แหล่งเรียนรู้ : ขยะและสิ่งแวดล้อม

บ้านหนองเหล็ก

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายเจริญ ทองเสน

ที่อยู่ : บ้านหนองเหล็ก ตำบลก้านเหลือง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

อพยพมาตั้งบ้านใหม่ในพื้นที่สูงและใกล้ห้วยสำราญ เนื่องจากพื้นที่ตั้งอยู่เป็นแหล่งที่มีแร่เหล็กมาก สามารถนำมาหลอมทำเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น จอบ เสียม มีด เป็นต้น จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะแร่เหล็กที่มีอยู่มากว่า “บ้านหนองเหล็ก” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันบ้านหนองเหล็กแบ่งการปกครองออกเป็น 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 8 , หมุ่ที่ 9 , หมู่ที่ 16 ตำบลก้านเหลือง เป็นชุมชนที่มีความผูกพันกันเพราะ มีรากฐานความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน ทำกิจกรรมทางประเพณีวัฒธรรมร่วมกันมาเป็นเวลานาน ที่วัดบ้านหนองเหล็กและเรียนหนังสือร่วมกัน ที่โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก บ้านหนองเหล็กตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากอำเภอห้วยทับทัน ประมาณ 8 กิโลเมตร บ้านหนองเหล็กเป็นชุมชนขนาดใหญ่ บ้านหนองเหล็ก มี 214 ครัวเรือน แบ่งออกเป็น 16 คุ้ม มีประชากรรวมทั้งหมด 819 คน เพศชาย 396 คน เพศหญิง 423 คน มีพื้นที่ทั้งหมด 4,817 ไร่ ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก จำนวน 193 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำนา จำนวน 2,525 ไร่ ไปทำงานต่างถิ่น จำนวน 21 ครัวเรือน ประกอบอาชีพรับจ้างจำนวน 73 ครัวเรือน ประกอบอาชีพค้าขาย 6 ครัวเรือน ทอผ้าไหม 109 ครัวเรือน ปลูกหม่อน 25 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 60 ไร่ ปลูกพริกและปลูกมะเขือ 16 ครัวเรือน พื้นที่ 28 ไร่ ปลูกหอมกระเทียม 6 ครัวเรือน พื้นที่ 8 ไร่ ปลูกมะนาว 8 ครัวเรือน พื้นที่ 10 ไร่ ปลูกมันสำปะหลัง 10 ครัวเรือน พื้นที่ 24 ไร่ ปลูกพืชผักสวนครัว 46 ครัวเรือน จากการจัดเวทีประชาคม เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และทบทวนกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ในระยะที่ผ่านมา พบว่า ชุมชนบ้านหนองเหล็ก มีสถานการณ์ปัญหา ในด้านการพัฒนาหมู่บ้านในหลาย ๆ ด้าน ในด้านพฤติกรรมของคน ที่ทำให้บ้านหนองเหล็กไม่น่าอยู่ ได้แก่ คนในชุมชนมีพฤติกรรม การดื่มสุรา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยแรงงาน ในชุมชนที่นิยมดื่มสุราโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ในชุมชนมักจะมีการจับกลุ่มดื่มสุรา เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมาการดื่มสุราในงานบุญประเพณีของชุมชน เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานขึ้นปีใหม่ ในกลุ่มเยาวชนก็เป็นอีกกลุ่มบุคคลที่มีการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยผู้ใหญ่ที่ยังมีการสูบบุหรี่ การทิ้งขยะในชุมชนอย่างไม่เป็นที่เป็นทาง ส่งผลให้สภาพแวดล้อมในชุมชนไม่น่าอยู่ โดยเฉพาะปัญหาน้ำเสียน้ำทิ้งที่ขาดการจัดการ ทำให้มีน้ำท่วมขัง ในคลองบริเวณชุมชน คนในชุมชนขาดการรวมตัวกันเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน โดยใช้ข้อมูลในการพัฒนาชุมชนของตัวเอง ส่วนใหญ่เป็นการรับนโยบายการพัฒนาจากหน่วยงานต่าง ๆ มาสู่การปฏิบัติในชุมชน ในด้านการเกษตรกรรม ยังมีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตข้าวอย่างเข้มข้น ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญที่คนบ้านหนองเหล็กกำลังประสบอยู่ เวทีประชาคมของชาวบ้านหนองเหล็กได้ทบทวน และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องที่คนในชุมชน มีความสนใจที่จะนำสถานการณ์ปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนชาวบ้านหนองเหล็ก เรียงตามลำดับความสำคัญของปัญหา ตามรายละเอียดดังนี้ ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ปัญหาขยะในชุมชนบ้านหนองเหล็ก เป็นขยะที่เกิดจากครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนชนิดและปริมาณของขยะในชุมชน มีดังนี้ ขยะแห้ง ได้แก่ แก้วขวด พลาสติก กระดาษ ขยะเปียก ได้แก่ มูลสัตว์ ขี้วัว ขี้ควาย เศษอาหารจากครัวเรือน น้ำเสียน้ำทิ้งที่เกิดจากครัวเรือน ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังในบริเวณ หมู่บ้าน เป็นจุด ๆ เกือบทั่วทั้งชุมชน จากการวิเคราะห์แผนผังต้นไม้ปัญหาจากเวทีประชาคม หมู่บ้านหนองเหล็ก พบว่า ปัญหาขยะในชุมชน มีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมของคน ที่ขาดจิตสำนึกมีความมักง่าย ขาดความรู้ ในการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พบว่ามีปัญหาการทิ้งขยะบริเวณถนนหนทางในชุมชน และทิ้งขยะในบริเวณที่สาธารณะในชุมชน มีการเผาขยะในชุมชน และครัวเรือนปล่อยน้ำเสียน้ำทิ้งที่ไม่มีการจัดการ มีร้านชุมชนจำนวน 6 ร้าน เป็นแหล่งที่มาของการเกิดขยะ และตลาดนัดในบริเวณชุมชน จัดตลาดนัดทุกวันเสาร์อาทิตย์ นอกจากนั้น ยังมีรถพุ่มพวงเข้ามาขายสินค้าในชุมชนอีกด้วย ในด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม พบว่า คนในชุมชนไม่มีความสนใจ ในสถานการณ์ปัญหาด้านขยะในชุมชน ขาดกฎกติกาของชุมชนในการร่วมกันจัดการปัญหาขยะ ดังกล่าว ปัญหาการดื่มเหล้า จากการวิเคราะห์แผนผังต้นไม้ปัญหา พบว่า สถานการณ์การดื่มเหล้าในชุมชนหนองเหล็กนั้นส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน ที่ดื่มกินเหล้า ในชุมชนบ้านหนองเหล็กมีคนกินเหล้า จำนวน 99 คน คนติดเหล้าจำนวน 10 คน สาเหตุที่คนดื่มเหล้ามาจาก ค่านิยมในสังคม วัยรุ่นกินเหล้าด้วยความอยากลองอยากรู้ บางรายมีเรื่องกลุ้มใจแล้ว กินเหล้าเพื่อให้คลายจากความทุกข์ กินเหล้ามีความสุข ในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นปัจจัย สนับสนุนให้คนกินเหล้า ในชุมชนหนองเหล็กเอง ก็จะมีทั้งการกินเหล้าที่เกิดจากคนในครอบครัวกินเหล้าบุคคลใกล้ชิดจึงมีพฤติกรรมเลียนแบบในการกินเหล้าไปด้วย นอกจากนั้นชุมชนหนองเหล็กยังมีการกินเหล้าในเทศกาลสำคัญ ๆ ของชุมชน เช่น เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลปีใหม่ หมู่บ้านจะมีการจัดการแข่งขันกีฬาประเพณี และตอนเย็นจะมีกิจกรรมร่วมกัน และมีการกินเหล้าจนเป็นประเพณีปฏิบัติของชุมชนกลุ่มวัยรุ่นในหมู่บ้าน มีการจับกลุ่มกินเหล้า ในบริเวณหมู่บ้าน และการมีร้านค้าในชุมชนจำนวน 4 ร้าน ซึ่งขายเหล้าสามารถเข้าถึงอย่างสะดวก เพราะร้านค้าเหล่านี้ ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็เป็นปัจจัยหนุนเสริมเช่นกัน ในมิติทางสังคม ชุมชนบ้านหนองเหล็กยังไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือมีความตระหนักร่วมกันนัก ปัญหายาเสพติดในชุมชน สถานการณ์แพร่ขยายของยาเสพติดในชุมชนบ้านหนองเหล็ก เป็นสิ่งที่เวทีประชาคมมีความสนใจและกังวลใจ ถึงแม้ไม่สามารถระบุถึงฐานข้อมูลที่ชัดเจน ว่ามีปริมาณมากน้อยขนาดไหน แต่ด้วยพฤติกรรมของเยาวชนในชุมชน ผู้นำชุมชน จึงได้เจาะจงถึงขอบเขตของปัญหา ว่าหมายถึงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษในกลุ่มเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน ผู้นำในชุมชนจึงให้ความสนใจ ในเรื่องนี้ และร่วมกันวิเคราะห์แผนผังต้นไม้ ปัญหามีสาเหตุดังนี้ ในด้านพฤติกรรมของเด็กเยาวชน การคบกลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ชักชวนไปสู่สิ่งนอกลู่นอกทาง ในมิติสิ่งแวดล้อม พบว่า กลุ่มเด็กเยาวชนมักเป็นกลุ่มที่ครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น พ่อแม่อพยพแรงงานไปทำงานต่างถิ่น มีจุดที่เป็นแหล่งมั่วสุมของเด็กเยาวชน คือบริเวณโต๊ะสนุกเกอร์ในชุมชน ประกอบกับชุมชนแห่งนี้ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่ชายแดน จุดเชื่อมต่อในเขตหลายอำเภอ ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการปัญหาชุมชนโดยชุมชนเอง เมื่อชุมชนทบทวนปัญหาของชุมชนตนเอง อย่างชัดเจน และมีการจัดเก็บข้อมูลชุมชนมาประกอบปัญหาดังกล่าวแล้วจึงได้มีการ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และความเร่งด่วนของปัญหา และนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาโครงการ ขับเคลื่อนงาน โครงการที่ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้การดูและของชุดโครงการ ชุมชนน่าอยู่ที่มีสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) เป็นผู้รับผิดชอบ โดยชุมชนบ้านหนองเหล็ก ได้ดำเนินการ ขับเคลื่อนโครงการโดยการจัดรูปองค์กรชุมชน ที่เรียกว่า สภาผู้นำชุมชน หมายถึง ที่รวมกันของคนในชุมชน ที่มีความปรารถนาร่วมกัน มีเป้าหมายร่วมกันอยากเห็น เริ่มต้นจากการที่พัฒนาชุมชนได้เข้ามาให้ความรู้ถึงลักษณะของโครงการและให้ผู้ใหญ่บ้านได้เรียกชาวบ้านได้ประชุมประชาคมรับฟังลักษณะของโครงการรวมถึงวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาของชุมชนที่ประสบในตอนนี้เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาเพื่อหาทางแก้ไข ชาวบ้านได้มีมติเห็นชอบและพร้อมที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และนำแกนนำชุมชน จำนวน ๓ คนเข้าร่วมศึกษาดูงานที่ บ้านสำโรง ตำบลท่าสว่าง อำเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และได้ให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เป็นระบบในแบบของสภาผู้นำชุมชนซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับชุมชนโดยท่านผู้ใหญ่ได้แนะนำว่าอยากให้มีทุกภาคส่วนที่เป็นกลุ่มกิจกรรมในชุมชนเข้ามาผลักดันระบบของสภา การก่อตัวของสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเหล็กได้มี การขับเคลื่อนงานนับตั้งแต่ แกนนำชุมชน จำนวน ๓ คน เข้าร่วมศึกษาดูงานที่ชุมชนบ้านสำโรง ตำบลท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์ แล้วได้นำแนวคิดชุมชนน่าอยู่ และการบริหารจัดการชุมชน โดยระบบกลไกสภาผู้นำชุมชน มาประยุกต์ใช้ โดยเริ่มการจัดคนทำงานเข้าสู่โครงสร้างสภาผู้นำชุมชน ทั้งหมด จำนวน ๓๙ คน โดยแต่ละคนเริ่มมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ว่า ในสภาผู้นำชุมชน นั้นแต่ละคนทำบทบาทหน้าที่อย่างไร จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่า สมาชิกสภาผู้นำชุมชน เริ่มทำตามบทบาทหน้าที่ได้ชัดเจน ขึ้น ประธานสภาผู้นำชุมชน ได้แสดงบทบาทที่ชัดเจน ในการจัดประชุม นำประชุม และจัดทำระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มีการนำเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมของสภาผู้นำชุมชนด้วย สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเหล็ก มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ช่วยกันทำงาน แบ่งบทบาทหน้าที่เชิงโครงสร้างและภารกิจ โดยสมาชิกสภาทุกคนจะมีบทบาทหน้าที่ตามที่ตนเองถนัดและสมัครใจในภารกิจต่างๆ เช่น ฝ่ายบริหาร เลขานุการ ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก ปฏิคม เก็บและสำรวจข้อมูล ติดตามและประเมินผล ออกแบบการเก็บข้อมูลและประเมินผล สภาฯมีการออกแบบการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งการเก็บข้อมูลเรื่องการลดการใช้สารเคมีในการทำนา การจัดการปัญหาขยะในชุมชน และข้อมูล ๑๑ ประเด็น อย่างชัดเจน ซึ่งมีการนำมาสะท้อนในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และคืนข้อมูลให้สมาชิกชุมชนเพื่อเป็นการร้างความตระหนักร่วมกัน และสร้างกติกาชุมชน ในการลดการใช้สารเคมี ในนาข้าว และการจัดการปัญหาขยะในชุมชน จากการทำงานในระยะ ๒ ปีที่ผ่านมา ชุมชนบ้านหนองเหล็ก ได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนที่สำคัญ ในประเด็นการจัดการขยะในชุมชน พบว่า หมู่บ้านหนองเหล็ก มีการลดการใช้สารเคมีในนาข้าว โดยแกนนำสภาผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการทำนาแบบลดใช้สารเคมีจำนวน 40 คน โดยมีการทำนาปลอดสารเคมีครัวเรือนละ 1-3ไร่ สนับสนุนให้เกษตรกรชาวบ้านหนองเหล็กมีความรู้ความตระหนักในปัญหาการใช้สารเคมีในนาข้าวโดยปี 2560 ใช้ปุ๋ยเคมี 2197 กระสอบคิดเป็นเงิน 1,757,600 บาท และในปี 2561 ใช้ปุ๋ยเคมี 1895 กระสอบ คิดเป็นเงิน 1,324,000 บาท โดยใช้ปุ๋ยเคมีลดลง 305 กระสอบ ลดรายจ่ายได้ทั้งสิ้น 433,200 บาท ผลักดันให้เกิดกติกาชุมชนในกาลดใช้สารเคมี มีรายละเอียด ดังนี้ ๑.สภาผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการลดการใช้สารเคมีอย่างน้อยครัวเรือนละ ๒ ไร่ ๒.สภาผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการปลูกผักกินเองอย่างน้อย ๑๐ ชนิด ๓.ครัวเรือนลดใช้สารเคมีในนาข้าวไว้กินเอง ลดลงอย่างน้อย ร้อยละ ๕๐ (๔) ครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัวกินเองอย่างน้อย ๑๐ ชนิด นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกลุ่มทำนาปลอดสารพิษมีสมาชิกจำนวน 85 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำนาลดการใช้สารเคมี ๒๐๙ ไร่ โดยมีแผนการทำงานของกลุ่มตามรายละเอียดดังนี้ การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยคอก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมู่บ้าน รวม 1,599 กระสอบ การส่งเสริมการปลูกพืชสด เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วเขียว เป็นต้น การไถกลบตอซังข้าว การส่งเสริมการทำนาแปลงต้นแบบ เพื่อเรียนรู้จากแปลง ต้นแบบนำไปปรับใช้ในแปลงสมาชิก การขับเคลื่อนกิจกรรมนาแปลงใหญ่ ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภออุทุมพรพิสัย การส่งเสริมการทำนาอินทรีย์ ในด้านการจัดการปัญหาขยะในชุมชน มีผลลัพธ์ที่สำคัญ ดังนี้ สภาผู้นำเป็นตัวอย่างเป็นต้นแบบในการคัดแยกขยะได้จำนวน 40 คน ชุมชนและครัวเรือนมีความรู้ความตระหนักในปัญหาขยะในชุมชนโดยมีสมาชิกในชุมชนมีครัวเรือนที่คัดแยกขยะจำนวน 110 ครัวเรือน คงเหลือครัวเรือนที่ยังไม่คัดแยกจำนวน 45 ่ครัวเรือน ข้อมูลขยะ มีครัวเรือนทั้งขยะไม่เป็นที่จำนวน 135 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 63 เผาขยะในชุมชน 135 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 63 ของชุมชนบ้านหนองเหล็ก ส่วนใหญ่เป็นขยะที่มีที่มาจากครัวเรือนในชุมชน เป็นต้นเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดปัญหาขยะ ทั้งนี้สามารถจำแนกชนิดและปริมาณของขยะได้ดังนี้ประเภทขยะแห้ง ซึ่งในแต่ละครัวเรือนได้สร้างขยะแห้ง จำแนกประเภทของขยะมีดังนี้ ขยะอินทรีย์ จำนวน 1,570 กก./เดือน คงเหลือ ๘๐๐ กก/เดือน ขยะรีไซเคิล จำนวน 2,999 กก./เดือน คงเหลือ 100 กก./เดือน ขยะอันตราย จำนวน 0 กก/เดือน ขยะทั่วไป จำนวน 980 กก./เดือน คงเหลือ 50 กก./เดือน ในส่วน การสร้างกติกาชุมชน ซึ่งชุมชนได้คืนข้อมูล เพื่อให้เกิดการสร้างกติกาชุมชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ กติกาชุมชน ด้านขยะและการจัดการสิ่งแวดล้อม ๑.ครัวเรือนร่วมกันคัดแยกขยะและดูแลความสะอาดบริเวณบ้านเรือน ๒.ห้ามเผาขยะที่มีกลิ่นเหม็นภายในหมู่บ้าน สถานที่ที่มีเด็กและคนชราอาศัยอยู่ ๓.ห้ามเผาถ่านในบริเวณหมู่บ้าน ๔.ร้านค้าทุกร้านร่วมจัดการคัดแยกขยะ ๕.การนำสินค้ามาจำหน่ายในชุมชนต้องมีการคัดแยกขยะ และจัดการขยะ ๖.ครัวเรือนไม่มีลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ๗.ครัวเรือนใช้ถุงผ้าหรือตะกร้า แทนการใช้พลาสติก ๘.สภาผู้นำชุมชน ต้องเป็นแบบอย่างในการคัดแยกขยะ กิจกรรมสำคัญและเงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จ จากการดำเนินงานจนเกิดผลลัพธ์อยู่ในระดับดี สรุปได้ว่ากิจกรรมสำคัญที่ทำให้ชุมชนสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกลไกการทำงานและเชิงประเด็นมี ดังนี้ 1.การประชุมสภาผู้นำชุมชน บ้านเมืองน้อย ชี้แจงรายละเอียดโครงการและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานคืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในแต่ละด้านให้ชุมชนได้รับรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักและเข้าร่วมการดำเนินงาน พร้อมทั้งรับสมัครสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมการดำเนินงาน เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกกลุ่ม ทุกคุ้ม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 2.การอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีฝึกปฏิบัติการนำขยะเปียกไปทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นเกิดการเรียนรู้และแรงจูงใจให้ครัวเรือนในชุมชนร่วมกันจัดการขยะในครัวเรือนและขยะในชุมชน 3.การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในชุมชน โดยสภาผู้นำชุมชน กำหนดให้แต่ละครัวเรือนระดม มูลวัวมูลควาย มาสมทบในการทำปุ๋ยหมัก และแบ่งกันนำไปใช้ พบว่า เป็นที่สนใจของสมาชิกในกลุ่มอย่างดี และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี ตลอดจนการปรับปรุงบำรุงดิน ด้วยการ ปลูกปุ๋ยพืชสด ทำให้เกิดกองทุนปุ๋ยพืชสดหมุนเวียนกัน แบ่งปันกันในชุมชน 4. การประชุมประชาคมกำหนดกติกาชุมชน 2 กติกา ได้แก่ กติกาชุมชนในภาพรวมที่มุ่งให้สมาชิกในชุมชนถือปฏิบัติร่วมกัน กติกาชุมชนการคัดแยกขยะ กติกาการของกลุ่มของกลุ่มลดการใช้สารเคมีในการทำนาข้าว คนในชุมชนทุกครัวเรือนและทุกกลุ่มมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและร่วมพิจารณาลงมติในการยอมรับและปฏิบัติตามกติกาชุมชนในทุกขั้นตอน 5. สภาผู้นำชุมชนร่วมกันติดตามประเมินผลในทุกประเด็นปัญหา และนำข้อมูลผลลัพธ์ บทเรียนที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นและเป็นการสนับสนุนให้กำลังใจในการลงมือปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง 6.การใช้แผนชุมชนพึ่งตนเองเป็นประเด็นในการขับเคลื่อนงาน โดยเฉพาะสภาผู้นำชุมชนได้ดำเนินการกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เช่น การจัดการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชนเดือนละ ๑ ครั้ง หรือการพัฒนาตามกิจกรรมสำคัญของชุมชน โดยใช้วัด ชุมชน และโรงเรียนหนองเหล็ก เป็นฐาน ขับเคลื่อนงาน ทุกองค์กรในชุมชนต่างเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ พัฒนาการและกลไกการดำเนินงาน สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเหล็ก มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ช่วยกันทำงาน แบ่งบทบาทหน้าที่เชิงโครงสร้างและภารกิจ โดยสมาชิกสภาทุกคนจะมีบทบาทหน้าที่ตามที่ตนเองถนัดและสมัครใจในภารกิจต่างๆ เช่น ฝ่ายบริหาร เลขานุการ ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก ปฏิคม เก็บและสำรวจข้อมูล ติดตามและประเมินผล ออกแบบการเก็บข้อมูลและประเมินผล สภาฯมีการออกแบบการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งการเก็บข้อมูลเรื่องการลดการใช้สารเคมีในการทำนา อย่างชัดเจน ซึ่งได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลแล้ว จำนวน ๒ ครั้งที่ ครั้งที่ ๑ เป็นข้อมูลก่อนเริ่มทำนา และครั้งที่ ๒ ข้อมูลหลังจากการทำนาแล้ว การเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งของมูลทั้ง ๒ ชุดนี้ จะมีการนำมาสะท้อนในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และคืนข้อมูลให้สมาชิกชุมชนเพื่อเป็นการร้างความตระหนักร่วมกัน และสร้างกติกาชุมชน ในการลดการใช้สารเคมี ในนาข้าวต่อไป พบปะหารือ ประชุม สม่ำเสมอทุกเดือน จากการติดตามแบบบันทึกกิจกรรมของสภาฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่ากึ่งหนึ่งทุกครั้ง ซึ่งในการพบปะประชุมกันนั้น บ้านหนองเหล็ก ดำเนินการจัดประชุม จำนวน ๑๒ ครั้ง ซึ่งสมาชิกเข้าร่วมเฉลี่ย ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป ในด้านจุดแข็งของสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเหล็ก คือการร่วมมือร่วมแรงกันทำผ่าน มีความสามัคคีกัน และดำเนินกิจกรรมอย่างเกื้อกูลกันเป็นอย่างดี การดำเนินการประชุมของสภาผู้นำชุมชน มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเกิดการส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน สภาผู้นำชุมชนสามารถบูรณาการ การทำงานร่วมกับภาคีการพัฒนาได้อย่างดี และได้รับความร่วมมือ เช่น จากโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออุทุมพรพิสัย โอกาสความยั่งยืน ชุมชนบ้านหนองเหล็ก มีจุดเด่นในการขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบกลไกสภาผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคนทุกกลุ่ม ทุกคุ้มในชุมชน และมีคนทำงานจำนวนมากที่สนับสนุนการทำงานของชุมชน เพราะเกิดจากการรวมตัวกัน ทำงานของคนใน ๓ หมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกัน พัฒนาโดยใช้แผนชุมชนพึ่งตนเองในการขับเคลื่อนงาน ให้มีความต่อเนื่อง และอาศัยการเชื่อมโยงพลังของภาคีเครือข่ายเข้ามาหนุนงานชุมชน เช่นสำนักงานเกษตรอำเภออุทุมพรพิสัย มาร่วมสนับสนุนต่อยอดกิจกรรมการทำนาแปลงใหญ่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออุทุมพรพิสัย สนับสนุนกิจกรรมการสร้างสัมมาชีพชุมชน และด้วยพื้นฐานการร่วมมือกันทำของคนในชุมชน จึงเป็นพลังที่สำคัญที่ทำให้ชุมชนร่วมเรียนรู้ และแก้ไขปัญหาของชุมชนเองอย่างเป็นระบบ ได้

Latitude : 15.031164901195 Longitude : 15.031164901196


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :