แหล่งเรียนรู้ : สังคมสูงวัย

หน่วยจัดการจังหวัด ระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node flagship) จังหวัดนครพนม โครงการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะที่มีจุดเน้นสำคัญ สานพลังภาคียุทธศาสตร์ จังหวัดนครพนม

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายชวลิต ต้นใหญ่

ที่อยู่ : คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม เลขที่ 167 หมู่ 8 บ้านเนินสะอาด ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

หน่วยจัดการฯ จังหวัดนครพนม ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีองค์ประกอบของคณะทำงานทั้ง 3 ภาค ส่วน คือ ภาควิชาการ ซึ่งเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนครพนม ภาคราชการคือ มาจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมาจากหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข และด้านการศึกษา และภาคประชาสังคม ซึ่งมาจากองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ในจังหวัดนครพนม โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 14 คน โดยแบ่งโครงสร้าง ออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่หนึ่ง ทีมบริหารจัดการ (Core Team) จำนวน 4 คน ประกอบด้วยผู้จัดการโครงการ ฝ่ายวิชาการ ผู้ประสานงาน และเจ้าหน้าที่การเงิน ทีมบริหารจัดการมีหน้าที่ในการ วางแผน ประสานงาน พัฒนาเครื่องมือในการทำงาน พัฒนาศักยภาพทีมหน่วยจัดการและโครงการย่อย วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์โมเดล ติดตามและควบคุมทิศทางการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนที่สอง ฝ่ายติดตามและสนับสนุน ฝ่ายนี้แบ่งตามประเด็น คือ ประเด็นการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ และประเด็นการจัดการขยะ ประเด็นละ 5 คน ในแต่ละประเด็นมีหัวหน้าประเด็น 1 คน ทำหน้าที่ประสานงานกับพี่เลี้ยง ฝ่ายนี้มีหน้าที่หลักในการประสานงานกับโครงการย่อย ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการย่อย และรายประเด็น การดำเนินที่ผ่านมาหน่วยจัดการฯ ได้แสดงบทบาทตามความคาดหวัง และยังมีช่องว่างที่จะต้องเติมเต็มในระยต่อไป ประการแรก ในบทบาทของการเป็นตัวแทน สสส.ระดับจังหวัด หน่วยจัดการฯ สามารถแสดงบทบาท กล่าวคือ มีระบบการทำงาน มีโครงสร้าง มีบทบาทที่ชัดเจน เป็นที่รับรู้ของหน่วยงานทั้งระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น และระดับชุมชน สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจถึงบทบาท เป้าหมายของโครงการ และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ส่งบุคลากรเข้ามาร่วมประชุม สนับสนุนข้อมูล ระบุพื้นที่ที่จะเข้าร่วมโครงการ เป็นต้น แต่จุดที่เป็นช่องว่าง คือ ขาดการสื่อสารผลลัพธ์ของโครงการต่อสาธารณะ ที่เป็นระบบและต่อเนื่องทั้งยังไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม เช่น การมีตัวแทนไปอยู่ในคณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของจังหวัดทำให้ไม่สามารถผลักดันในเชิงนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวแทน สสส.ในระดับ จังหวัดได้อย่างชัดเจนในเชิงโครงสร้าง ประการที่สองด้านประสิทธิผล ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการย่อยที่ได้รับทุนมาจากหลากหลายพื้นที่และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาตามประเด็นของแต่ละพื้นที่ เพราะการรับโครงการย่อยเป็นการเปิดรับทั่วไปตามความสนใจของแต่ละพื้นที่ โดยมีการประชาสัมพันธ์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในส่วนของพี่เลี้ยงโครงการ ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการ แม้จะมีการหลอมรวมการทำงานเป็นทีม การเสริมสร้างศักยภาพการทำงานทั้งด้านความรู้ ทักษะการติดตาม การจัดกระบวนการเรียนรู้ ทั้งจากโครงการ และ สสส. แต่สิ่งที่ยังเป็นจุดอ่อนที่จำเป็นต้องพัฒนาต่อในการทำงานในครั้งนี้คือ การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในประเด็นการทำงานในเชิงลึก เช่น นวัตกรรมการจัดการขยะ การเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น และควรเสริมศักยภาพด้านการจัดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบและง่ายต่อการนำไปใช้รสบรวมและสังเคราะห์ และประการที่สาม การสนับสนุนเชิงวิชาการนั้น ที่ผ่านมามีมุ่งเน้นในเชิงกระบวนการเรียนรู้ แต่ยังขาดการสนับสนุนข้อมูล องค์ความรู้ที่เป็นเชิงนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้โครงการย่อยหรือภาคียุทธศาสตร์ได้นำไปปรับใช้ได้ จากการวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้นการดำเนินงานโครงการในครั้งนี้ในส่วนของการเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยจัดการ จึงจะมุ่งเน้นเรื่องการสื่อสาร การเข้าไปมีบทบาทในโครงสร้างเชิงนโยบายระดับจังหวัด การพัฒนาต่อยอด เสริมสร้างศักยภาพพี่เลี้ยงในด้านต่าง ๆ การสนับสนุนเครื่องมือในการทำงานที่มีประสิทธิภาพให้กับทีมพี่เลี้ยงและโครงการย่อย และจะมีการสังเคราะห์บทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมา รวบรวมนวัตกรรมการทำงานที่เป็นระบบ และการหาความรู้เพิ่มเติมสนับสนุนการทำงานของทั้งหน่วยจัดการ โครงการย่อยและภาคีที่เกี่ยวข้อง บทเรียนการดำเนินงานการขับเคลื่อนเพื่อเชื่อมกับภาคียุทธศาสตร์ ซึ่งในระยะที่ผ่านมาการขับเคลื่อนกบัภาคียุทธศาสตร์ทั้งสองประเด็น สามารถขับเคลื่อนในระดับที่เป็นญาติ หรือการเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แต่ยังไม่ถึงขั้นการเป็นเจ้าภาพร่วม บทเรียนที่ผ่านมาคือ หน่วยจัดการยังไม่มีโมเดล และข้อเสนอที่ชัดเจนที่จะเสนอต่อหน่วยงานที่เป็นภาคียุทธศาสตร์ จึงไม่สามารถที่เชื่อมการทำงานถึงขั้นเป็นเจ้าภาพร่วมได้ ประการต่อมาหน่วยจัดการยังไม่ได้ทำงานในเชิงลึก กระบวนการทำงานที่ผ่านมาใช้เวทีการประชุมเป็นเครื่องมือเป็นหลักซึ่งเป็นลักษณะการสื่อสารที่เป็นทางการ รายงานความก้าวหน้า สร้างการเรียนรู้ แต่ขาดการวางแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม ดังนั้น ในการขับเคลื่อนในระยะนี้ หน่วยจัดการได้เข้าไปพูดคุยหารือกับภาคียุทธศาสตร์หลัก เพื่อวางแนวทางการขับเคลื่อนร่วมกัน เช่น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม โดยกำหนดพื้นที่นำร่องที่จะขับเคลื่อนร่วมกันอย่างชัดเจน ขณะที่ประเด็นการจัดการขยะ ภาคีหลักคือ ท้องถิ่นจังหวัด และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครพนม ในกรณีท้องถิ่นจังหวัดจะสื่อสารไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสังกัด และกระตุ้นการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งกรณีประเด็นการจัดการขยะหน่วยจัดการจกำหนดเงื่อนไปขการเข้ารับทุนโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนมีการสมทบงบประมาณในการดำเนินโครงการด้วย ส่วน ทสจ. จะกำหนดพื้นที่นำร่องเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการขับเคลื่อนของหน่วยจัดการจะมีเวทีวางแผนการขับเคลื่อนงานร่วมกันกับภาคียุทธศาสตร์ ให้มีความชัดเจนร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินโครงการ โดยสรุปการดำเนินโครงการในระยะนี้ เป็นโครงการที่ต่อยอดจากการดำเนินงานในระยะที่แล้วโดยใช้โมเดลที่เกิดขึ้น นำมาขยายผลเพื่อยืนยันและทดสอบโมเดลให้สามารถยืนยันว่าโมเดลที่เกิดขึ้น เป็นโมเดลที่สร้างเสริมสุขภาพได้จริงทั้งสองประเด็น และจากบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งการขับเคลื่อนโครงการย่อย การบริหารจัดการหน่วยจัดการ และการขับเคลื่อนเชื่อมประสานกับภาคียุทธศาสตร์ ทำให้การขับเคลื่อนโครงการในระยะนี้มีการปรับปรุงวิธีการ กลยุทธ์การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทำให้เชื่อมั่นว่าการขับเคลื่อนงานโครงการนี้ จะบรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และเกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง

Latitude : 17.398764 Longitude : 104.721085

chawalit293@hotmail.com

0981455247

Line ID : win20088


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :