แหล่งเรียนรู้ : สุขภาพจิต

ระบบการเข้าถึงส่งต่อดูแลฟื้นฟูสุขภาพจิตคนไร้บ้านเพื่อนำสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายณัฐวุฒิ กรมภักดี

ที่อยู่ : เลขที่ 162/210 ซอยเหล่านาดี 12 ถนนเหล่านาดี

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

การทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านในจังหวัดขอนแก่น มีพัฒนาการมาตามลำดับ โดยเริ่มมีการสำรวจประชากรคนไร้บ้านเมื่อปี พ.ศ.2558 และในปีเดียวกันนี้ มีการพัฒนากลไกหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับคนไร้บ้าน จนเกิด “คณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน” ขึ้น ซึ่งคณะทำงานชุดนี้มีการประชุมหารือและประสานการทำงานกันอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ และในช่วงปี พ.ศ.2559-2561 มีโครงการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านแบบบูรณาการ จ.ขอนแก่น ขึ้น ผลจากการดำเนินโครงการได้ทำให้กลไกการทำงานที่มีความเข้มแข็งมากขึ้น และสามารถเข้าถึงคนไร้บ้านได้ ทำให้สามารถจัดตั้งแกนนำในจุดต่างๆในพื้นที่สาธารณะ เพื่อประสานงาน ทำให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือให้คนไร้บ้านให้เข้าถึงสิทธิสวัสดิการ การมีบัตรประชาชน และการมีงานทำ และในช่วงปี พ.ศ.2562-2564 ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถกลไกระดับจังหวัดและเครือข่ายคนไร้บ้านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน จ.ขอนแก่น ผลการดำเนินงานพบว่า คณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน จ.ขอนแก่น มีความเข้มแข็ง มีการทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนงานและกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน เกิดศูนย์พักคนไร้บ้านที่บริหารจัดการโดยเครือข่ายคนไร้บ้าน หรือ “บ้านโฮมแสนสุข” ซึ่งเป็นสถานที่พักสำหรับคนไร้บ้านและใช้เป็นสถานที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านในด้านต่างๆ เช่น การเสริมสร้างทักษะอาชีพ การศึกษา การฟื้นฟูสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นต้น ศูนย์พักแห่งนี้ปัจจุบันมีคนไร้บ้านอาศัยอยู่จำนวนระหว่าง 15-20 คน ต่อเดือน นอกจากนี้แล้ว ผลจากการดำเนินโครงการได้เกิดเครือข่ายคนไร้บ้าน โดยมีกิจกรรมการประชุมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีการออมทรัพย์ มีการทำธุรกิจเพื่อสังคมในชื่อแบรนด์ OKAS ขอนแก่น เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารสำหรับการจ้างงานให้กับคนไร้บ้าน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการคิดและดำเนินการเพื่อการพึ่งตนเองของเครือข่ายในระยาว และในปีที่ผ่านมา พ.ศ.2564-2565 ได้เกิดโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายคนไร้บ้านและพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์พักคนไร้บ้านเพื่อการจัดการตนเองจังหวัดขอนแก่น เกิดผลจากการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การฟื้นฟูศักยภาพคนไร้บ้านโดยการมีส่วนร่วมของคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาคนไร้บ้านจังหวัดขอนแก่น ที่มีองค์ประกอบทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และแกนนำคนไร้บ้าน 2) การฟื้นฟูศักยภาพคนไร้บ้านทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้คนไร้บ้านได้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงลึกระยะยาวและมีผลเชิงรูปธรรม กล่าวคือ มีรายได้เพิ่มขึ้น มีความมั่นคงในชีวิต เช่น มีงานทำที่มั่นคง มีที่พักอาศัยที่มั่นคง 3) การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์พักคนไร้บ้าน หรือ บ้านโฮมแสนสุข โดยเครือข่ายคนไร้บ้าน จ.ขอนแก่น ทำให้เกิดการรวมตัวกันชองคนไร้บ้านที่เข้มแข็งมากขึ้น เกิดแกนนำที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ที่มีการยกระดับศักยภาพในการทำงานขับเคลื่อนเครือข่ายคนไร้บ้านขอนแก่นอย่างต่อเนื่อง อาทิ การบริหารจัดการค่าน้ำค่าไฟ ความเรียบร้อยภายในศูนย์พัก การแนะนำส่งต่อเพื่อนคนไร้บ้านรายใหม่ให้เข้าถึงอาชีพและการมีงานทำ การลงพื้นที่พบปะและสร้างเครือข่ายเพื่อนคนไร้บ้านที่ยังใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ 4) ศูนย์พักคนไร้บ้าน สามารถจัดโครงสร้างการบริหารจัดการและจดทะเบียนยกระดับเป็น “องค์กรสาธารณะประโยชน์” ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 จึงทำให้สามารถขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวง พม.รายปี เพื่อการพัฒนาระบบการดูแลสวัสดิการคนไร้บ้านได้ในอนาคต และบริหารจัดการศูนย์โดยแกนนำคนไร้บ้านและชุมชนใกล้ศูนย์พักมีส่วนร่วมหลัก 5) เกิดรูปแบบการสร้างอาชีพคนไร้บ้านและกลุ่มเสี่ยงไร้บ้านผ่านแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งเป็นจุดเชื่อมประสานช่วยให้คนไร้บ้านเข้าถึงแหล่งงานมากขึ้น เสริมสร้างรายได้ให้กับคนไร้บ้านและรายได้ส่วนหนึ่งนำมาจัดการเป็นค่าใช้จ่ายของศูนย์พักคนไร้บ้าน 6) เกิดกิจกรรมพัฒนาพื้นที่ศูนย์พักคนไร้บ้านเพื่อนำสู่การพึ่งตนเองในอนาคตของ เครือข่ายคนไร้บ้าน จ.ขอนแก่น อาทิ การพัฒนาระบบน้ำในการเกษตรในระบบธรรมชาติ โดยความร่วมมือกับ DEPA, พัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้าหน้าศูนย์พัก ร่วมกับ ชุมชนรอบข้างศูนย์พัก (เหล่านาดี12), การส่งเสริมความรู้การเลี้ยงไข่ไก่และการผลิตอาหารสัตว์ธรรมชาติเพื่อลดต้นทุนการผลิต การเลี้ยงปลากระกระชัง โดยความร่วมมือกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7) การพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงไร้บ้านในชุมชนเปราะบางโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดอาสาสมัครชุมชนเปราะบาง จำนวน 30 คน ใน 3 ชุมชนเป้าหมาย ที่มีกระบวนการวิเคราะห์ประเมิน “ความเปราะบางเสี่ยงไร้บ้าน” จากฐานการศึกษาและสร้างความรู้โดยชุมชนเอง เพื่อนำสู่การออกแบบกระบวนการป้องกันกลุ่มเสี่ยงไร้บ้านในชุมชน นำสู่การขับเคลื่อนทำให้เกิดข้อเสนอ “ระบบการคุ้มครองดูแลป้องกันกลุ่มเสี่ยงไร้บ้านในระดับชุมชน” ที่เกิดจากการศึกษาและยื่นข้อเสนอโดยชุมชน ต่อกลไกหน่วยงานในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 หน่วยงาน

Latitude : 16.404926217751 Longitude : 102.81971383623

kkhomeless@gmail.com

0810472466

Line ID : 0810472466


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :