แหล่งเรียนรู้ : เด็กและเยาวชน

เยาวชนคนรักษ์โนนใหญ่

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายพีรชัย วงษ์เลิศ

ที่อยู่ : โรงเรียนบ้านอีเซ(คุรุราษฎร์วิทยา)

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

จากการที่ครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เล็งเห็นสภาพแวดล้อมในชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเรียนรู้ของเด็กๆ จึงจัดกระบวนการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชนตามฤดูกาล เช่น ฤดูเก็บเห็ด ก็พาเด็กๆสำรวจพันธุ์เห็ดที่กินได้/ไม่ได้ ฤดูผลไม้ป่า พาสำรวจผลไม้ป่า และพันธุ์ไม้ในป่าชุมชน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมศึกษาเส้นทางเรียนรู้ธรรมชาติ การทำเชื้อเห็ด และที่โดดเด่น คือ การจัดการศึกษาเรื่องต้นมะดันที่เคยถูกน้ำท่วมจนเกือบสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ มีการรื้อฟื้นโดยเพาะเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูก การเรียนรู้ประโยชน์และคุณค่าของมะดัน เช่น นำเปลือกมะดันมาย้อมผ้า เปลือกที่ผ่านการต้มเอาน้ำย้อมสีแล้วก็นำมาอัดเป็นกระถางต้นไม้ และการทำไก่ย่างไม้มะดัน ผลที่เกิดขึ้น พบว่า เด็กเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ มีทักษะในการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน สามารถแก้ปัญหาชีวิตตนเองได้ จากที่ได้ลงมือทำเอง, เกิดการค้นหาความถนัดของเด็กผ่านกิจกรรมตามหลักสูตรที่ครูจัดขึ้น, เด็กมีอิสระในการเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเรียนรู้ได้มากขึ้น ความเป็นมา นาย พีรชัย วงษ์เลิศ เป็นครูสอนวิชา วิทยาศาสตร์ เห็นสภาพแวดล้อมในชุมชนที่สมบูรณ์จึงจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับพื้นที่ สภาพแวดล้อมของชุมชน จัดการเรียนตามฤดูกาลธรรมชาติ และสืบทอดแนวคิดจากผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนตามความสนใจของเด็กๆทำให้เด็กและผู้เฒ่าผู้แก่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน กลุ่มเป้าหมาย เด็กๆในโรงเรียนและคนในชุมชน กิจกรรมที่เกิดขึ้น การสำรวจพันธุ์เห็ดที่กินได้/กินไม่ได้ (จัดขึ้นในช่วงฤดูฝน) การสำรวจผลไม้ป่า ผลไม้ตามฤดูกาล การทำเชื้อเห็ด การศึกษาเส้นทางธรรมชาติ การศึกษาเรื่องต้นมะดันที่เคยถูกน้ำท่วมจนเกือบสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่จึงมีการรื้อฟื้น จึงมีการศึกษาการเพาะเมล็ด การทำอาหาร ประโยชน์ของมะดัน คุณค่าจากเปลือกมะดันนำมาย้อมผ้า เปลือกที่ผ่านการต้มเอาน้ำย้อมสีแล้วก็สามารถนำมาอัดเป็นกระถางต้นไม้ ผลที่เกิดขึ้น -เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ของเด็กและทักษะการใช้ชีวิต -ได้ประสบการณ์ชีวิต การแก้ปัญหาชีวิตตัวเองได้ จากที่เขาได้ผ่านการลงมือ วิธีการเอาตัวรอด ความรู้ความสามารถและความถนัดของเด็กผ่านกิจกรรมตามหลักสูตรที่ครูจัดขึ้น -เด็กได้มีอิสระในการเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเรียนรู้

Latitude : 15.269633409893071 Longitude : 104.01470705866814


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :