แหล่งเรียนรู้ : สุขภาพจิต

โรงเรียนวังยางวิทยาคม โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบูลลี่ (Bully) ในสังคมของเด็กนักเรียน

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายพนมพร พรมพ่อ

ที่อยู่ : โรงเรียนวังยางวิทยาคม เลขที่ 160 หมู่ 2 บ้านหนองนาด่อน ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม 48130

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

โรงเรียนวังยางวิทยาคม อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2538 ที่ตั้งอยู่เลขที่ 160 หมู่ที่ 2 ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม รหัสไปรษณีย์ 48130 โทรศัพท์ 042 577 011 โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 50 ไร่ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครพนม 59 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอวังยาง 5 กิโลเมตร มีเขตพื้นที่บริการ 4 ตำบล 27 หมู่บ้าน คือ ตำบลวังยาง ตำบลยอดชาด ตำบลหนองโพธิ์ และตำบลโคกสี โดยโรงเรียนวังยางวิทยาคม เป็นสถานศึกษาขนาดกลาง เปิดทำการเรียนการสอนแบบสหศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันมีผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 17 คน และนักเรียน จำนวน 221 คน แยกเป็นนักเรียนหญิง จำนวน 143 คน และนักเรียนชายจำนวน 78 คน สังคมในโรงเรียนเป็นสังคมแบบเครือญาติ ครูเปรียบเสมือนบิดาและมารดาของนักเรียน นักเรียนในโรงเรียนเปรียบเสมือนพี่น้องกัน ในปี 2565 นักเรียนมีพฤติกรรมการบูลลี่ (Bully) หรือการกลั้นแกล้งกันเกิดขึ้น โดยการการบูลลี่ (Bully) นี้ ส่งผลให้นักเรียนแตกความสามัคคี เกิดความขัดแย้งในสังคมโรงเรียน เกิดการทะเลาวิทาท นักเรียนที่ถูกบูลลี่ (Bully) เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เครียด และไม่อยากมาโรงเรียน ผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อบุตรหลานต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล ทั้งยังเป็นการสร้างภาระให้กับสถานีตำรวจภูธรตำบลวังยางที่ต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น พฤติกรรมการบูลลี่มีสาเหตุมาจากการที่นักเรียนขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่องการบูลลี่ (Bully) และบูลลี่ (Bully) เพื่อนออกมาโดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างพฤติกรรมการบูลลี่ เช่น การเล่นตลกเกี่ยวกับปมด้อยของคนอื่น การเหยียดสีผิว การเหยีดเพศ การกีดกันเพื่อนออกจากกลุ่ม การแซวให้เพื่อับอาย และการใช้ความรุ่นแรงกับคนที่อ่อนแออกว่า นักเรียนคิดว่าการบูลลี่ (Bully) เป็นเรื่องปกติ เพราะยังขาดความรู้และเข้าใจในผลกระทบหรือผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังการบูลลี่ (Bully) ประกอบกับครอบครัวไม่ได้บอกว่าการบูลลี่ (Bully) ผิดหรือถูกอย่าไง นักเรียนโรงเรียนวังยางวิทยาคม มีพฤติกรรมการบูลลี่ (Bully) ให้เห็นอยู่เป็นประจำ โดยส่วนมากจะเป็นการบูลลี่โดยใช้คำพูด เช่น การล้อเลียนปมด้อยของเพื่อน การแซวเพื่อให้เขียนอายรู้สึกไม่มั่นใจ การพูดจาเสียดสี เป็นต้น บางคนที่ถูกบูลลี่ (Bully) เมื่อไม่เข้าใจในเรื่องของการบูลลี่ (Bully) ไม่มีวิธีการรับมือหรือฝั่งใจกับคำพูดที่เพื่อนพูดก็เก็บไปคิดส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจของคนที่ถูกบูลลี่เป็นอย่างมาก บางคนที่เข้าใจในเรื่องของการบูลลี่ (Bully) มีวิธีคิดหรือวิธีการรับมือก็จะไม่คิดอะไรกับคำพูดนั้น โดยพฤติกรรมเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการที่นักเรียนขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่องการบูลลี่ (Bully) ใช้การบูลลี่ (Bully) เป็นเครื่องมือยอกล้อกันกับเพื่อนจนกลายเป็นเรื่องปกติ นอกจากการบูลลี่ (Bully) ที่กล่าวมาในข้องต้นแล้ว ยังมีเหตุกาณ์การบูลลี่ (Bully) ของนักเรียนในโรงเรียนวังยางวิทยาคม 2 กลุ่ม ที่บูลลี่ (Bully) กันจนกลายเป็นประเด็นปัญหา ประกอบไปด้วย กลุ่มที่ 1 เป็นการบูลลี่กันระหว่างนักเรียนชายชั้น ม.1/1 กับนักเรียนชายชั้น ม.3/2 นักเรียนชั้น ม.1/1 ถูกยุยงจากเพื่อนร่วมชั้น จำนวน 10 คน ว่าขี้ขาดสู้พี่ ม.3/2 ไม่ได้ น้อง ม.1/1 จึงไปท้าต่อยกับพี่ ม.3/2 พี่ ม.3/2 ได้รับการยุยงจากเพื่อนร่วมชั้น จำนวน 5 คน จึงเกิดการทะเลาะวิวาทกันเกิดขึ้น ผลจากการทะเลาะวิวาทส่งผลให้ น้อง ม.1/1 จมูกหัก พี่ ม.3/2 ตัวโตกว่าจึงไม่เป็นอะไร กลุ่มที่ 2 มีนักเรียนหญิงชั้น ม.1/2 เป็นคนตัวเล็ก ๆ ไม่ค่อยพูด ถูกเพื่อนผู้ชายชั้น ม.1/2 จำนวน 2 คน บูลลี่ (Bully) โดยการพูดล้อเลียนว่าไม่มีเพื่อนคบ ถูกเพื่อนผู้หญิง ม.1/1 ท้าต่อย และถูกกลุ่มพี่ผู้หญิง ม.3/2 จำนวน 3 คน บูลลี่ (Bully) โดยการพูดล้อเลียนว่าแอ๊บแบ้ว ส่งผลให้เกิดการทะเลาะกันและร้องไห้เป็นประจำ โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีนักเรียนชั้น ม.1/1 ม.1/2 ม.3/1 และ ม.3/2 จำนวน 102 คน พบเห็นเหตุการณ์ แต่ไม่ได้มีการห้ามปราบเพราะเห็นว่าเป็นการยอกล้อกันปกติ ประกอบกับผู้ปกครองยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องอขงการบูลลี่ (Bully) ไม่เข้าใจถึงสาเหตุในการเกิดการทะเลาะวิวาท ในบ้างครั้งก็เผลอซ้ำเติมพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นตามไปด้วย โดยการบูลลี่ (Bully) เกิดจากกรรมการสถานศึกษายังไม่ได้รับข้อมูลและไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการบูลลี่ (Bully) เพราะข้อมูปัญหาที่เกิดขึ้นสถานศึกษาไม่เคยรายงานให้กรรมการสถานศึกษาทราบ ผู้บริหารโรงเรียนยังไม่มีนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบูลลี่ (Bully) อย่างจริงจัง มีเพียงการพูดห้ามปรามไม่ให้เกิดการบูลลี่ (Bully) ระหว่างครูกับนักเรียนหรือนักเรียนกับนักเรียนด้วยกันเท่านั้น โรงเรียนไม่มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องของการบูลลี่ มีเพียงการจัดกิจรรมเชิงสร้างสรรค์ในลักษณะอื่น ๆตามที่ระบุไว้ในแผนงานหลักสูตรของโรงเรียน ไม่ได้มีการจัดกิจกรรมโดยตรงเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการบูลลี่ (Bully) ของนักเรียนในโรงเรียนโดยตรง โรงเรียนยังไม่เคยวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึกและวางแผนการจัดการปัญหาที่จริงจัง เพียงแค่รับทราบว่ามีพฤติกรรมการบูลลี่ (Bully) แต่ไม่มีการสำรวจถึงปัญหาหรือสาเหตุเริ่มต้องที่เกิดขึ้จากการบูลลี่ (Bully) ครูขาดความรู้ความเข้าใจและขาดวิธีป้องกันและแกไขปัญหาการบูลลี่ (Bully) โดยส่วนมากครูจะบอกว่าห้ามบูลลี่ (Bully) แต่ไม่ได้บอกว่าอะไรบ้างคือการบูลลี่ (Bully) และการบูลลี่ (Bully) ส่งผลกระทบยังไงบ้าง นักเรียนขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่องการบูลลี่ (Bully) โดยนักเรียนพูดกันอย่างติดปากว่าบูลลี่ (Bully) แต่ไม่ได้ทราบทั้งหมดว่ามีพฤติกรรมใดบ้างคือการบูลลี่เพราะไม่ได้รับความรู้และความเข้าใจในเรื่องของการบูลลี่โดยตรง และแกนนำนักเรียนหรือสภานักเรียนยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องการบูลลี่ (Bully) ขาดการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อปังกันและแก้ไขปัญหาการบูลลี่ร่วมกันกับโรงเรียนอย่างจริงและเป็นรูปธรรม มีเพียงการทำกิจกรรมร่วมกันในลักษณะอื่น ๆ แต่ไม่มีการทำกิจกรรมเพื่อปังกันและแก้ไขปัญหาการบูลลี่ร่วมกันกับโรงเรียน

Latitude : 17.053001 Longitude : 104.439287

sana03434@gmail.com

0883208921

Line ID : 0883208921


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :