post-image

เพื่อนช่วยเพื่อน

จุดเริ่มต้นของการทำงานสุขภาพจิตในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เริ่มจากตรงที่เราได้ทำงานเกี่ยวกับเรื่องของเพศศึกษาและอนามัยเจริญพันธุ์รวมถึงเรื่องของการตั้งครรภ์วัยรุ่นมาตั้งแต่ ปี 2556 ที่เป็นงานระดับจังหวัดทำร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งจังหวัดอุดรธานี นอกจากนี้ ในส่วนของงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีทำ เป็นหน่วยพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีศึกษารอบด้าน ซึ่งผลจากการทำงานดังกล่าวทำให้พบข้อมูลว่า มีนักศึกษาที่มีปัญหาเรื่องของการตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือปัญหาทางด้านพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การเที่ยวกลางคืน การดื่มเหล้า หรือว่าการมีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง ปัญหาเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อด้านสุขภาพจิต ประกอบกับประสบการณ์ตรงจากการทำงานมีนักศึกษาเข้ามาปรึกษา  เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพจิตความเครียด ซึมเศร้าแล้วก็มีนักศึกษาที่พยายามทำร้ายตัวเอง รวมถึงพยายามฆ่าตัวตาย ทำให้เราคิดว่าจะต้องมีระบบการดูแลให้คำปรึกษาดูแลนักศึกษาด้านสุขภาพจิตอย่างครบวงจรเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราควรจะต้องทำ

            เราก็เลยชวนอาจารย์ที่เคยทำงานด้านเยาวชนด้วยกันและเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญรวมถึงมีความสนใจในเรื่องสุขภาพจิตและเป็นคนที่ทำงานเรื่องเหล่านี้อยู่แล้วมารวมกลุ่มกันแล้วก็มานั่งพูดคุยหาแนวทางวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพจิตจากประสบการณ์ตรงที่เราเจอ รวมถึงการหาแนวทางที่จะวางแผนการดำเนินงานต่อไปที่จะขยายผลขยายขอบเขตของการทำงานมากกว่าแค่อาจารย์ไม่กี่คน ให้เป็นการทำงานที่เห็นรูปประธรรมชัดเจนมีระบบมีกลไกมีกระบวนการ ตั้งแต่ระดับสาขาวิชาขึ้นไปถึงระดับคณะและก็ระดับมหาวิทยาลัยรวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความโชคดีที่อาจารย์ที่เป็นแกนหลัก ทำเรื่องนี้ในมหาวิทยาลัยเราเป็นคณะทำงานเรื่องของสุขภาพจิตเด็กและเยาวชนในเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดอุดรธานีอยู่แล้ว รวมถึงเป็นคณะทำงานอนุกรรมการพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชนในคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนหรือ กขป. เขตพื้นที่ 8 ซึ่งทำให้เราสามารถเชื่อมต่อการทำงานเกี่ยวกับสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นในนักศึกษาของเรากับภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องได้หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเชิงวิชาการ เช่น ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 หรือหน่วยงานสถานบริการภายใต้สังกัดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ที่มีฝ่ายกลุ่มงานจิตเวชและรวมถึงโรงพยาบาลจิตเวชราชนครินทร์ของจังหวัดเลย และ จังหวัดนครพนม ซึ่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของเราก็จะเป็นนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอีสานเหนือที่เป็นจังหวัดใกล้เคียงในโซนภาคอีสานตอนบน ก็จะสามารถควบคุมการดำเนินงานเรื่องของการส่งต่อบริการดูแลรักษาได้อย่างครอบคลุมครบวงจร

            เราเริ่มจับคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความสนใจร่วมกันแล้วก็มีใจในการทำงานมานั่งพูดคุยและเราก็คิดว่า           การทำงานที่ดีจะต้องมีข้อมูลสนับสนุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหวเป็นข้อมูลที่ถ้าไม่ใช่ข้อมูลจริงมาพูดออกไปแล้วมันก็อาจจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลหรือก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบได้มันเกี่ยวเนื่องหลายประการว่าจะเป็นเรื่องของ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร พรบ.สิทธิของเด็กและเยาวชนหรือ พรบ.สุขภาพจิต ดังนั้น การที่ได้รับอนุญาตจากกลุ่มเป้าหมายโดยตรงการที่มีภาคีเครือข่ายที่มีบทบาทหน้าที่โดยตรงเข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงานการที่มีฐานข้อมูลเชิงวิชาการที่มีคุณภาพมีข้อมูลที่ได้จากกระบวนการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสถานะสุขภาพจิตที่ถูกต้องได้มาตรฐาน ตามหลักการเป็นไปตามแนวทางของกรมสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้น คณะทำงานของเราจึงเริ่มต้นด้วยการที่เราศึกษาสถานการณ์คือเรื่องสุขภาพจิตของนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในทุกชั้นปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้ามาใหม่ในกลุ่มนี้ก็จะเป็นกลุ่มที่เหมือนพระเชิญภาวะวิกฤตในชีวิตเพราะมีการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเข้ามาเรียนในระดับอุดมศึกษา ในมหาวิทยาลัยอยู่ห่างไกลคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงมีการปรับตัวต่อระบบรูปแบบการเรียนการสอนต่าง ๆ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้อาจจะมีภาวะเครียดจะต้องมีการเฝ้าระวังสถานการณ์สุขภาพจิตของกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นพิเศษนอกจากนี้ในกลุ่มปี 2 ปี 3ปี 4 เราก็มีการตรวจคัดกรองเฝ้าระวังสถานการณ์สุขภาพจิตเช่นเดียวกัน แต่รูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกันออกไปคือในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในเรื่องของการเฝ้าระวังตรวจคัดกรองสุขภาพจิตบูรณาการไปกับกระบวนการในเรื่องของการตรวจสุขภาพประจำปีที่เรามีท่านตรวจสุขภาพกายสุขภาพจิต ส่วนสำหรับปี 2014 นักศึกษาไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปี เหมือนนักศึกษาเข้าใหม่แต่เราก็จะใช้กลไกของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ช่วยประชาสัมพันธ์ช่วยคัดกรองเบื้องต้นประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษารู้เรื่องของการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Menthol Check-in เป็นการคัดกรองเฝ้าระวังสถานะสุขภาพจิตของนักศึกษาเบื้องต้น  ซึ่งการทำเครื่องมือเหล่านี้ในการประเมินสถานะสุขภาพจิตเบื้องต้นทำให้นักศึกษารู้สถานะสุขภาพจิตของตนเองทำให้ได้ รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิตรวมถึงได้รับการดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษาที่ประจำอยู่ที่ศูนย์ให้คำปรึกษาของมหาวิทยาลัยที่จะมีการติดต่อไปโดยตรงกับนักศึกษาที่พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในภาวะเสี่ยง หรือ ภาวะที่ต้องเฝ้าระวังอาการผิดปกติอาการรุนแรงรวมถึงการส่งต่อนักศึกษา ไปยังสถานบริการรักษาด้านสุขภาพจิต ที่มีบุคลากรเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เราจึงได้มีนอกจากการตรวจคัดกรองสถานะสุขภาพจิตของนักศึกษา โดยใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขแล้วสิ่งที่สำคัญคือการปรับทัศนคติ มุมมองของอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีต่อการดูแลนักศึกษา การโพสต์เยาวชนเชิงบวกการมีสมรรถนะขั้นพื้นฐาน ที่สามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายนักศึกษาในสถาบันของเราได้รวมถึงแหล่งข้อมูลการขอคำปรึกษาในระดับชั้นที่เฉพาะทางมากขึ้น รวมถึงข้อมูลข่าวสารในการส่งต่อสถานบริการที่เกี่ยวข้อง

            กิจกรรมหนึ่งที่สำคัญที่เป็นเรื่องของการเตรียมอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีความพร้อมในการดูแลให้คำแนะนำปรึกษาแก่นักศึกษา คือ โปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีศักยภาพสามารถที่จะให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาได้ รวมถึงสามารถมีทักษะในการเฝ้าระวังอาการผิดปกติที่อาจจะสะท้อนถึงความรุนแรงหรือความผิดปกติที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาส่งต่ออย่างเร่งด่วน นอกจากการอบรมอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ในมหาวิทยาลัยของเราและอบรมแกนนำนักศึกษาซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน หรือเข้ากลุ่มเพื่อนให้คำปรึกษา ซึ่งแกนนำเหล่านี้จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการดูแลสุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญที่พบได้มาก รวมถึงการเฝ้าระวังสังเกตอาการผิดปกติการคัดกรองเบื้องต้น การใช้เครื่องมือมาตรฐานในการประเมินด้านสุขภาพจิตและการให้คำแนะนำเบื้องต้นในการส่งต่อการรักษาเชื่อมโยงกับอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ระบบบริการสุขภาพอนามัยศูนย์ให้คำปรึกษา หน่วยโรงพยาบาลอุดรธานีและโรงพยาบาลจิตเวชในการดูแลนักศึกษาต่อเนื่อง

            การดูแลให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา นอกจากเราจะใช้สื่อบุคคลซึ่งถือว่าเป็นแกนนำที่สำคัญในการให้คำปรึกษาแบบเห็นหน้าหรือให้คำปรึกษาระบบออนไลน์ผ่าน platform ของโซเชียลมีเดีย ผ่านการแชทใน                แอปพลิเคชั่น messenger facebook หรือ line เราก็ยังมีการให้คำปรึกษาแบบเห็นหน้าที่ศูนย์ให้คำปรึกษาซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้จัดทำห้องในการบริการให้คำปรึกษาด้านกิจกรรมนักศึกษา นักศึกษาสามารถเข้าไปใช้บริการและนัดหมายวันเวลาสถานที่ในการเข้าไปใช้บริการได้ นอกจากนี้การให้คำปรึกษาผ่านกลไกของอาจารย์ที่ปรึกษาและผ่านกลไกของเพื่อนช่วยเพื่อนก็จะเป็นอีกทางหนึ่งที่สำคัญ กลุ่มแกนนำให้คำปรึกษาของเพื่อนช่วยเพื่อนถือว่าเป็นช่องทางที่มีประสิทธิผลเพราะว่าในกลุ่มนี้ นักศึกษาจะมีความสนิทสนมใกล้ชิดและนักศึกษาสามารถปรึกษาให้คำปรึกษาแก่เพื่อน ๆ ได้ เขาจะเป็นวัยเดียวกันใกล้เคียงกันจะมีความเข้าใจในวิธีคิดมุมมอง หรือการดำเนินงานการปฏิบัติต่าง ๆ ได้เชื่อมต่อระหว่างเพื่อนที่มีปัญหาต้องการขอรับคำปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์พยาบาล อาจารย์แนะแนวเด็ก ๆ นักศึกษาอาจจะไม่อยากเข้าไปใช้บริการดีกว่าต้องปรึกษาโดยตรง โดยที่ยังไม่ได้ผ่านเพื่อนไปถึงอาจารย์เลย อาจจะทำให้รู้สึกเกร็งไม่สบายใจไม่กล้าเข้าหา  ไม่กล้าปรึกษาไม่กล้าเปิดตัวเปิดใจที่จะเล่าปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องการขอรับคำปรึกษาได้ ดังนั้น การมีเพื่อนช่วยเพื่อน ที่เป็นเพื่อนให้คำปรึกษาที่มีทักษะ มีสมรรถนะ มีกระบวนการทำงาน รวมถึงการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างเป็นระบบก็จะช่วยให้การดำเนินงานดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 

เรื่อง/เรียบเรียง : อัจฉรา จินวงษ์