แหล่งเรียนรู้ : ขยะและสิ่งแวดล้อม

บ้านตาตา

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายอัมพร ปรีเปรม

ที่อยู่ : บ้านตาตา ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

บ้านตาตา เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2445 หรือประมาณ 116 ปีมาแล้ว โดยมีตายายสองครอบครัว คือ ครอบครัวของคุณตาสนธ์ คุณยายจันทร์ งอนสวรรค์ และคุณครอบครัวของคุณตามี คุณยายเกตุ สุดสังข์ ซึ่งย้ายมาจากบ้านโพธิ์กระสังข์ มาปลูกบ้านเรือนอยู่หัวไร่ปลายนาของตน ซึ่งมีหมู่บ้านผือ (ห่างจากบ้านโพธิ์กระสังข์ในปัจจุบัน มาทางทิศเหนือ ประมาณ 4 กิโลเมตร) ตั้งอยู่ก่อนแล้ว คือ ครอบครัวของคุณตาศรี คุณยายลา ศรีลาชัย ห่างจากบ้านคุณตาสนธ์ และคุณตามี ประมาณ 800 เมตร ต่อมาบ้านผือ เกิดโรคระบาด ผู้คนและสัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยและล้มตาย ราษฎรบ้านผือจึงอพยพครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆกับตายายสองครอบครัวดังกล่าว และมีครอบครัวของคุณตาใบ คุณยายเตียง โพธิ์กระสังข์ ซึ่งแต่เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หนองเกาะ เพียงลำพังครอบครัวเดียว จึงย้ายมาอยู่รวมกับคุณตาสนธ์ คุณตามีด้วย ราษฎรทั้งหมดเกิดความศรัทธาในตัวคุณตาสนธ์ คุณตามี จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านตาตา” ในอดีต ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นหมู่บ้านนั้น บ้านตาตาขึ้นกับ ต.ขุนหาร อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้แบ่งเขตการปกครองใหม่อีกครั้ง ทำให้บ้านตาตาเปลี่ยนมาขึ้นตรงกับ ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน จากการจัดเวทีประชาคมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของชุมชนบ้านตาตา ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ ชุมชนได้ร่วมกันสะท้อน ความไม่น่าอยู่ ของหมู่บ้านตาตา ดังนี้ ในด้านพฤติกรรมของคนในชุมชน พบว่า กลุ่มเด็กในวัยเรียน มีพฤติกรรมติดเกมส์ เล่นเกมส์ออนไลน์ ติดคอมพิวเตอร์ และใช้มือถือสื่อสารในสังคมออนไลน์ ใช้สื่อออนไลน์ ไม่ชอบออกกำลังกาย และขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เสียงดัง นอกจากนั้นเด็กบางรายไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ พ่อแม่โยกย้ายไปทำงานต่างถิ่นส่งผลให้เด็กไม่ไปโรงเรียน ในด้านเยาวชน พบว่า เยาวชนบางส่วนไม่เรียนหนังสือไม่ช่วยพ่อแม่ทำงานจับกลุ่มดื่มสรา สูบบุหรี่ มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อประเด็นปัญหายาเสพติด มีการทะเลาะวิวาทและไม่ชอบออกกำลังกายพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใหญ่/วัยทำงานชอบดื่มสุรา/สูบบุหรี่บางส่วนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน มีการทะเลาะวิวาทไม่ชอบออกกำลังกาย ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ความไม่น่าอยู่ของชุมชนในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ในชุมชนบ้านตาตา ยังมีครอบครัวขาดความอบอุ่น เนื่องจากต้องโยกย้ายแรงงานไปทำงานต่างถิ่น ในด้านเศรษฐกิจพบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย และขาดอาชีพในฤดูหลังจากเก็บเกี่ยว ขาดอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้ครัวเรือน ในด้านสังคมพบว่า ชาวบ้านตาตา ยังไม่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมชุมชน ยังขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน ยังมองว่าการพัฒนาหมู่บ้านเป็นเรื่องขอผู้นำชุมชน ในด้านการเกษตรชาวบ้านตาตา ยังอยู่ภายใต้ระบบการผลิตทำการเกษตรแบบใช้สารเคมีขาดแหล่งน้ำทำการเกษตรในด้านทรัพยากรธรรมชาติ พบว่าป่าชุมชนมีความเสื่อมโทรมบริเวณชุมชนยังมีปัญหาขยะที่ยังขาดการจัดการอย่างเหมาะสม ในด้านระบบที่เกี่ยวข้องกับชุมชน พบว่า หน่วยงานราชการในพื้นที่ยังไม่ได้มาสนับสนุนการทำงานของชุมชนอย่างเป็นระบบ มีเพียงการมาสนับสนุนงานเป็นรายครั้งคราว ขาดความต่อเนื่อง ในด้านการทำงานส่งผลให้หมู่บ้านขาด ภาคีเครือข่ายจากภายนอกชุมชนมาสนับสนุนงานอย่างจริงจัง ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการปัญหาชุมชนโดยชุมชนเอง เมื่อชุมชนทบทวนปัญหาของชุมชนตนเอง อย่างชัดเจน และมีการจัดเก็บข้อมูลชุมชนมาประกอบปัญหาดังกล่าวแล้วจึงได้มีการ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และความเร่งด่วนของปัญหา และนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาโครงการ ขับเคลื่อนงาน โครงการที่ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้การดูและของชุดโครงการ ชุมชนน่าอยู่ที่มีสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) เป็นผู้รับผิดชอบ โดยชุมชนบ้านตาตา ได้ดำเนินการ ขับเคลื่อนโครงการโดยการจัดรูปองค์กรชุมชน ที่เรียกว่า สภาผู้นำชุมชน หมายถึง ที่รวมกันของคนในชุมชน ที่มีความปรารถนาร่วมกัน มีเป้าหมายร่วมกันอยากเห็น ชุมชนบ้านตาตา เป็นชุมชนที่ขับเคลื่อนไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีการก่อตัวสภาผู้นำชุมชนชาวบ้านตาตา ที่เป็นคนเก่งคนดี คนมีจิตอาสา จำนวน ๓๐ คน มาจกองค์ประกอบในชุมชนที่มีความหลากหลาย นับตั้งแต่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนกลุ่มสตรี อสม. คณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) ตัวแทนร้านค้าชุมชน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน เด็กเยาวชน ข้าราชการบำนาญ เป็นต้น ซึ่งสภาผู้นำชุมชนนั่นเอง เป็นกลไกหลักของหมู่บ้านที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานชุมชนทั้งระบบ โดยยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย และใช้แผนชุมชนพึ่งตนเอง เป็นเครื่องมือในการทำงาน ทั้งนี้ ในระยะ ๒ ปีที่ผ่านมาชุมชนตาตา ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงประเด็น ไปแล้ว ๒ ประเด็น คือ การจัดการปัญหาเหล้าในชุมชน และการจัดการขยะในชุมชน และการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยอาศัยกติกาชุมชน ในการหนุนเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมของคนในชุมชน จากการทำงานในระยะ ๒ ปีที่ผ่านมา ชุมชนบ้านตาตา ได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนที่สำคัญ ในประเด็นการจัดการขยะในชุมชน พบว่า (๑)ประเด็นลดการดื่มเหล้าในชุมชน พบว่ามีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ ประเด็นการดื่มสุรา มีคนดื่มสุรา จำนวนทั้งหมด ๑๖๑ คน จากการทำงานมาในระยะ ๒ ปีพบว่า ปัจจุบันมีคนดื่มเหล้า จำนวน 120 คน ชุมชนสามารถขับเคลื่อนให้การดื่มสุรา ลดลงจากปีที่แล้ว จำนวน 41 คน ในด้านค่าใช้จ่าย พบว่า ค่าใช้จ่ายค่าสุรา 52,470บาท/เดือน คิดเป็นปีละ ๖๒๙,๖๔๐ บาท โดยปีที่แล้วมียอดการดื่มสุรารวมทั้งสิ้น 3,700,000 บาท มีรายจ่ายจากการดื่มสุราลดลง ๓,๐๗๐,๓๖๐ บาท และนอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการรณรงค์ งานศพปลอดเหล้า งานบุญประเพณีปลอดเหล้าในชุมชน เช่น งานบวช งานกฐิน งานออกพรรษา เข้าพรรษาในชุมชน อีกด้วย ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากการที่ชุมชน ร่วมกันการเคลื่อนกติกาชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่อง เหล้าในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ในมิติการ ลด ละเลิกเหล้า ในชุมชน จากการดำเนินโครงการ ลด ละ เลิก สุรา พบว่าประชาชนในชุมชนบ้านตาตาเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคภัย และมีความรู้ในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับการซื้อขายสุรา ประชาชนมีความตระหนักร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาจากการดื่มสุรา และร่วมกันออกข้อกำหนด กฎ กติกาชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนลด ละ เลิกดื่มสุรา รวมถึง กิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ที่ ลด ละ เลิก สุรา พร้อมทั้งเชิดชูบุคคลต้นแบบที่ลด ละ เลิกสุระเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนต่อไป โดยมีความเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ มีบุคคลที่ละการดื่มสุราจำนวน 30 คนมีบุคคลที่ลดการดื่มสุราจำนวน 30 คน มีบุคคลที่เลิกดื่ม จำนวน 18 คน มีการกำหนดกติกาของชุมชน และมีการจัดเวที คืนข้อมูลให้ชุมชน โดยการประชุมประชาคมหมู่บ้าน และมีการสร้างกติกาชุมชน ดังนี้ 1. ห้ามซื้อขายเเอลกอฮอล์ในวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 2. งานศพปลอดแอลกอฮอลล์ ปลอดการพนัน 3. งานบุญปลอดเหล้า เช่น งานกฐิน งานบวช 4. ไม่จำหน่ายแอลกอฮอล์ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ดังนั้นการทำงานในปีนี้ ของสภาผู้นำชุมชนบ้านตาตาจึงเป็นประเด็นในด้านการ ต่อยอด และเฝ้าระวังรักษาคุณภาพของประเด็นงานให้คงอยู่ และยกระดับบุคคลให้เป็นต้นแบบในด้านการ ลดละเลิกเหล้า ตลอดจนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ในกลุ่มเด็กเยาวชน และในมิติของการขับเคลื่อนงานบุญประเพณีปลอดเหล้า และการบังคับใช้กติกาชุมชน ให้เกิดความต่อเนื่อง ด้วย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนงาน ประเด็นเหล้า ๑.หน่วยงานราชการในระดับพื้นที่ ให้การยอมรับว่า ชุมชนบ้านตาตา เป็นชุมชนต้นแบบ ที่สามารถเป็นตัวอย่างในด้านการจัดกิจกรรมลดการดื่มเหล้าในระดับบุคคล และในบุญประเพณี ๒.ในรอบที่ผ่านมา สภาผู้นำชุมชน เข้าไปขับเคลื่อนงานปลอดเหล้าในชุมชน ได้แก่ งานศพปลอดเหล้า จำนวน ๔ งาน ลดรายจ่ายครัวเรือน ได้ จำนวน ๔๑,๒๐๐ บาท โดยเข้าไปจัดให้มีป้ายงานศพปลอดเหล้า ปลอดการพนัน และคัดแยกขยะ งานบวชปลอดเหล้า 1 งานลดรายจ่าย จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ๓.การทะเลาะเบาะแว้งในงานต่างๆ ในชุมชนลดลง เพราะสภาผู้นำชุมชนร่วมรณรงค์ และสร้างความเข้าใจร่วมกัน ๔.ผลจากการรณรงค์ของสภาผู้นำ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีบุคคลต้นแบบลดเหล้า เพิ่มขึ้น จาก 15 คน เป็น 18 คนในปัจจุบัน ในด้านผลลัพธ์และความสำเร็จด้าน การจัดการขยะในชุมชน พบว่า ปริมาณขยะลดลง ตามรายละเอียดเชิงเปรียบเทียบดังนี้ ครัวเรือนที่จัดการ คัดแยกขยะ จำนวน 67 ครัวเรือน มีครัวเรือนคัดแยกเพิ่มขึ้น เป็น 122 ครัวเรือน ขยะรีไซเคิล จำนวน 1,499 กิโลกรัม/เดือน ลดลง เหลือ 1,๓๘๖ กิโลกรัม/เดือน ขยะทั่วไปจำนวน 533 กิโลกรัม/เดือน ลดลง เหลือ 500 กิโลกรัม/เดือน ขยะเปียก จำนวน 1,474 กิโลกรัม/เดือน ลดลงเหลือ 1,403 กิโลกรัม/เดือน ขยะอันตราย จำนวน 39 กิโลกรัม/เดือน ไม่มีขยะ อันตราย รวมขยะทั้งหมดในชุมชน 3,545 กิโลกรัม/เดือน ลดเหลือ ๓,๒๘๙ กิโลกรัม จากการสรุปบทเรียนการทำงานการจัดการชยะในชุมชน พบว่า ครัวเรือนมีความตระหนัก ในการจัดการปัญหาขยะในชุมชน จำนวน ๑๒๒ ครัวเรือน และมีการทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง ครัวเรือนคัดแยกขยะ จำนวน ๑๒๒ ครัวเรือน ครัวเรือนมีรายได้จากการ คัดแยกขยะ และจำหน่ายขยะ รายสัปดาห์บ้าง รายเดือนบ้าง โดยมีรายได้ในการจำหน่ายขยะมากน้อยเท่าใด และแต่ละครัวเรือน ซึ่งสภาผู้นำชุมชนมอบหมายให้ไป เก็บรวบรวมข้อมูล รายได้จากการจัดการขยะ ให้มีความชัดเจน เป็นระบบรายงานผลในการประชุมครั้งต่อไป สภาผู้นำชุมชนบ้านตาตา ได้เข้าไปรณรงค์จัดการ งานในงานศพ โดยมี แนวทางจัดการงานศพโดยให้ แกนนำสภาผู้นำชุมชน ช่วยเหลือเจ้าภาพ ประกาศวาระบ้านตาตา งานศพ ๓ ปลอด ปลอดเหล้า ปลอดการพนัน และปลอดขยะ โดยให้ เจ้าภาพงานศพร่วมกัน ดำเนินการคัดแยกขยะในงานศพและงานบุญประเพณีทุกครั้ง ไป เด็กเยาวชน ในชุมชนจำนวน ๒๐ คนเข้าร่วมดำเนินการ โครงการชุมชนน่าอยู่ โดยร่วมในกิจกรรมของชุมชน เช่น การเข้าสู่กระบวนการอบรมให้ความรู้ ด้านการทำงานจิตอาสาเพื่อชุมชน การจัดการคัดแยกขยะ การจัดงานกีฬาเยาวชนปลอดขยะ และเด็กเป็นกำลังสำคัญในงานบุญ ๓ ปลอด นอกจากนั้น ยังเกิดกติกาชุมชน และบังคับใช้กติกา ในชุมชน ตามรายละเอียด ดังนี้ กฎกติกาชุมชน บ้านตาตา ประจำปี 256๒ ข้อ 1 ห้ามขายแอลกอฮอล์ในวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ข้อ 2 ทุกครัวเรือนมีการจัดการคัดแยกขยะ ข้อ 3 งานศพปลอดเหล้าปลอดการพนัน และมีการจัดการขยะ ข้อ 4 ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกชนิด ข้อ 5 ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ ข้อ 6 ร้านค้ามีการจัดการขยะ ข้อ 7 ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด ข้อ 8 ทุกครัวเรือนมีส่วนร่วม ในการทำความสะอาดและกำจัด ลูกน้ำ ยุงลาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ข้อ 9 ทุกคนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน ข้อ 10 ชาวบ้านทุกคนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและช่วยกันดูแลรักษาสาธารณสมบัติของชุมชน ซึ่งผลจากการดำเนินการตามกติกา ส่งผลให้มีการ ปฏิบัติตามกติกา และเกิดการบรรลุผล โดยเฉพาะการจัดการขยะ ที่มีครัวเรือน จัดการขยะได้ จำนวน 122 ครัวเรือน และมีการร่วมกันจัดการสภาพแวดล้อมชุมชน ให้น่าอยู่ โดยการจัดการทำความสะอาดร่วมกัน ของคนในชุมชน กิจกรรมสำคัญและเงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จ จากการดำเนินงานจนเกิดผลลัพธ์อยู่ในระดับดี สรุปได้ว่ากิจกรรมสำคัญที่ทำให้ชุมชนสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกลไกการทำงานและเชิงประเด็นมี ดังนี้ 1.การประชุมประชาคมหมู่บ้าน ชี้แจงรายละเอียดโครงการและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานคืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในแต่ละด้านให้ชุมชนได้รับรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักและเข้าร่วมการดำเนินงาน พร้อมทั้งรับสมัครสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมการดำเนินงาน เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกกลุ่ม ทุกคุ้ม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 2.การอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีฝึกปฏิบัติการนำขยะเปียกไปทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นเกิดการเรียนรู้และแรงจูงใจให้ครัวเรือนในชุมชนร่วมกันจัดการขยะในครัวเรือนและขยะในชุมชน และใช้กลไกเด้ฏเยาวชนมาสนับสนุนการคัดแขกขยะ ในครัวเรือน ในงานศพ งานบุญประเพณีในชุมชน 3. การประชุมประชาคมกำหนดกติกาชุมชน 2 กติกา ได้แก่ กติกาชุมชนในภาพรวมที่มุ่งให้สมาชิกในชุมชนถือปฏิบัติร่วมกัน กติกาชุมชนการคัดแยกขยะ กติกาการลดการดื่มเหล้าในชุมชน คนในชุมชนทุกครัวเรือนและทุกกลุ่มมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและร่วมพิจารณาลงมติในการยอมรับและปฏิบัติตามกติกาชุมชนในทุกขั้นตอน 4. สภาผู้นำชุมชนร่วมกันติดตามประเมินผลในทุกประเด็นปัญหา และนำข้อมูลผลลัพธ์ บทเรียนที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นและเป็นการสนับสนุนให้กำลังใจในการลงมือปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง 5.การจัดตั้งกลุ่มเด็กเยาวชน ที่เป็นแกนหลักในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการขยะในชุมชน และจัดทำแผนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เช่น การคัดแยกขยะในครัวเรือน ในงานบุญประเพณี ๖.การใช้แผนชุมชนพึ่งตนเองเป็นประเด็นในการขับเคลื่อนงาน โดยเฉพาะสภาผู้นำชุมชนได้ดำเนินการกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เช่น การจัดการปรับปรุงภุมิทัศน์ชุมชนเดือนละ ๑ ครั้ง การส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนในระบบคุ้มบ้าน การฟื้นฟูป่าชุมชน เป็นต้น พัฒนาการและกลไกการดำเนินงาน สภาผู้นำชุมชนบ้านตาตา ได้มีการจัดคนทำงานเข้าสู่โครงสร้างสภาผู้นำชุมชน ทั้งหมด จำนวน ๓๐ คน โดยแต่ละคนเริ่มมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ว่า ในสภาผู้นำชุมชน นั้นแต่ละคนทำบทบาทหน้าที่อย่างไร จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่า สมาชิกสภาผู้นำชุมชน เริ่มทำตามบทบาทหน้าที่ได้ชัดเจน ขึ้น ประธานสภาผู้นำชุมชน ได้แสดงบทบาทที่ชัดเจน ในการจัดประชุม นำประชุมได้ ยังมีสภาผู้นำชุมชนบางส่วนที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการ ทำหน้าที่ ตามบทบาทสภาผู้นำชุมชน ส่วนหนึ่งมีลักษณะ ยังขาดการมีส่วนร่วม ในการนำเสนอข้อมูล เพราะยังขาดความมั่นใจในตัวเอง มีหลวงพ่อพระครู ฯ เจ้าอาวาสวัดตาตา เป็นที่ปรึกษา ช่วยสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนในทุกกิจกรรม สภาผู้นำชุมชนมีสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนได้อย่างดี โดยสามารถรู้บทบาทหน้าที่ตนเอง สังเกตจากเวลามีการจัดกิจกรรม แต่ละฝ่ายจะทำหน้าที่ของตนเองตามที่ สภาผู้นำชุมชนได้มอบหมายให้ สภาผู้นำชุมชนบ้านตาตา เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนต่างๆในชุมชน เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มกองทุน กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มอาชีพ วัดไตรราษฏร์สามัคคี ปราญช์ชาวบ้าน และอาสาสมัคร ที่สมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในชุมชน โดยมีการจัดทำโครงสร้างองค์สภาผู้นำชุมชนชัดเจน สภาผู้นำชุมชน มีการแบ่งหน้าที่การทำงานตามความถนัดของแต่ละคน มีการประชุมประจำเดือนๆละ 2 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการพัฒนาและมอบหมายงานให้แต่คนได้ดำเนินการ ผู้ที่ได้รับมอบหมายงานจะปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ หากมีปัญหาหรืออุปสรรคจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ในด้านทัศนคติในการทำงาน พบว่า สภาผู้นำชุมชนมีทัศนคติต่อการทำงานร่วมกัน เข้าใจแนวทางขับเคลื่อนการทำงานของกลไกลภาผู้นำชุมชน มีความตื่นตัว สนใจ โดยคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนทุกฝ่ายต่าง เห็นชอบกับแนวทางการเคลื่อนงานของสภาผู้นำชุมชน ท นายธีระพล แก้วลอย สมาชิกสภาผู้นำชุมชนบ้านตาตา ซึ่งเป็นประธานเยาวชนบ้านตาตา กล่าวว่า สภาผู้นำชุมชนบ้านตาตา เข้าใจบทบาทหน้าที่การทำงานอย่างดีทุกคนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม และวางแผนให้มีการประชุมสภาผู้นำชุมชน เดือนละ ๒ ครั้ง ในวันที่ ๕ และวันที่ ๒๐ ของทุกเดือน มีการรวมตัวเป็นกลไกที่มีระบบ และมีการระบุบทบาทหาที่ในการทำงาน สภาผู้นำชุมชนเริ่มมีการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการแบ่งการทำงานตามภารกิจโดยความถนัดในงานและความสมัครใจของสมาชิกสภาฯ โดยแบ่งเป็นฝ่ายบริหารงาน เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ เก็บข้อมูล ติดตามและประเมินผล และสมามารถจัดกิจกรรมได้ทุกคนรู้หน้าที่ของตนเอง และกลไกสภาผู้นำชุมชนบ้านตาตา จะเป็นกลไกหลัก ในการนำพาหมู่บ้านสู่ความเข้มแข็งต่อไป โอกาสความยั่งยืน ชุมชนบ้านหนองตาตา มีจุดเด่นในการขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบกลไกสภาผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคนทุกกลุ่ม ทุกคุ้มในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกัน พัฒนาโดยใช้แผนชุมชนพึ่งตนเองในการขับเคลื่อนงาน ให้มีความต่อเนื่อง และอาศัยการเชื่อมโยงพลังของภาคีเครือข่ายเข้ามาหนุนงานชุมชน อย่างต่อเนื่อง เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ สนับสนุนการพัฒนาเด็กเยาวชน มูลนิธิสยามกัมมาจล สนับสนุนการขับเคลื่อน การพัฒนาการวิจัยดดยกลุ่มเด็กเยาวชน ในมิติขับเคลื่อนแผนชุมชนพึ่งตนเอง โดยมิติทางเศรษฐกิจ สภาผู้นำชุมชน มีแนวทางการขับเคลื่อนต่อยอดการผลิตข้าวแบบลดการใช้สารเคมีสู่กระบวนการผลิต ที่มีมาตรฐานมากขึ้น โดยมีแกนนำสภาผู้นำชุมชนเป้นแกนนำในการผลิตข้าว และแปรรูปเพื่อจำหน่าย โดยการเชื่อมโยงบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนต่อไป การส่งอาชีพการทอผ้าไหมวึ่งเป้นเอกลักษ์ที่มีความโดดเด่นของชุมชน และในมิติด้าน สังคม การพัฒนาโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางเป็นที่ระดม ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ โดยมีท่านเจ้าอาวาสวัดไตรราษฎร์สามัคคี สนับสนุนการทำงานของชุมชน

Latitude : 14.59188334323 Longitude : 14.591883343231


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :