แหล่งเรียนรู้ : ขยะและสิ่งแวดล้อม

บ้านหนองฮะ

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายอุดม หาญภิรมย์

ที่อยู่ : บ้านหนองฮะ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

บ้านหนองฮะหมู่ 5 ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเมื่อปี พ.ศ.2471 ตั้งแต่มาได้ 80 ปี บ้านหนองฮะชื่อเดิมบ้านเริ่มมาตั้งแต่หมู่บ้าน ฮังฮะ ผู้ตั้งบ้านหนองฮะชื่อว่านายหล้า บุญช่วย ภรรยาชื่อนางสร้อยบุญช่วย กับเพื่อน (เสี่ยว) ชื่อนายพรม บุญชม ภรรยาชื่อ นางมี บุญช่วย ครั้งแรกมีครอบครัว ตั้งบ้านข้างหนองน้ำธรรมชาติที่กว้างใหญ่ และมีปลาชุกชุมมากหมู่บ้านข้างเคียงจะพากันมาจับปลา ช่วงฤดูน้ำลดของทุกปี โดยทำเครื่องวิดน้ำ คือทำฮังฮะ พอจับปลาเสร็จก็ ทิ้งฮังฮะไว้ เป็นจำนวนมาก บ้านข้างเคียงจะเรียกว่าบ้านหนองฮังฮะ ต่อมาเปลี่ยนเป็นบ้านหนองฮะ หมู่บ้านหนองฮะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ อยู่ห่างจากอำเภอห้วยทับทัน ประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวม 1,552 ไร่ หมู่บ้านมีจำนวนครัวเรือน 11๙ ครัวเรือน แบ่งออกเป็น 7 คุ้ม หมู่บ้านนี้มีจำนวนประชากร 568 คน เป็น ชาย 219 คน หญิง 149 คน ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา รองลงมาได้แก่อาชีพ เลี้ยงโคกระบือ การปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และรับจ้างทั่วไป ตามลำดับ ความไม่น่าอยู่ของชุมชนหนองฮะ ชุมชนแห่งนี้มีการริเริ่มงานพัฒนาในต่าง ๆมาบ้างแล้ว แต่ยังขาดความต่อเนื่อง ในการพัฒนา ทำให้ผลการพัฒนาไม่เป็นที่พอใจของคนในชุมชนเท่าใดนัก ถึงแม้จะมีหน่วยงานราชการ มาส่งเสริมสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ แต่ก็ ยังขาดความต่อเนื่อง เป็นงานที่ผลักดันจากปัจจัยภายนอกมากกว่า คนในชุมชนริเริ่มคิดงานกันเอง การทำงานจึงไม่มีความยั่งยืนมากนัก ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในชุมชนบ้านหนองฮะ พบว่า มีปัญหา ดังนี้ ปัญหาขยะในชุมชน สถานการณ์ปัญหาขยะบ้านหนองฮะ จากการประชุมกับพบว่า ที่มาของขยะนั้น เป็นขยะที่เกิดจากครัวเรือน เป็นหลัก ซึ่งจากฐานข้อมูล พบว่า บ้านหนองฮะ มีชนิดและปริมาณขยะ ที่ชุมชนมีการทิ้งขยะและมีมูลค่าขยะ จำแนกต่อเดือนได้ดังนี้ ประเภทขวดแก้วจำนวน 715.5 กิโลกรัม/เดือน ประเภท ขวดพลาสติก 69 กิโลกรัม/เดือน ขยะประเภทเหล็ก จำนวน 48 กิโลกรัม/เดือน ขยะประเภทกระดาษ จำนวน 16 กิโลกรัม / เดือน ประเภทถุงยางพลาสติก จำนวน 590 ชิ้น/เดือนขยะประเภทใบไม้ จำนวน 90 กิโลกรัม/เดือน ขยะประเภทมูลสัตว์ จำนวน 600 กิโลกรัม/เดือน ปัญหาการใช้สารเคมีในชุมชน การใช้สารเคมีในชุมชน ในชุมชนบ้านหนองฮะ นั้นมีการใช้โดยทั่วไป จากการจัดเก็บข้อมูล พบว่า มีการใช้สารเคมีในการผลิต ข้าวเป็นส่วนใหญ่ ในการทำนาชุมชน นิยมใช้ ปุ๋ยเคมี ยาคุมหญ้า ยาฆ่าแมลง และยาฉีดพ่นปราบศัตรูพืช ในชุมชนมีครัวเรือนทั้งสิ้น 100 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่ใช้สารเคมีแบบเข้มข้น ในทุกขั้นตอนของการผลิต ข้าวจำนวน 100 ครัวเรือน และมีครัวเรือนที่ใช้สารเคมีบางชนิดเช่น ใช้ปุ๋ยเคมี แต่ไม่ใช้สารฆ่าแมลง และสารปราบศัตรูพืช มีครัวเรือน ที่ไม่ใช้สารเคมีเพียง 19 ครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนนี้ จะใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยจากมูลสัตว์ และมีองค์ความรู้ ในด้านการใช้สารทดแทน สารเคมี สาเหตุการใช้สารเคมีเพราะชุมชนมีความเชื่อ ว่า การใช้ปุ๋ยเคมีนั้น ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตเร็วได้ผลผลิต เยอะ รวดเร็วทันใจ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ ชาวบ้านหนองฮะมีต้นทุนการผลิตสูง ดินเสื่อมโทรม เพราะถูกทำลายจากการใช้สารเคมีมาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน การสูบบุหรี่ ในชุมชนบ้านหนองฮะ ส่วนมากพบการสูบในกลุ่มของผู้สูงอายุในชุมชน และในกลุ่มวัยรุ่นในหมู่บ้าน จากการจัดเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านหนองฮะ มีคนสูบบุหรี่ จำนวน 37 คน สาเหตุการสูบบุหรี่ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาคนในชุมชน ยังคงสืบทอดค่านิยมการสูบบุหรี่ คนรุ่นเก่าจึงสูบบุหรี่ จากรุ่นสู่รุ่น คนรุ่นพ่อสูบจึงมีการสูบเพราะพฤติกรรมการเลียบแบบ และเห็นตัวอย่าง แต่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่อยู่ในสังคมที่สื่อสารเรื่องผลกระทบจากการสูบบุหรี่ ในสื่อต่าง ๆ จะรับรู้ถึงโทษภัยจากการสูบบุหรี่ แต่ส่วนมากที่สูบบุหรี่ เพราะ ต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อ ต้องการ สูบบุหรี่เพื่อความเท่ห์ ด้านผลกระทบจากการสูบบุหรี่ ในบ้านหนองฮะ พบว่า ยังไม่มีผลกระทบที่มีความรุนแรงมากนัก ส่วนใหญ่ เป็นผลกระทบจากการได้รับควันบุหรี่ จากการสูบบุหรี่ ของคนรอบข้าง ปัญหาการดื่มเหล้าในชุมชน การดื่มเหล้าในชุมชนบ้านหนองฮะ เป็นปัญหาที่สำคัญที่คนในชุมชน นิยมดื่มเหล้ากันอย่างสม่ำเสมอ จากการจัดเก็บข้อมูล พบว่า คนในชุมชนดื่มเหล้า จำนวน 53 คน ชนิดและประเภทของเหล้าที่ดื่ม ได้แก่ เหล้าขาว เหล้าสี ช่วงเวลาที่ดื่มส่วนมากจะดื่มในวิถีชีวิต เช่นการดื่มตอนเช้า ตอนเย็น อีกกลุ่มหนึ่ง จะดื่มในงานบุญประเพณีชุมชนที่จัดขึ้น เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ อีกกลุ่ม หนึ่งจะดื่มในช่วงเทศกาลที่สำคัญ เช่น เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ เป็นต้น ผลกระทบที่เกิดขึ้น การดื่มเหล้าส่งผลต่อภาพลักษณ์ของคนในชุมชน ว่าเป็นคนขี้เมา และเวลามีงานในชุมชน จะไปก่อกวนสร้างความรำคาญ ในด้านสุขภาพ พบว่าในรอบปีที่ผ่านมา มีคนเป็นโรคตับแข็ง จำนวน 1 ราย และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง 1 ราย ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการปัญหาชุมชนโดยชุมชนเอง เมื่อชุมชนทบทวนปัญหาของชุมชนตนเอง อย่างชัดเจน และมีการจัดเก็บข้อมูลชุมชนมาประกอบปัญหาดังกล่าวแล้วจึงได้มีการ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และความเร่งด่วนของปัญหา และนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาโครงการ ขับเคลื่อนงาน โครงการที่ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้การดูและของชุดโครงการ ชุมชนน่าอยู่ที่มีสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) เป็นผู้รับผิดชอบ โดยชุมชนบ้านหนองฮะ ได้ดำเนินการ ขับเคลื่อนโครงการโดยการจัดรูปองค์กรชุมชน ที่เรียกว่า สภาผู้นำชุมชน หมายถึง ที่รวมกันของคนในชุมชน ที่มีความปรารถนาร่วมกัน มีเป้าหมายร่วมกันอยากเห็น ชุมชนบ้านหนองฮะ เป็นชุมชนที่ขับเคลื่อนไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีการก่อตัวสภาผู้นำชุมชนชาวบ้านหนองฮะ ที่เป็นคนเก่งคนดี คนมีจิตอาสา จำนวน ๓๐ คน มาจกองค์ประกอบในชุมชนที่มีความหลากหลาย นับตั้งแต่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนกลุ่มสตรี อสม. คณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) ตัวแทนร้านค้าชุมชน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน เด็กเยาวชน ข้าราชการบำนาญ เป็นต้น ซึ่งสภาผู้นำชุมชนนั่นเอง เป็นกลไกหลักของหมู่บ้านที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานชุมชนทั้งระบบ โดยยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย และใช้แผนชุมชนพึ่งตนเอง เป็นเครื่องมือในการทำงาน ทั้งนี้ ในระยะ ๒ ปีที่ผ่านมาชุมชนหนองฮะ ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงประเด็น ไปแล้ว ๒ ประเด็น คือ การจัดการปัญหาขยะในชุมชน และการจัดการปัญหาการใช้สารเคมีในชุมชน และการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยอาศัยกติกาชุมชน ในการหนุนเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมของคนในชุมชน จากการทำงานในระยะ ๒ ปีที่ผ่านมา ชุมชนบ้านหนองฮะ ได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนที่สำคัญ ในประเด็นการจัดการขยะในชุมชน พบว่า หมู่บ้านหนองฮะ มีฐานข้อมูลด้านขยะในชุมชน พบว่า มีชนิดและปริมาณขยะ ที่ชุมชนมีการทิ้งขยะและมีมูลค่าขยะ จำแนกต่อเดือนได้ดังนี้ ประเภทขวดแก้วจำนวน 715.5 กิโลกรัม/เดือน ประเภท ขวดพลาสติก 69 กิโลกรัม/เดือน ขยะประเภทเหล็ก จำนวน 48 กิโลกรัม/เดือน ขยะประเภทกระดาษ จำนวน 16 กิโลกรัม / เดือน ประเภทถุงยางพลาสติก จำนวน 590 ชิ้น/เดือนขยะประเภทใบไม้ จำนวน 90 กิโลกรัม/เดือน ขยะประเภทมูลสัตว์ จำนวน 600 กิโลกรัม/เดือน ผลลัพธ์ที่เกิดจากการทำงาน พบว่า ในปัจจุบันหมู่บ้านหนองฮะมีความตระหนักร่วมกัน มีครัวเรือน ในชุมชนที่ร่วมกันคัดแยกขยะ จำนวน ๑๒๙ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ แต่ยังมีครัวเรือนที่คัดแยกขยะไม่ถูกต้อง ไม่ประณีต อีกจำนวน ๙ ครัวเรือน ในด้านปริมาณขยะ พบว่าในปัจจุบัน ปริมาณขยะลดลง คงเหลือตามรายละเอียด ดังนี้ ประเภทขวดแก้วจำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม/เดือน ประเภท ขวดพลาสติก ๕๐ กิโลกรัม/เดือน ขยะประเภทกระดาษ จำนวน ๕ กิโลกรัม / เดือน ประเภทถุงยางพลาสติก จำนวน ๕ กิโลกรัม/เดือน ขยะประเภทใบไม้ จำนวน ๕๐ กิโลกรัม/เดือน ขยะประเภทมูลสัตว์ จำนวน ๔00 กิโลกรัม/เดือน ส่วนในด้านการลดการใช้สารเคมีในนาข้าว พบว่า ในปัจจุบัน นา พบว่าชาวบ้านหนองฮะมีครัวเรือนทั้งสิ้น 129 ครัวเรือน ประกอบอาชีพทำนา จำนวน 129 หลังคาเรือน มีพื้นที่ทำนาในหมู่บ้านทั้งสิ้น ๑,๕๕๒ ไร่ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการทำนาหว่าน พื้นที่ทั้งหมดเป็นนานอกเขตชลประทาน ต้องอาศัยนาฝนแต่เพียงอย่างเดียว จากการจัดเก็บข้อมูล ประชาชนจำนวน 129 ครัวเรือน ทำนาโดยการใช้สารเคมีในนาข้าว คิดเป็นร้อยละ 90 กล่าวคือจะทำนาโดยใช้ปุ๋ยเคมี จำนวน 100 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 90 ซึ่งเมื่อคิดเป็นจำนวนปุ๋ยเคมีที่ใช้ จำนวน ๙๗๒ กระสอบ เป็นเงิน ๙๕๒,๐๐๐ บาท ในส่วนของการใช้สารกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าหญ้า พบว่า มีใช้จำนวน ๔๐ ครัวเรือน จำนวนที่ใช้รวมกัน ๒๐๐ ขวด เป็นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท บาท/ปี ใช้ยาคุมหญ้า จำนวน ๓๐ ขวด เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ใช้ยาฆ่าแมลง จำนวน ๓๕ ขวด เป็นเงิน ๑๗,๕๐๐ บาท รวมมูลค่าการใช้สารเคมีทั้งปี เป็นเงิน ๑,๑๐๔,๕๐๐บาท ผลงานจากการทำงานในรอบปีที่ผ่านมาชุมชน บ้านหนองฮะ ดำเนินการนำข้อมูลดังกล่าวมาสะท้อนให้ชุมชนทราบ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสถานการณ์การใช้สารเคมีในนาข้าว จึงมีทิศทางการทำงานร่วมกันว่า จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มในการทำนาแบบลดการใช้สารเคมี มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๔๗ ครัวเรือน จัดตั้งเป้นกลุ่มทำนาแบบลดการใช้สารเคมี มีการกำหนดกติกา ให้สมาชิกทำนาแบบลดการใช้สารเคมี ครัวเรือนละ ๑-๓ ไร่ มีพื้นที่ทำนาแบบลดการใช้สารเคมี จำนวน ๑๐๗ ไร่ นอกจากนั้นกลุ่มยังรวมตัวกันทำนาแบบลดการใช้สารเคมีแปลงรวม โดยใช้พื้นที่ป่าช้าสาธารณะประโยชนืของหมู่บ้านเป็นแปลงสาธิตร่วมกันเรียนรู้จากต้นข้าว นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งกองทุนปุ๋ยพืชสดให้สมาชิกปลูกพืชหลังนา เพื่อบำรุงดิน และไถกลบตอซังข้าว ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี จำนวนทั้งสิ้น ๑๒๔,๙๐๐ กิโลกรัม จากการจัดเก็บข้อมูลพบว่า กลุ่มสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนาข้าว จำนวน ๒๑๘ กระสอบ คิดเป็นเงินที่สามารถลดได้ จำนวน ๒๑๙,๐๐๐ บาท กิจกรรมสำคัญและเงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จ จากการดำเนินงานจนเกิดผลลัพธ์อยู่ในระดับดี สรุปได้ว่ากิจกรรมสำคัญที่ทำให้ชุมชนสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกลไกการทำงานและเชิงประเด็นมี ดังนี้ 1.การประชุมประชาคมหมู่บ้าน ชี้แจงรายละเอียดโครงการและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานคืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในแต่ละด้านให้ชุมชนได้รับรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักและเข้าร่วมการดำเนินงาน พร้อมทั้งรับสมัครสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมการดำเนินงาน เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกกลุ่ม ทุกคุ้ม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 2.การอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีฝึกปฏิบัติการนำขยะเปียกไปทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นเกิดการเรียนรู้และแรงจูงใจให้ครัวเรือนในชุมชนร่วมกันจัดการขยะในครัวเรือนและขยะในชุมชน 3. การประชุมประชาคมกำหนดกติกาชุมชน 3 กติกา ได้แก่ กติกาชุมชนในภาพรวมที่มุ่งให้สมาชิกในชุมชนถือปฏิบัติร่วมกัน กติกาชุมชนการคัดแยกขยะ กติกาการลดการใช้สารเคมีในนาข้าว คนในชุมชนทุกครัวเรือนและทุกกลุ่มมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและร่วมพิจารณาลงมติในการยอมรับและปฏิบัติตามกติกาชุมชนในทุกขั้นตอน 4. สภาผู้นำชุมชนร่วมกันติดตามประเมินผลในทุกประเด็นปัญหา และนำข้อมูลผลลัพธ์ บทเรียนที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นและเป็นการสนับสนุนให้กำลังใจในการลงมือปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง 5.การใช้แผนชุมชนพึ่งตนเองเป็นประเด็นในการขับเคลื่อนงาน โดยเฉพาะสภาผู้นำชุมชนได้ดำเนินการกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เช่น การจัดการปรับปรุงภุมิทัศน์ชุมชนเดือนละ ๑ ครั้ง หรือการพัฒนาตามกิจกรรมสำคัญของชุมชน โดยใช้วัด และชุมชน เป็นฐาน ขับเคลื่อนงาน พัฒนาการและกลไกการดำเนินงาน จากสภาพปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน นายอุดม หาญภิรมย์ ผู้ใหญ่บ้านได้พูดคุยปรึกษาหารือในวงสนทนากับนายควง อินทร์แก้ว ข้าราชการบำนาญที่คนในชุมชนให้การยอมรับนับถือในชุมชน นายโชคอำนวย บัวบุญธนาหมุ่ยโท จิตอาสาในชุมชน เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละด้านของชุมชนและได้เชิญแกนนำหมู่บ้านตัวแทนคุ้มเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือและมีความเห็นร่วมกันว่าต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน จึงเชิญชวนตัวแทนครัวเรือนและตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนเข้าร่วมประชุมประชาคมหมู่บ้านชี้แจงรายละเอียดสถานการณ์ปัญหาในด้านต่าง ๆ คืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชนให้คนในชุมชนได้รับรู้เข้าใจและเข้าร่วมการดำเนินงาน พร้อมทั้งรับสมัคร ชักชวนแกนนำกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ สมาชิก อบต. คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มกองทุนเงินล้าน กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ ตัวแทนคุ้ม ในชุมชน เข้ามาเป็นสภาผู้นำชุมชนและเกิดกลไกการทำงานที่เกิดผลลัพธ์และความเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยคนในชุมชนทุกกลุ่มมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ในปีแรกมีสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน กำหนดกติกาสภาผู้นำชุมชนร่วมกัน มีการแบ่งโครงสร้างบทบาทหน้าที่การทำงานของสภาผู้นำชุมชนออกเป็นคุ้ม 7 คุ้ม มีหัวหน้าคุ้มรับผิดชอบการทำงานภายในคุ้ม บทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน ได้แก่ การเป็นต้นแบบในประเด็นปัญหาที่ดำเนินการ การประชุมร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลผลลัพธ์ความก้าวหน้าจากการติดตามประเมินผลการดำเนินพร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มาพูดคุยแลกเปลี่ยนในที่ประชุมทุกครั้ง และร่วมหาทางแก้ไขปัญหาวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป สภาผู้นำชุมชนมีการคืนข้อมูลให้ครัวเรือนในชุมชนทราบอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินของคนในชุมชนทุกกลุ่ม การขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบกลไกสภาผู้นำชุมชน โดยสภาผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานทุกขั้นตอน มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับภาคีการพัฒนาภายนอก ประสานภาคีภายนอกเข้ามาจัดกิจกรรมหนุนงานชุมชน เช่น สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยภาคีการพัฒนาเข้ามาต่อยอดและหนุนงานชุมชน ให้เป็นที่รู้จักในระดับสาธารณะ และได้ออกสื่อต่าง ๆ และมีการเชื่อมงานเข้ามาสู่ชุมชนเป็นระยะๆ เป็นการระดมทรัพยากรภายนอกเข้ามาหนุนเสริมบทบาทการทำงาน ของสภาผุ้นำชุมชน ให้โดดเด่นมากยิ่ง ขึ้น โอกาสความยั่งยืน ชุมชนบ้านหนองฮะ มีจุดเด่นในการขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบกลไกสภาผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคนทุกกลุ่ม ทุกคุ้มในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกัน พัฒนาโดยใช้แผนชุมชนพึ่งตนเองในการขับเคลื่อนงาน ให้มีความต่อเนื่อง และอาศัยการเชื่อมดยงพลังของภาคีเครือข่ายเข้ามาหนุนงานชุมชน และอาศัยพลังทางพระพุทธศาสนา มาขับเคลื่อนร่วมกับหมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัติวิถีที่มีต้นทุน ในการทำงาน จึงขับเคลื่อนแผนชุมชนพึ่งตนเอง ในมิติด้านสังคม จัดให้มีกิจกรรมในมิติประเพณีวัฒนธรรม จัดกิจกรรมนุ่งซิ่นไม่นุ่งสั้นตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยวเข้ามาสู่ชุมชน และพัฒนาระบบตลาดในชุมชน ให้มีการนำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมาจัดแสดงและจำหน่าย เกิดการสร้างรายได้ให้คนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ข้าวสารอาหารแห้งที่ได้ในแต่ละเดือน ยังสามารถนำไปสนับสนุนช่วยเหลือ หน่วยงาน เช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ครัวเรือนผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื่องรัง สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นความคิดต่อยอด ที่เกิดขึ้นโดยกลไกสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนชุมชน สู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ได้ในท้ายที่สุด

Latitude : 15.089514275433 Longitude : 15.089514275434


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :