป่าขยะ การรับบริจาคขยะริไซเคิลทุกเดือน โดย ม.5 มีการรับบริจาคขยะริไซเคิลทุกเสาร์แรกของเดือน  ม.8 การรับบริจาคขยะริไซเคิลทุกวันที่ 1 ของเดือน การจัดการขยะของท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคกมีการเก็บขยะ  โดยรถขนขยะ อาทิตย์ละ  1 ครั้ง มีจุดรวบรวมขยะที่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน     มีสถานที่ทิ้งขยะในพื้นที่ 10 ไร่ จากการสำรวจขอมูลขององค์การบริ หารส่วนตำบลหนองบัวโคกในการจัดการขยะชุมชน พบว่าหมู่บ้านทามจาน หมู่ที่ 5 และบ้านหนองซึก หมู่ที่ 8 ตำบลหนองบัวโคกส่วนใหญ่เป็นสังคมชนบท ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 288 ครัวเรือน มีประชากรทั้ งหมด 914 คน พบว่าในชุมชนมีปริมาณขยะเฉลี่ยประมาณ 2,800 กิโลกรัมต่อเดือน ประเภทขยะที่พบ คือขยะมูลฝอยย่อยสลายได้ ในครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 1,300 กิโลกรัมต่อเดือน  ขยะรีไซเคิล เฉลี่ยประมาณ 750 กิโลกรัมต่อเดือน ขยะมูลฝอยทั่วไป เฉลี่ยประมาณ 705 กิโลกรัมต่อเดือน ขยะอันตราย เฉลี่ยประมาณ  45 กิโลกรัมต่อเดือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 16 กิโลกรัมต่อเดือนหรือมี ปริมาณขยะ 0.5 กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อวัน  

เดิมสภาพปัญหาการจัดการขยะ คือ ขยะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุของปัญหาดังกล่าวคือ ประชาชน ไม่ใส่ใจในการคัดแยกขยะ ขาดความรู้ การคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ผลกระทบต่อชุมชนที่เห็นได้ ชัด คือ ขยะเพิ่มขึ้น เป็นภาระต่อการจัดการขยะในภาพรวมของท้องถิ่น ที่ผ่านมาชุมชนมีวิธีการจัดการขยะครัวเรือนที่คัดแยกขยะก่อนทิ้งมีน้อยมาก ทำให้มีขยะสะสมเกิดขึ้น จากข้อมูลข้างต้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยพบว่ามี ประชาชนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก ท้องร่วง ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่ามีขยะถุงพลาสติกกระจาย เมื่อมีลมพัดบริเวณรอบๆบ่อขยะ เกิดไฟป่าจากการจุดเผาขยะ มีกลิ่นเหม็นและมีแมลงวัน พฤติกรรมของคนในชุมชนคือ  รู้แต่ไม่ทำทิ้งขยะไม่เป็นที่  ไม่รู้ว่าจะเอาขยะไปขายที่ไหน  และเกิดพฤติ กรรมการเก็บสะสมขยะไว้ สมทบสวัสดิ การรอบหน้า และมีการทิ้งขยะตามถนน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพยังพบว่าตามสถานที่ต่างๆ ยังมีคนทิ้งขยะบริเวณสาธารณะทิ้งขยะตามร่องถนน

จากข้อมูลที่เดิมนั้นชุมชนบ้านทามจานได้รับทุนสนันสนุนสสส.จากปี 2560 ในโครงการขนาดเล็กซึ่งมีความรู้ด้านงานเอกสาร การเงิน และระบบคอมพิวเตอร์ การคีย์ข้อมูลในระออนไลน์ ชุมชนเข้าใจในการทำงานผ่านเครื่องมือ สสส. ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยในปี 2562 จึงได้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมที่บ้านหนองซึก และยกระดับเป็นทุนทั่วไป มีผู้ช่วยพี่เลี้ยง คือนายสุรศักดิ์ แหล่งสะท้าน ที่อยู่ในระดับพื้นที่ที่คอยช่วยดำเนินงาน โดยพี่เลี้ยงทีมสนับสนุนวิชาการได้ประสานให้เลขาฯโครงการ ในการเตรียมเอกสารเอกสารการเงิน เช่นสมุดบันทึกการเงิน สมุดเลขบัญชี เอกสารใบสำคัญรับเงิน เอกสาร รายงาน ที่เบิกเงินออกใช้ในกิจกรรม พร้อมสมุดบัญชี การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประกอบการคีย์ระบบออนไลน์ ข้อมูลบันไดผลลัพธ์ ข้อมูลรูปภาพ กิจกรรม และข้อมูลการเก็บปริมาณขยะในชุมชน โดยผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการฯ ได้นัดประชุมตามแผนการดำเนินงาน เพื่อประชุมพูดคุยทบทวนรายละเอียดโครงการ ทบทวนแต่งตั้งคณะงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ และวางแผนการดำเนินงาน และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

คณะกรรมการดำเนินงานได้ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน มีการคืนข้อมูลให้แก่ชุมชนทุกครั้งโดยใช้การคืนข้อมูลร่วมกับการประชุมคืนข้อมูลร่วมกัน ด้วยชุมชนต้องมีการนัดหมายประชุมประจำเดือนตามแผนงานวิธีการคืนข้อมูลเป็นทำการคืนข้อมูลแก่สมาชิกครัวเรือนในวันที่มีการรับบริจาคขยะ และตามประกาศเสียงตามสายของผู้นำชุมชนเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงข้อมูล

มีการปรับปรุงกฎกติกาชุมชน ดังนี้

                        1) ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิจกรรม

                        2) ทุกครัวเรือนต้องดูแลหน้าบ้านของตนเองปลอดจากพลาสติก

                        3) ทุกครัวเรือนต้องลดขยะหรือใช้ขยะเท่าที่จำเป็น

                        4) ทุกครัวเรือนต้องแยกขยะ ประเภท อย่างจริงจังและร่วมปรับปรุงบริเวณที่สาธารณะใน

ความก้าวหน้าการดำเนินงาน การสะท้อนผลลัพธ์คณะกรรมการโครงการเกิดความเข้าใจบันไดผลลัพธ์ และมีกระบวนการทำงาน ตามแผนงาน เช่นมีการประชุมคณะทำงานทุกเดือน มีการคืนข้อมูล และประชาคมระดับชุมชน ทั้งในรูปแบบการประชุมและการประกาศเสียงตามสายจากผู้ใหญ่บ้าน มีการแบ่งการทำงานเป็นโซนตามคุ้ม คุ้ม ให้สะดวกในการบริหารจัดการระดับคุ้ม เนื่องจากเป็นพื้นที่หมู่บ้านที่มีการกระจายตัวของหลังคาเรือน เพื่อการบริหารจัดการคุยในระดับเวที่ใหญ่ทั้งหมู่บ้านทั้งนี้เกิดผลสำเร็จเชิงประเด็นและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกชุมชน คือการลดลงลงของปริมาณขยะ

โครงการมีดำเนินกิจกรรม การคัดแยกขยะ /มีการพัฒนาใช้ประโยชน์จากขยะเช่นการทำหมวก พรมเช็ดเท้า จัดทำแจกันดอกไม้ ตระกร้า เป็นต้น 

นอกจากนี้ชุมชนมีการคัดแยกขยะ ให้เป็นประเภทชัดเจน ทั้ง ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย ขยะรีไซคเคิล มีเพิ่มมูลค่าขยะ เช่นจัดทำไม้กวาด ทำแจกันดอกไม้ จัดทำตระกร้า จัดทำหมวกเป็นต้น ทั้งนี้ขยะอินทรีย์ ที่ย่อยสลายได้มีการจัดอบรมสาธิตการทำถังขยะเปียกขยะอินทรีย์ และจัดทำถังแยกขยะในครัวเรือน โดยวิทยากรจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ สิ่งแวดล้อม เส้นทาง ถนนรอบชุมชน ในชุมชนให้สะอาดน่าอยู่ น่ามอง

ร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่สาธาณะของชุมชน ให้สะอาดน่าอยู่น่ามอง เช่นการใช้รถไถเกรดปรับปรุงพื้นที่ การทำความสะอาดบริเวณถนนหลักของหมู่บ้าน มีกิจกรรม Big cleaning day พื้นที่สาธารณะในชุมชนโดยการทำความสะอาดรอบหมู่บ้าน ดำเนินการแล้วทุกครัวเรือนโดยให้ความร่วมมือ คือรู้และร่วมทำ คณะทำงานได้มีการประชุมและลงพื้นที่ ให้ความรู้และเชิญชวนให้เข้ามาร่วมกิจกรรมเพื่อชุมชนสะอาด และคืนถังขยะแก่ อบต.ได้ 100 เปอร์เซนต์

ประชาชน เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทำให้เกิดความตระหนักและใส่ใจในการคัดแยกขยะ มีความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง  ขยะลดลงไม่ส่งผลหรือเป็นภาระต่อการจัดการขยะในภาพรวมของท้องถิ่น ชุมชนมีวิธีการจัดการขยะครัวเรือนที่คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ไม่มีมีขยะสะสม สุขภาพโดยรวมพบว่า ประชาชนที่ไม่มีการป่วยเป็นไข้เลือดออก ท้องร่วง ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าชุมชนสะอาดมากขึ้น ไม่มีขยะถุงพลาสติ กระจายตามถนนเหมือนแต่ก่อน ที่เมื่อมีลมพัดบริเวณรอบๆบ่อขยะเพราะมีการจัดการและทำความสะอาดบริเวณพื้นที่สาธารณะแล้ว ไม่เกิดไฟป่าจากการจุดเผาขยะ ไม่มีกลิ่นเหม็นและมีแมลงวัน ชุมชนสะอาดมากขึ้น 

เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนคือ รู้และลงมือทำทิ้ง คัดแยกขยะ โดยชุมชนเชิญชวนให้คัดแยกในครัวเรือน ผู้สูงอายุมาร่วมในกิจกรรม สอนลูกหลานให้รู้จักคัดแยกขยะในครัวเรือน ไม่เกิดพฤติกรรมการเก็บสะสมขยะไว้เพื่อสมทบสวัสดิการรอบหน้าทั้งนี้ด้วยมีการปรับกฎกติการใหม่ให้ไม่คิดเป็นจำนวนปริมาณขยะที่จะนำมาร่วมสวัสดิการ และไม่มีการทิ้งขยะตามถนน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพตามสถานที่ต่างๆ บริเวณสาธารณะ  ไม่มีการทิ้งขยะตามร่องถนน สะอาด เมื่อผู้สูงอายุในชุมชนได้มีส่วนร่วมเกิดการเห็นคุณค่าในตนเอง ลดช่องว่างระหว่าวัยมีการสอนลูกหลานให้รู้จักแยกขยะ รู้จักรับผิดชอบและเยาวชนก็มีส่วนร่วมในโรงเรียน ทำให้ชุมชนเกิดความสามัคคีและเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์แก่ชุมชนเกิดชุมชนเข้มแข็ง ในอนาคตเมื่อชุมชนสามารถจัดการขยะได้ดีมีประสิทธิภาพชุมชนต้องการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชนได้แก่ การให้ความสำคัญและพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ดังภาพ