แหล่งเรียนรู้ : สังคมสูงวัย

เชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสุขภาวะ ภาคอีสาน

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายชวลิต ต้นใหญ่

ที่อยู่ : คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม เลขที่ 167 หมู่ 8 บ้านเนินสะอาด ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดตั้งขึ้นตามพระราขบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ทำหน้าที่สนับสนุนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่อง นานกว่า 20 ปี โดยร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม มหาวิทยาลัย และชุมชนท้องถิ่น ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพผ่านยุทธศาสตร์ไตรพลัง ประกอบด้วย พลังปัญญา พลังสังคม และพลังนโยบาย ภายใต้แผนหลัก 15 แผน 4 กลุ่มงาน ได้แก่กลุ่มงานเชิงประเด็น กลุ่มงานเชิงพื้นที่ กลุ่มงานเชิงกลุ่มประชาการ และกลุ่มงานเชิงระบบ จึงมีภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพกระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก กล่าวเฉพาะการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด พบว่าแต่ละจังหวัดมีหน่วยงาน บุคคคล กลุ่ม องค์กรชุมชน สถาบันการศึกษา และภาคีเครือข่ายต่างๆ ร่วมกันดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพหลากหลายลักษณะ ตามทักษะความสามารถ ตามความสนใจ และตามบริบทพื้นที่ ทำให้งานสร้างเสริมสุขภาพเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง มีทั้งงานเชิงประเด็น เช่นประเด็นการจัดการขยะ เกษตรอินทรีย์ สุขภาพจิต บุหรี่สุรา อุบัติเหตุ งานลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพต่างๆ เป็นต้น งานเชิงพื้นที่ เช่น ชุมชนน่าอยู่ แผนงานร่วมทุน ตำบลสุขภาพ เป็นต้น งานกลุ่มประชากร เช่นกลุ่มเด็กเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มสตรี และกลุ่มเปาะบางอื่นๆ เป็นต้น ปัจจุบันมีภาคีเครือข่ายร่วมกันดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพครอบคลุมทุกพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด จำนวน 342 โครงการ (ข้อมูลภาคีเครือข่าย จากสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ รายละเอียดตามภาคผนวก 1) 1.1 ความสำคัญของงานเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพดังกล่าวก่อให้เกิดรูปธรรมความสำเร็จทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี มีพื้นที่ตัวอย่าง บุคคลต้นแบบงานสร้างเสริมสุขภาพ และมีเนื้อหากระบวนการทำงานสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่สรุปเป็นชุดองค์ความรู้การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม สามารถใช้เป็นแนวความคิด และแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาวะของชุมชนสังคมได้ รวมทั้งเกิดแกนนำงานเสริมสร้างสุขภาพกระจายอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน พร้อมที่จะเป็นหลักในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานเสริมสร้างสุขภาพสำหรับผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างดี บุคคล กลุ่ม องค์กรชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับ สสส. ในฐานะภาคีเครือข่าย โดยดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม แนวราบ เป็นขบวนการสร้างเสริมสุขภาพ (Civil Society) ภาคอีสาน สามารถหนุนเสริมการแก้ไขปัญหาสุขภาพร่วมกับระบบสาธารณะสุขของประเทศที่มีบาทบาทหลักได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีสถานการณ์ใหม่ๆ เข้ามากระทบกับชุมชนท้องถิ่น เช่นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ปัญหาความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยการทำงานแบบเชื่อมประสาน ผนึกกำลังกันของภาคีเครือข่าย ร่วมกันแก้ไขปัญหาแบบไม่ติดยึดเฉพาะพื้นที่ เฉพาะประเด็นของตัวเอง โดยการออกแบบแนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในลักษณะข้ามพื้นที่ ข้ามประเด็น มุ่งแก้ไขปัญหาประเด็นยุทธศาสตร์สุขภาวะ ที่เป็นปัญหาสุขภาวะร่วมของชุมชนสังคมภาคอีสานร่วมกัน ทั้งนี้ สสส. โดยสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) ตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว จึงร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาคอีสานดำเนินงาน “เชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพภาคอีสาน” มาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนการพัฒนากลไกการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายมาตั้งแต่ปี 2560 มีกลไกการดำเนินงานหลัก 4 กลไก ได้แก่ 1) คณะทำงานเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย (Core Team Isan) 2) คณะทำงานวิชาการ และ 3) คณะทำงานการสื่อสาร และ 4) คณะทำงานประเด็นสุขภาวะ ซึ่งพอสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ดังนี้ (สังเคราะห์บทเรียนการดำเนินงานโครงการไทอีสานสานสุข รายละเอียดตามภาคผนวก 2) 1.2 ผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมา 1) เกิดการเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย มีการทำงานเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายต่างพื้นที่ในประเด็นเดียวกัน โดยเริ่มต้นจากการค้นหาแกนนำสุขภาพที่มีทัศนคติสนับสนุนการทำงานเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย มีประสบการณ์การดำเนินงานประเด็นสุขภาวะมาก่อน และมีความคุ้นเคยกับภาคีเครือข่ายข้ามพื้นที่ เมื่อได้แกนนำสุขภาพแล้ว แกนนำสุขภาพแต่ละประเด็นจะเชิญชวนภาคีเครือข่ายที่อยู่ต่างพื้นที่กัน แต่ทำงานในประเด็นเดียวกัน มาร่วมกันวางแผนสนับสนุนกิจกรรมให้เกิดการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ภาคีเครือข่ายต่างพื้นที่กันเกิดความคุ้นเคยกัน ทำงานร่วมกันได้ และทำงานเป็นยุทธศาสตร์สุขภาวะ และออกแบบแนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันโดยไม่ยึดติดพื้นที่ ไม่ยึดติดประเด็นของตัวเองได้ 2) เกิดกลไกสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย มีคณะทำงานสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายภาคอีสาน จำนวน 8 คณะ ได้แก่ 1) คณะทำงานกลาง (Core Team Isan) ทำหน้าที่สนับสนุน กำกับ ติดตาม ให้ความเห็นต่อการดำเนินงานเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย 2) คณะทำงานวิชาการ ทำหน้าที่การสังเคราะห์ความรู้สนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ 3) คณะทำงานประเด็น 4 ประเด็น ได้แก่ประเด็นการจัดการขยะ และประเด็นเกษตรอินทรีย์ ประเด็นผู้สูงอายุ และประเด็นเด็กและเยาวชน ทำหน้าที่เชื่อมประสาตภาคีเครือข่ายเชิงประเด็น 4) ทีมแกนนำสุขภาพ ทำหน้าที่ออกแบบวางแผนและเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมเชื่อมประสาน 4) ทีมสื่อสารสาธารณะ ผลิตสื่อดิจิทัลเผยแพร่ สนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมีทั้งแกนนำสุขภาพภาคประชาสังคม ข้าราขการ นักสื่อสาร และนักวิชาการ (9 สถาบัน) จำนวน 200 คน โดยทำงานร่วมกันในแนวราบ ยืดหยุ่นตามสภานการณ์ เน้นความสัมพันธ์พี่น้องภาคีเครือข่ายภาคอีสาน 3) เกิดช่องทางการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายผ่านระบบออนไลน์ มี Platform ออนไลน์ ได้แก่เพจไทอีสาน เป็นช่องทางการเผยแพร่ความรู้งานสร้างเสริมสุขภาพ ปัจจุบันมีผู้สนใจกดถูกใจ 1.8 พันคน และมีผู้สนใจติดตาม 2.2 พันคน และมีเว็บไซด์ thaiisan.org เป็นที่เก็บข้อมูลองค์ความรู้ นวัตกรรมงานสร้างเสริมสุขภาพ 4 ประเด็น จำนวน 250 ฐาน ครอบคลุมพื้นที่ 20 จังหวัด มีการนำเสนอเนื้อหาสุขภาวะมีหลากหลายรูปแบบ เช่นนำเสนอเนื้อหาด้วยย clip สั้นๆ Photo Story เรื่องเล่า (Story Telling) และการจัดเสวนาประเด็นสุขภาวะออนไลน์ เป็นต้น มีเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ (นสส.) เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะการผลิตสื่อดิจิทัล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักสื่อสารสมัครเล่นกระจายอยู่ในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคอีสานจำนวน 30 คน มีผลงานสื่ออยู่ในเพจไทอีสานมากว่า 200 ผลงาน ผลงานสื่อดังกล่าวนอกจากจะเป็นเครื่องมือเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายที่ดีแล้ว ยังเป็นช่องทางการสื่อความเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้สนใจทั่วไปได้ด้วย เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 4) เกิดงานวิชาการสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย มีนักวิชาการจาก 9 สถาบันในพื้นที่ภาคอีสาน ทำหน้าที่เป็นนักวิชาการประจำประเด็น และนักวิชาการกลาง ร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลงานสร้างเสริมสุขภาวะทั้ง 4 ประเด็น เกิดเป็นงานวิชาการสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายแต่ละประเด็น โดยมีผลงานวิชาการ 5 ผลงาน และผลิตเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ค 4 เล่ม ได้แก่ 1) เกษตรอินทรีย์ภาคอีสาน : ความมั่นคงทางอาหาร = ความมั่นคงของชีวิต 2) พื้นที่เรียนรู้กับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชน 3) การขับเคลื่อนการจัดการขยะต้นทางสู่ปลายทางที่ยั่งยืน 4) สุขภาวะผู้สูงอายภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ กระบวนการทำงานวิชาการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย ทำงานร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลที่เกิดจากการสังเคราะห์การทำงานสร้างเสริมสุขภาพแต่ละประเด็นสามารถนำไปสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายได้ 5) เกิดกระบวนการสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายแบบผสมผสาน มีการสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายผ่านกระบวนทำงานแบบผสมผสานกัน กล่าวคือมีทั้งระบบOnline และ ระบบ Offline สอดประสานกันตามจังหวะเวลาอย่างเหมาะสม เช่นนักสื่อสารสุขภาวะ (นสส.) ลงพื้นที่ผลิตสื่อร่วมกับแกนนำสุขภาวพ นักวิชาการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสร้างความเคลื่อนไหวในเชิงวิชาการ และนำเนื้อหาที่ได้จัดทำเป็นสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล เคลื่อนไหวประเด็นสุขภาวะผ่าน platform online อย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็ใช้เวที Offline จัดให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวที โชว์ แชร์ เชื่อม (Knowledge Charing) กระบวนการดังกล่าวทำให้ภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และคุ้นเคยกันจนเกิดการเชื่อมประสานผนึกกำลังกันเป็นขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคอีสาน

Latitude : 17.398764 Longitude : 104.721085

chawalit293@hotmail.com

0981455247

Line ID : win20088

facebook : Chawalit tonyaiCH


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :