แหล่งเรียนรู้ : ขยะและสิ่งแวดล้อม

บ้านหนองเชียงทูนใต้

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายแสง สีตะวัน

ที่อยู่ : บ้านหนองเชียงทูนใต้ ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

บ้านหนองชียงทูนใต้ หมู่ที่ 15 เป็นชุมชนขนาดกลาง จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2560 พบว่าบ้านหนองเชียงทูนใต้ มีครัวเรือนจำนวน 104 ครัวเรือน ประชากรที่อาศัยอยู่จริง จำนวน 341 คน จำแนกเป็นเพศชาย 169 คน หญิง 172 คน แยกการปกครองมาจากบ้านหนองเชียงทูน ม.5 เมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม 2540 โดยคณะผู้นำหมู่บ้านขณะนั้นได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านหนองเชียงทูนใต้” คนในหมู่บ้านใช้ภาษาลาวเป็นภาษาถิ่น ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกอำเภอปรางค์กู่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอปรางค์กู่ เป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ จรด บ้านหนองคูขาม ตำบลหนองเชียทูน ทิศใต้ จรด บ้านทุ่งม่อง ตำบลสมอ ทิศตะวันตก จรด บ้านหนองระนาม, บ้านหนองแต้, บ้านศาลา ตำบลหนองเชียงทูน ทิศตะวันออก จรด บ้านหนองแวง ตำบลหนองเชียงทูน สภาพปัญหาของโดยทั่วไปของบ้านหนองเชียงทูนใต้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนด้วยสามเหลี่ยมความไม่น่าอยู่ พบว่า ในด้านพฤติกรรมของคนในชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ เป็นประเด็นที่เป็นความไม่น่าอยู่ของชุมชนและอีกหลายๆ ชุมชน คือ คนในชุมชนขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน คนทำก็ทำอยู่เพียงกลุ่มเดียวคนเดิมๆ ชุมชนขาดพลังขับเคลื่อนการพัฒนาความไม่สมัครสมานสามัคคีแผ่ขยายครอบคลุมพฤติกรรมของผู้คนในชุมชน คนทำงานเริ่มขาดแรงใจแล้วใครจะเป็นคนแก้ปัญหาของชุมชนถ้าไม่ใช่คนในชุมชนเอง ซ้ำยังขาดการมีสำนึกรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อชุมชนจากการเผาถ่านในที่ชุมชน โดยปัญหาความไม่น่าอยู่จากเวทีประชาคม 5 ด้านประกอบด้วย ปัญหาขยะ ปัญหาขยะในชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ จากการวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาพบว่า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน ในด้านสุขภาพ รอบปีที่ผ่านมา จากข้อมูลด้านสาธารณะสุข ปี 59 รพ.สต.หนองเชียทูน พบว่า เกิดอุบัติเหตุจากการเหยียบเศษแก้วหรือวัสดุอันตราย 15 คน คนป่วยเป็นโรคภูมิแพ้จากมลภาวะทางอากาศ 22 คน มีคนป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย ในด้านเศรษฐกิจ ชุมชนสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้ที่เกิดจากการคัดแยกและจำหน่ายขยะ 6,278 บาท/เดือน ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายในการไปรักษาพยาบาลสูญเสียเวลาในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ ผู้นำชุมชนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมการพัฒนาเพื่อทำความสะอาดในชุมชน และทั้งมีการเสียเงินงบประมาณในการจัดการน้ำเสียในชุมชนเป็นประจำทุกปี ในด้านผลกระทบต่อสังคม ทำให้หมู่บ้านสกปรก ไม่สะอาดไม่น่าอยู่อาศัย เป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ผลด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าว จึงเกิดมลภาวะทางอากาศเนื่องจากการเผาขยะในชุมชน และเกิดพื้นที่เพาะพันธุ์เชื้อโรคชนิดต่างๆ ปัญหาสุขภาพปัญหาสุภาพในชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ จากข้อมูลด้านสาธารณสุข พบว่า ผลกระทบด้านสุขภาพของคนในชุมชน มีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 19 คน โรคความดันโลหิตสูง 27 คน โรคหัวใจ 3 คนโรคอ้วน 1 คน ผู้พิการ 22 คน ผู้สูงอายุ 81 คน ตับอักเสบ 2 คน จิตเวช 1 คน โรคหอบ 1 คน เลือดจาง 1 คน โรคภูมิแพ้ 22 คน ในด้านเศรษฐกิจ จากปัญหาสุขภาพดังกล่าว ทำให้คนในชุมชนต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวนมาก และยังสูญเสียรายได้จากการประกอบอาชีพอีกด้วย ในด้านสังคม เมื่อมีคนป่วยมาก ทำให้ชุมชนขาดบุคลากรในการร่วมพัฒนาหมู่บ้าน ขาดแนวร่วมช่วยคิดช่วยทำ เป็นต้น นอกจากการเป็นโรค ดังกล่าวแล้ว ยังพบว่า ชุมชนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการดำเนินชีวิตที่เป็นสาเหตุแห่งการเกิดโรคภัย เช่น สูบบุหรี่ทุกวัน จำนวน 8 คน สูบบุหรี่เป็นครั้งคราวไม่ต่อเนื่อง จำนวน 37 คน ใน 31 ครัวเรือน และ การรับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ และปัญหาอื่นอีกมากที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน ปัญหาสุรา ปัญหาสุราเป็นประเด็นปัญหาที่อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆ ผลกระทบของการดื่มสุราของคนในชุมชน พบว่า ในด้านเศรษฐกิจ เป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้เจ้าภาพเพิ่มขึ้นสำหรับงานบุญ เป็นภาระของครอบครัวเสียเวลาเสียงาน รายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น ในด้านสังคม ทำให้ ขาดสติในการขับขี่รถ เกิดอุบัติเหตุทั้งตนเองและผู้อื่น สร้างค่านิยมผิดให้เยาวชนรุ่นใหม่ เกิดการทะเลาะวิวาท ทั้งในครอบครัวและผู้อื่น และส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงทางโรคต่างๆ สุขภาพร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานไม่ได้เต็มที เป็นต้น ปัญหาการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย ปัญหาการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัยของชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ จากการวิเคราะห์แผนผังต้นไม้ปัญหาจากเวทีประชาคม หมู่บ้านหนองเชียงทูนใต้ ถึงผลกระทบของการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย พบว่า ด้านเศรษฐกิจ ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย เสียเวลาในการประกอบอาชีพ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการซื้ออาหารถุงมาบริโภค ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า การใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหารทำให้ดิน น้ำ เสื่อมคุณภาพ มีสารพิษตกค้าง มีขยะเพิ่มจากการซื้ออาหารถุง ด้านสังคมและสุขภาพ ทำให้ชุมชนเป็นชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ร่างกายอ่อนแอ เป็นชุมชนที่มีแต่ผู้ป่วยขาดแคลนกำลังคนในการพัฒนาหมู่บ้าน ปัญหาการพนัน ปัญหาการพนันของคนบ้านหนองเชียงทูนใต้ จากการวิเคราะห์แผนผังต้นไม้ปัญหาจากเวทีประชาคม หมู่บ้านหนองเชียงทูนใต้ พบว่า ส่งผลกระทบต่อชุมชนหลายด้าน ดังนี้ ในด้านเศรษฐกิจ คนในชุมชนมีรายจ่ายไม่สมดุลกับรายรับ มีหนี้สินในครัวเรือนเพิ่มขึ้น จาก ค่าหวย ค่าไฮโล ค่าโบก ค่าไพ่ ค่ามวย สูญเสียเวลาในการประกอบอาชีพ ขาดบุคลากรในการพัฒนาหมู่บ้าน ขาดรายได้อันพึงได้จากสัมมาชีพ ในด้านสังคม สร้างความเสื่อมเสียให้กับหมู่บ้าน เกิดการลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ก่อให้เกิดแหล่งมั่วสุมทางอบายมุขเสี่ยงต่อประเด็นปัญหายาเสพติดตามมา ครอบครัวทะเลาะกัน ปลูกฝังค่านิยมผิดให้ลูกหลานในหมู่บ้าน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนหนึ่งก่อให้เกิดเสียงดังรบกวน หมู่บ้านไม่ปลอดอบายมุข และกระทบต่อสุขภาพ คือ สุขภาพจิตเสียเนื่องจากการเสียพนัน เครียด ไม่มีเวลาพักผ่อน โรคกระเพาะเนื่องจากรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา และเกิดโรคต่างๆ ตามมา ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการปัญหาชุมชนโดยชุมชนเอง เมื่อชุมชนทบทวนปัญหาของชุมชนตนเอง อย่างชัดเจน และมีการจัดเก็บข้อมูลชุมชนมาประกอบปัญหาดังกล่าวแล้วจึงได้มีการ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และความเร่งด่วนของปัญหา และนำเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาโครงการ ขับเคลื่อนงาน โครงการที่ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้การดูและของชุดโครงการ ชุมชนน่าอยู่ที่มีสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) เป็นผู้รับผิดชอบ โดยชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ ได้ดำเนินการ ขับเคลื่อนโครงการโดยการจัดรูปองค์กรชุมชน ที่เรียกว่า สภาผู้นำชุมชน หมายถึง ที่รวมกันของคนในชุมชน ที่มีความปรารถนาร่วมกัน มีเป้าหมายร่วมกันอยากเห็น ชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ เป็นชุมชนที่ขับเคลื่อนไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีการก่อตัวสภาผู้นำชุมชนชาวบ้านหนองเชียงทูนใต้ ที่เป็นคนเก่งคนดี คนมีจิตอาสา จำนวน ๓๐ คน มาจกองค์ประกอบในชุมชนที่มีความหลากหลาย นับตั้งแต่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนกลุ่มสตรี อสม. คณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) ตัวแทนร้านค้าชุมชน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน เด็กเยาวชน ข้าราชการบำนาญ เป็นต้น ซึ่งสภาผู้นำชุมชนนั่นเอง เป็นกลไกหลักของหมู่บ้านที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานชุมชนทั้งระบบ โดยยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย และใช้แผนชุมชนพึ่งตนเอง เป็นเครื่องมือในการทำงาน ทั้งนี้ ในระยะ ๒ ปีที่ผ่านมาชุมชนหนองเชียงทูนใต้ ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงประเด็น ไปแล้ว ๒ ประเด็น คือ การจัดการปัญหาขยะในชุมชน และการจัดการปัญหาการใช้สารเคมีในชุมชน และการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยอาศัยกติกาชุมชน ในการหนุนเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมของคนในชุมชน จากการทำงานในระยะ ๒ ปีที่ผ่านมา ชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ ได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนที่สำคัญ ในประเด็นการจัดการขยะในชุมชน พบว่า ฐานข้อมูลขยะในชุมชน ในปีนี้พบว่ามีรายละเอียด ดังนี้ ครัวเรือนการคัดแยกขยะไม่ถูกต้อง จำนวน 4 ครัวเรือน ครัวเรือนที่จัดการ คัดแยกขยะจำนวน 100 ครัวเรือน แยกเป็นประเภท ขยะรีไซเคิล จำนวน 1,521 กิโลกรัม/เดือน คงเหลือ 1,23๐ กิโลกรัม ขยะทั่วไป จำนวน 765 กิโลกรัม/เดือน คงเหลือ 565 กิโลกรัม ขยะเปียก จำนวน1,100 กิโลกรัม/เดือน คงเหลือ 1,000 กิโลกรัม รวมขยะทั้งหมดในชุมชน 3,386 กิโลกรัม/เดือน จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ข้อมูลปริมาณขยะในชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ มีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ ก็รับทราบและหามาตรการ ในการจัดการร่วมกันด้วย และในด้านการคัดแยกขยะ พบว่า ครัวเรือนคัดแยกขยะ จำนวน ๑๐๐ ครัวเรือน ครัวเรือนคัดแยกขยะไม่ถูกต้องจำนวน ๔ ครัวเรือน ดังนั้นสภาผู้นำชุมชน จึงได้ รณรงค์ให้มีการ ใช้กติกาชุมชนเพิ่มขึ้น กติกาชุมชน และผ่านการประชาพิจารณ์ ในเวทีชุมชน เป็นความต่อเนื่องในการจัดระบบชุมชน และติดตามผลการทำงานในด้าน การจัดการขยะ และการลดการใช้สารเคมีในครัวเรือน โดยมีรายละเอียดดังนี้ (๑)ครัวเรือนร่วมกันคัดแยกขยะ (2)ครัวเรือนร่วมกันลดปริมาณขยะในชุมชน (๓)ครัวเรือนไม่ทิ้งขยะ ในที่สาธารณะ (๔)ให้มีการเก็บเงินค่ารถขนดิน เพื่อนำมาบำรุง เป็นกองทุนชุมชน (๕)ให้มีการเก็บเงินค่ารถเกี่ยวข้าวที่ผ่านมา ทำความเสียหายให้ชุมชน (๖) ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน ครัวเรือน คุ้มบ้าน ทุกวันศุกร์ (๗)ครัวเรือนในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิดโดยไม่ใช้สารเคมี (๘)ครัวเรือนร่วมกันปลูกข้าวปลอดสารเคมี (๙) สภาผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการปลูกข้าวปลอดสารเคมี (๑๐) สมาชิกต้องให้ความร่วมมือในการปลูกข้าวปลอดสารเคมีและกิจกรรมของกลุ่ม (๑๑)เกษตรกรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทำนาปลอดสารพิษครัวเรือนละ 1 ถึง 3 ไร่ ผลของการนำกติกาชุมชนมาขับเคลื่อนพัฒนาหมู่บ้าน ทำให้เกิดผลลัพธ์ในด้าน การจัดการขยะครัวเรือนมีความสนใจคัดแยกขยะ สภาพแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น ในประดก็นการขับเคลื่อนการทำนาลดการใช้สารเคมี มีข้อมูลใช้สารเคมีนาข้าว ทำนาทั้งหมด จำนวน 1169 ไร่นาอินทรีย์จำนวน 156 ไร่ นาปลอดสารเคมี จำนวน 386 ไร่ นาใช้สารเคมีจำนวน 627 ไร่ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 383 กระสอบ/ปี คิดเป็นเงิน 5,7450 บาท/ปี ใช้ปุ๋ยเคมีจำนวน 683 กระสอบ/ปี คิดเป็นเงิน 409,800 บาท/ปี รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย จำนวน 467,250 บาท/ปี จากการขับเคลื่อนการทำงาน พบว่า การเกิดความรู้ความตระหนัก ในการลดการใช้สารเคมีในชุมชน สภาผู้นำชุมชนเป็นตัวอย่าง หรือต้นแบบในเรื่องการลดใช้สารเคมีในนาข้าว และการจัดการขยะในชุมชน จำนวน ๓๐ คน และเกษตรกรในหมู่บ้านหนองเชียงทูนใต้ มีความรู้ความตระหนักในปัญหาการใช้สารเคมีในการทำนาและครัวเรือนที่เข้าร่วมทำนาแบบลดการใช้สารเคมี ในชุมชน มีจำนวน ๕๐ ครัวเรือน จนสามารถผลักดันให้เกิด กติกาชุมชน/เกิดกลุ่มลดการใช้สารเคมี ในการขับเคลื่อนผลลัพธ์การเกิดกติกาชุมชน นั้น พบว่า สภาผู้นำชุมชน ได้ดำเนินการ ขับเคลื่อนโดยนำข้อมูล มาณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนในชุมชน จนเกิดเป็น กติกาชุมชน ในการจัดการปัญหา การใช้สารเคมี ตามรายละเอียด ดังนี้ กติกาชุมชนในการจัดการปัญหาสารเคมี บ้านหนองเชียงทูนใต้ 1) ครัวเรือนในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิดโดยไม่ใช้สารเคมี 2) ครัวเรือนร่วมกันปลูกข้าวปลอดสารเคมี 3 )สภาผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการปลูกข้าวปลอดสารเคมี 4 )สมาชิกต้องให้ความร่วมมือในการปลูกข้าวปลอดสารเคมีและกิจกรรมของกลุ่ม 5)สมาชิกห่อข้าวไปกินเองเมื่อมีกิจกรรมของกลุ่ม6)เกษตรกรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทำนาปลอดสารพิษครัวเรือนละ 1 ถึง 3 ไร่ 7) สมาชิกมาร่วมกิจกรรมอย่างตรงต่อเวลา และกติกาชุมชน ถูกขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ จนสามารถเกิดกลุ่มลดการใช้สารเคมีบ้านหนองเชียงทูนใต้ เกิดการรวมกลุ่มทำนาลดการใช้สารเคมี มีการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแบบลดการใช้สารเคมี จำนวน ๑ กลุ่ม สมาชิก ๕๐ คน และเกิดกิจกรรมการ รวมกลุ่มจัดตั้งกองทุนปุ๋ยพืชสด ส่งเสริมการ ปรับปรุงดิน โดยใช้พืชตระกูลถั่ว เพื่อเตรียมแปลง ที่จะทำนาแบบลดใช้สารเคมี ซึ่งสมาชิกกำหนดแปลงตัวอย่างไว้ ครอบครัวละ ๑-๓ ไร่เพื่อทดลอง การลดการใช้สารเคมี ในเชิงเปรียบเทียบ ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน พบว่า หมู่บ้านหนองเชียงทูนใต้ มีรายจ่ายจากการทำนาลดลง โดยมีรายละเอียดดังนี้ ทำนาทั้งหมด จำนวน 1169 ไร่ นาอินทรีย์ จำนวน 156 ไร่ นาปลอดสารเคมี จำนวน 386 ไร่ นาใช้สารเคมีจำนวน 627 ไร่ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 383 กระสอบ/ปี คิดเป็นเงิน 5,7450 บาท/ปี มีการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เอง ผลิตปุ๋ยได้ทั้งสิ้น ๕๕๕ กระสอบ คิดเป็น ๒๒,๐๐๐ กิโลกรัม ใช้ปุ๋ยเคมี จำนวน 683 กระสอบ/ปี คิดเป็นเงิน 409,800 บาท/ปี เกิดการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลง จำนวน ๑๐๔ กระสอบ คิดเป็นเงิน ๑๐๔,๐๐๐ บาท รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย ในปี ๒๕๖๑ จำนวน 467,250 บาท/ปี ใช้ปุ๋ยลดลง เหลือ ๓๖๓,๒๕๐ บาท กิจกรรมสำคัญและเงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จ จากการดำเนินงานจนเกิดผลลัพธ์อยู่ในระดับดี สรุปได้ว่ากิจกรรมสำคัญที่ทำให้ชุมชนสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกลไกการทำงานและเชิงประเด็นมี ดังนี้ 1.การประชุมประชาคมหมู่บ้าน ชี้แจงรายละเอียดโครงการและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานคืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในแต่ละด้านให้ชุมชนได้รับรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักและเข้าร่วมการดำเนินงาน พร้อมทั้งรับสมัครสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมการดำเนินงาน เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกกลุ่ม ทุกคุ้ม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 2.การอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีฝึกปฏิบัติการนำขยะเปียกไปทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นเกิดการเรียนรู้และแรงจูงใจให้ครัวเรือนในชุมชนร่วมกันจัดการขยะในครัวเรือนและขยะในชุมชน 3. การประชุมประชาคมกำหนดกติกาชุมชน 2 กติกา ได้แก่ กติกาชุมชนในภาพรวมที่มุ่งให้สมาชิกในชุมชนถือปฏิบัติร่วมกัน กติกาชุมชนการคัดแยกขยะ กติกาการลดการใช้สารเคมีในนาข้าว คนในชุมชนทุกครัวเรือนและทุกกลุ่มมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและร่วมพิจารณาลงมติในการยอมรับและปฏิบัติตามกติกาชุมชนในทุกขั้นตอน 4. สภาผู้นำชุมชนร่วมกันติดตามประเมินผลในทุกประเด็นปัญหา และนำข้อมูลผลลัพธ์ บทเรียนที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นและเป็นการสนับสนุนให้กำลังใจในการลงมือปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง 5.การจัดตั้งกลุ่มทำนาลดสารเคมีในชุมชน ที่เป็นแกนหลักในการส่งเสริมสนับสนุนการทำนาแบบลดการใช้สารเคมีในชุมชน และจัดทำแผนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดตั้งกองทุนปุ๋ยพืชสด การส่งเสริมการทำนาแบบลดการใช้สารเคมี การส่งเสริมการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ ใช้เอง 6.การจัดตั้งธนาคารขยะ ที่เป้นศูนย์กลางในการรวบรวมขยะ ในชุมชนในครัวเรือนที่มีการคัดแยกเพื่อนำไปส่งสู่ตลาด สร้างระบบการบริหารจัดการ ที่ให้ครัวเรือนมีรายได้จากการจัดการขยะ และขยะในครัวเรือนลดลง 7.การใช้แผนชุมชนพึ่งตนเองเป็นประเด็นในการขับเคลื่อนงาน โดยเฉพาะสภาผู้นำชุมชนได้ดำเนินการกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เช่น การจัดการปรับปรุงภุมิทัศน์ชุมชนเดือนละ ๑ ครั้ง การส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนในระบบคุ้มบ้าน พัฒนาการและกลไกการดำเนินงาน เกิดสภาผู้นำชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ สภามีวิธีการก่อตัวจากการรวมตัวของคนที่ต้องการทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นชุมชนที่น่าอยู่จึงได้รวมตัวกันวิเคราะห์ความไม่น่าอยู่ของชุมชนและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและชักชวนผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน หัวหน้าคุ้มทุกคุ้ม และชาวบ้านที่มีอุดมการณ์เดียวกันโดยใช้มติที่ประชุมรับรองคนที่เข้าร่วมกลุ่มจนมีผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำทางธรรมชาติโดยมาจากหลากหลายกลุ่มที่อยู่ในหมู่บ้านเช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 2 คน ,สมาชิก อบต. 2 คน,ประธาน อสม.และ กรรมการหมู่บ้านอีก 15 คน จาก ประธาน กองทุนหมู่บ้าน1 คน หัวหน้าคุ้ม 5 คนจาก5 คุ้ม กลุ่มอาชีพ 3 กลุ่ม จิตอาสา และเยาวชน 3 คน รวมเริ่มก่อตั้งสภามีจำนวน 30 คน การเกิดโครงสร้างที่ชัดเจนและการทำตามบทบาทหน้าที่ยังทำหน้าที่ของตนเอง แต่ก็สามารถดำเนินงานในเชิงประเด็นได้บรรลุจุดมุ่งหมายสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมขน มีการแบ่งโครงสร้างและบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน ประธานสภา รองประธานสภา เลขาธิการ เหรัญญิก ปฎิคม สารสนเทศ และได้ร่วมมือกับผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองเชียงทูน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเชียงทูน เป็นที่ปรึกษาเรื่องการจัดการขยะบ้านหนองเชียงทูนใต้จนนำมาสู่แผนงานปีที่ 2 การลดการใช้สารเคมีในนาข้าว จุดแข็ง ความสำเร็จที่เกิดตามเป้าหมายและเกินเป้าหมายตามบันไดผลลัพธ์ ก่อการตั้งกลุ่มเป็นสภาผู้นำชุมชน มีโครงสร้างที่ชัดเจนแบ่งงานรับบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนการเสียสละเวลาส่วนตัวของสภาที่ทำประโยชน์ส่วนรวมมากก่อนประโยชน์ส่วนตนของสภาผู้นำทุกท่าน ทีมสภาคือทุกคนมองเป้าหมายเดียวกันจึงช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ สิ่งที่ต้องการพัฒนาคือต้องการสร้างความเข้มแข็งของคนในชุมชนให้ทีมสภาได้ขับเคลื่อนประเด็นต่อไปคือปัญหาขยะในชุมชนโดยคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเด็กโดยทีมสภาจะเข้าไปมีบทบาทในการช่วยให้คนทั้งสองกลุ่มมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและได้รับประโยชน์จากการทำชุมชนให้น่าอยู่ ปราศจากขยะ ทุกคนเกิดภูมิใจในตนเองที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ทำให้ชุมชนตนเองน่าอยู่และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การมีส่วนร่วมของชุมชนชาวบ้านหนองเชียงทูนใต้ได้ตระหนักถึงประโยชน์ในการจัดการขยะในชุมชนการการเชื่อมโยงการรับรู้รับฟังการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน สามารถออกแบบจัดเก็บข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนจากการใช้ข้อมูลทั้งจากการจัดเก็บและการร่วมคิดร่วมทำกับสภาผู้นำบ้านหนองเชียงทูนใต้ แต่สามารถร่วมทำงานเวลามีกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน การขอความร่วมมือในด้านการพัฒนาชุมชน ชุมชนให้มีทักษะ ในด้านการจัดเก็บ ออกแบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความจำเป็น การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ เพื่อสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลง นั้นยังไม่ชัดเจนเท่าใด นัก จากการสรุปบทเรียนการทำงานของ สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ พบว่า แนวทางการพัฒนาในส่วนกลไกสภาผู้นำชุมชน ให้มีสรรถนะในการทำงานเพิ่มขึ้น มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ๑.การพัฒนาศักยภาพของ สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีความมั่นใจ ในตัวเอง โดยมีส่วนขาดที่ต้องพัฒนาได้ ทักษะการสื่อสารสาธารณะ การพูดในที่ประชุม การเขียนบันทึกรายงานต่าง ๆ เป็นต้น ๒.การพัฒนาสมรรถนะสภาผู้นำชุมชน ให้มีทักษะในการการจัดเก็บ การออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล การสะท้อนผลข้อมูล เพื่อให้สามารถมีข้อมูลสนับสนุนในเชิงการเปลี่ยนแปลงได้ ๓.การรักษาแนวทางการทำงาน ให้มีความต่อเนื่อง และพัฒนาศักยภพแกนนำชุมชนรุ่นใหม่ หรือมีการสืบสานการทำงานไปสู่กลุ่มเยาวชน ในหมู่บ้าน 1.2โปรดอธิบายถึงการเก็บ การใช้ข้อมูล และการประเมินผลลัพธ์การดำเนินงาน (ARE) ในการแก้ไข โอกาสความยั่งยืน ชุมชนบ้านหนองหนองเชียงทูนใต้ มีจุดเด่นในการขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบกลไกสภาผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคนทุกกลุ่ม ทุกคุ้มในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกัน พัฒนาโดยใช้แผนชุมชนพึ่งตนเองในการขับเคลื่อนงาน ให้มีความต่อเนื่อง และอาศัยการเชื่อมโยงพลังของภาคีเครือข่ายเข้ามาหนุนงานชุมชน อย่างต่อเนื่อง เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่ สนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน สำนักงานเกษตรอำเภอสนับสนุน กองทุนเมล็ดพันธ์ปุ๋ยพืชสดชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สนับสนุนการวิจัยการสร้างรายได้จากการเลี้ยงโค ในมิติขับเคลื่อนแผนชุมชนพึ่งตนเอง โดยมิติทางเศรษฐกิจ สภาผู้นำชุมชน มีแนวทางการขับเคลื่อนต่อยอดการผลิตข้าวแบบลดการใช้สารเคมีสู่กระบวนการผลิต ที่มีมาตรฐานมากขึ้น โดยการเชื่อมโยงบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนต่อไป และในมิติด้าน สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กลไกสภาผู้นำชุมชน จะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงาน และมุ่งสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ ต่อไป

Latitude : 14.887544357509 Longitude : 14.88754435751

Kuysanya@gmail.com


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :