แหล่งเรียนรู้ : ขยะและสิ่งแวดล้อม

บ้านโพธิ์สามัคคี ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายทองพูน บุญประกอบ

ที่อยู่ : บ้านโพธิ์สามัคคี ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

1.การจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน บ้านโพธิ์สามัคคี -สภาผู้นำชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคี ได้มีการจัดคนทำงานเข้าสู่โครงสร้างสภาผู้นำชุมชน ทั้งหมด จำนวน ๓๐ คน ตั้งแต่ยุคการขับเคลื่อนโครงการชุมชนน่าอยู่ หลังจากนั้นได้มีการ ทบทวน บทบาทของสภาผู้นำชุมชน ในระยะที่ผ่านมา และได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคี ให้เป็นปัจจุบัน โดยแต่ละคนเริ่มมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ว่า ในสภาผู้นำชุมชน นั้นแต่ละคนทำบทบาทหน้าที่อย่างไร จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่า สมาชิกสภาผู้นำชุมชน เริ่มทำตามบทบาทหน้าที่ได้ชัดเจน ขึ้น ประธานสภาผู้นำชุมชน ได้แสดงบทบาทที่ชัดเจน ในการจัดประชุม นำประชุม และบทบาทในฝ่ายอื่นๆ ก็ชัดเจน สังเกตจากการ มีสมุดบันทึกการประชุม มีการบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ตลอดการจัดกิจกรรม ในระยะที่ผ่านมา -ยังมีสภาผู้นำชุมชนมีทัศนคติที่ดีในการทำงานและแสดงบทบาทในการทำงานได้อย่างดี และมีพัฒนาการในการแสดงบทบาทเพิ่มขึ้น กล้าพูดกล้าคุยกล้าแสดงออก โดยมี แกนหลักในการนำกระบวนการทำงาน จำนวน 5-10 คน -สภาผู้นำชุมชน สามารถวางแผนปฏิบัติการ ในการดำเนินกิจกรรมได้ และมีการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนตามประเด็นต่าง ๆ เช่น การจัดเก็บข้อมูลหนี้สินครัวเรือนจำนวน ๗๐ ครัวเรือน โดยแบ่งให้สภาผู้นำชุมชนจัดเก็บ ๑ คน ต่อ ๓ ครัวเรือน พร้อมจำแนกสถานะหนี้สิน ในพื้นที่ต่างๆ ก่อนเริ่มโครงการ และสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม ถึงแม้มีความล่าช้าในการจัดกิจกรรม แต่สภาผู้นำชุมชน ก็ได้ดำเนินจัดทำแผนงานกิจกรรมที่จะดำเนินงานในระยะต่อไป ดังนี้ (๑) ประชุมสรุปผลการทำบัญชีครัวเรือน จำนวน ๒ ครั้ง (๒)เวทีสะท้อนประมวลผลบัญชีครัวเรือน และจัดทำแผนชีวิต (๓) ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำกติกาชุมชน เพื่อเรียนรู้ในการลดรายจ่าย ด้านการลดละเลิกอบายมุข และลดรายจ่ายจากการบริโภค (๔) จัดตั้งกลุ่มครอบครัวรักษ์การออม (๕) สรุปบทเรียนและจัดมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่ ครัวเรือนรักษ์การออม -สภาผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการ นำเวที และสามารถกำหนดเป้าหมายร่วมกันในการทำงานได้อย่างเหมาะสม ครัวเรือนมีความรู้และความตระหนักการจัด -จากเวทีการเรียนรู้เพื่อประเมินผลการดำเนินงานในครั้งที่ ๒ พบว่า สภาผู้นำชุมชนได้จัดเวทีเรียนรู้ และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 70 ครัวเรือน เป็นเป้าหมายหลักในการจัดเวทีเรียนรู้แนวคิดการดำเนินงานตามโครงการ ได้แก่ แนวคิดครอบครัวอบอุ่น แนวคิดการครัวเรือนรักษ์การออม และการทำบัญชีรายรับรายจ่าย -ปัจจุบันครัวเรือนมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย จำนวน 70 ครัวเรือน -มีการรณรงค์กิจกรรมครัวเรือนรักษ์การออม โดยส่งเสริม ให้มีการออมเงิน ใส่กระปุกออมสินจากไม้ใฝ่ที่สภาผู้นำชุมชนได้ร่วมกันจัดทำกระปุกออมสินรักษ์การออมให้แต่ละครัวเรือน -สภาผู้นำชุมชนร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานกับสมาชิกในชุมชน และกระจายกันไปพูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้มีการขยายผลการดำเนินการ ในการทำบัญชีครัวเรือน ได้สมาชิกทำบัญชีรายรับรายจ่าย จำนวน ๗๐ ครัวเรือน แต่ละครัวเรือนดำเนินการทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างต่อเนื่อง และนำผลการทำบัญชีรายรับรายจ่าย มาทบทวน ว่าในแต่ละเดือนตนเองมีรายรับรายจ่ายมากน้อยขนาดไหน และนำมาพิจารณาเพื่อหาแนวทางในการลดรายจ่ายให้ครัวเรือน ของตนเอง -ในด้านการจัดการหนี้สินครัวเรือน สมาชิกในชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคี ดำเนินการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูล จากบัญชีครัวเรือน และดำเนินการจัดเก็บข้อมูลหนี้สินในชุมชนทั้งหมด หลังจากนั้นสภาผู้นำชุมชนนำข้อมูลหนี้สินเหล่านี้ มาวิเคราะห์จัดหมวดหมู่ เป็นหนี้สินภายในชุมชน หนี้สินนอกชุมชน หนี้ในระบบและหนี้สินนอกระบบ แล้วมาแยกดูองค์ประกอบของสัญญา ในการชำระหนี้ว่ามีองค์ประกอบอย่างไร ทั้งในด้านระยะเวลา การชำระหนี้สิน ในด้านระเบียบที่เกี่ยวข้อง และสภาผู้นำชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคี ได้ดำเนินการนำสัญญาหนี้ของสมาชิกมารวมกัน ตามแนวทาง ๑ ครัวเรือน ๑ สัญญา กล่าวคือการนำหนี้สินมารวมกันชำระ ในสัญญาเดียว โดยสภาผู้นำชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคี ดำเนินการรวมสัญญา ได้ จำนวน ทุกครัวเรือน วงเงินในการจัดการหนี้สิน ตามแนวทาง ๑ ครัวเรือน ๑ สัญญา ทั้งหมด ๙๘ ครัวเรือน เป็นมูลหนี้ จำนวน ๒,๔๓๐,๐๐๐ บาท การหนี้สินและการออม

Latitude : 14.899457004961 Longitude : 14.899457004962


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :