แหล่งเรียนรู้ : อาหารปลอดภัย

ไร่ธารธรรม ศูนย์เรียนรู้การเกษตร จังหวัดเลย

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : ธนกัญพัชร ทิ้งโคตร

ที่อยู่ : ไร่ธารธรรม ศูนย์เรียนรู้การเกษตร จังหวัดเลย ปากหมาก ตำบล ศรีสองรัก อำเภอเมืองเลย เลย 42100

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

การท่องเที่ยวอย่างเคารพธรรมชาติ Mindful Travelling โดยเส้นทางท่องเที่ยวของไร่ธารธรรม เราเชื่อว่าธรรมชาติและธรรมะเป็นสายธารแห่งการเรียนรู้และการแบ่งปันที่ดีผ่านกิจกรรมและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในเส้นทางการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งส่งต่อความยั่งยืนให้กับนักเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยว ที่พักสถานที่ในชุมชนรอบข้าง ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และ ด้านสังคม 3.กลุ่มเป้าหมาย 1. ผู้ปกครอง ที่มีลูก ที่มีความสนใจให้ลูกใกล้ชิดธรรมชาติ เข้าใจธรรมะ ธรรมชาติ มีความสงบ ที่อยากมี กิจกรรมให้ลูกในวันหยุด ฝึกสมาธิ 2. ครอบครัว เป็นครอบครัวใหญ่ มีสมาชิก 4-7 คน เช่น ปู่ย่า พ่อแม่ ลูก หลาน สนใจสถานที่ธรรมขาติ ไม่ไกลจากเมืองมีสถานที่รับรอง ให้ผู้ใหญ่พักผ่อน และ มีสถานที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่มาสัมผัสธรรมชาติในเวลาเดียวกัน (User เด็กอายุ7 – 15 ปี) 3.การเดินทาง การรับประทานอาหาร ที่พัก การเดินทางมา ไร่ธารธรรม สามารถเดินทางโดยรถส่วนตัว ซึ่งห่างจากกรุงเทพ 520 กิโลเมตร หรือ เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง หรือ เดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งทางไร่มีรถให้บริการเช่าหรือไปรับ ณ สถานีขนส่งหรือท่าอากาศยานเลย การรับประทานอาหาร ธารธรรม ฟาร์มเมด ซึ่งทางไร่เป็นวิสาหกิจชุมชน ภูสั่นหนาว โดยบุคลากรในชุมชนเป็นผู้นำกิจกรรม ประกอบอาหาร โดยให้นักท่องเที่ยว ได้เป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหาร สามารถลงมือทำอาหารได้เอง ซึ่งมีแต่ละเมนูที่สามารถเลือกสรรได้ตามความเหมาะสม ประสบการณ์ด้านอาหารจากไร่ธารธรรม มีความต่างจากที่อื่น คือ concept “อย่าเยอะ” ในเมนูอาหารของทางไร่จะมีการบอกเรื่องราวของวัตถุดิบ ว่ามีกี่ชนิด และแหล่งเพาะปลูกมาจากในชุมชนใดของจังหวัดเลย และ ได้มีการแจ้ง portion ของอาหารแต่ละจานเพื่อ ให้สั่งแต่ พอดีไม่เยอะจนสร้างขยะให้กับ สถานที่ท่องเที่ยวนั้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงคุณค่าของวัตถุดิบที่คัดสรรค์จากชุมชนผ่านการสื่อสาร บุคคลากรของไร่ ซึ่งเกิดจากการจ้างงานในชุมชน นอกจากนี้ขยะเปียกที่เหลือจากการบริโภคของนักท่องเที่ยว ได้แปรเปลี่ยน เป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ สำหรับ ลดต้นทุนเครือข่ายเกษตรกร ในการปลูกผักส่งธารธรรม ฟาร์มเมด และนักท่องเที่ยวได้ทานผักที่ปลอดสารเคมี อีกทั้งบรรจุภัณฑ์ อาทิ แก้วน้ำสามารถย่อยสลายได้ 100% และยังแปรสภาพเพิ่มมูลค่าเพิ่มเป็นภาชนะในการทำ กิจกรรมของทางไร่ ทั้งเป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นการขอบคุณที่ตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่าง รับผิดชอบ , ขวดน้ำทางไร่ได้ปราศจากการห่อฉลากพลาสติก โดยนำขวดมาแปรเปลี่ยนเป็นขวดน้ำหมัก จุลินทรีย์ ให้กับทางกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรในชุมชน เพื่อลดต้นทุน และนำทรัพยากรที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่พัก guest hose ของคนในชุมชน และ ลานกางเต็นท์ 4.กิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณค่าที่นักเที่ยวจะได้รับคือ กิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้การดำรงชีวิตอยู่และบรรลุเป้าหมายอย่างมีความสุข โดยผ่านธรรมะและธรรมชาติโดยมีconceptการสร้างสรรค์กิจกรรมดังนี้ (อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ฉันทะ หรือ การทำกิจกรรมโดยรักในสิ่งที่ทำ พอใจกับงานที่ทำอยู่ โดยจะเป็นกิจกรรมด้านศิลปะและ สิ่งแวดล้อม อาทิ ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ , ภาพวาดจากสีธรรมชาติ , ปั้นดินจากธรรมชาติ( โดยแต่ละกิจกรรม จะมีการเปลี่ยนแปลง ตามฤดูกาล Seasoning ของแต่ละเดือน ) วิริยะ หรือ การท ากิจกรรมที่อาศัยความเพียร ความพยายาม โดยจะเป็นกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและงาน ฝีมือ อาทิ การจักรสานปลาตะเพียน , การทำไข่เค็มดินสอพอง , การทำขนมไทย ( โดยแต่ละกิจกรรมจะมีการ เปลี่ยนแปลง ตามฤดูกาล Seasoning ของแต่ละเดือน ) จิตตะ หรือ การท ากิจกรรมที่เน้นความรับผิดชอบ มีสติ นึกถึงผลที่ตามมา โดยจะเป็นกิจกรรมกลุ่มและ ด้านระบบนิเวศ อาทิ สำรวจธรรมชาติ , ล่องไพรในไร่ , ก่อเจดีย์ทราย ( โดยแต่ละกิจกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลง ตามฤดูกาล Seasoning ของแต่ละเดือน ) วิมังสา หรือ การพินิจพิเคราะห์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยจะเป็นกิจกรรมที่เด็กในชุมชนเป็นไกด์และ ร่วมทำกิจกรรมด้วย อาทิ แคมป์ปิ้งคนป่า , ท าอาหารตั้งแต่หาวัตถุดิบกระทั่งประกอบอาหารด้วยตนเอง , การพับดอกบัว , บันไดลิง , พจญภัยในไร่ , เมล็ดพันธุ์ที่สูญหาย ( โดยแต่ละกิจกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลง ตาม ฤดูกาล Seasoning ของแต่ละเดือน ) 5.ไฮไลท์หรือจุดเด่นของกิจกรรม กิจกรรมเกิดจากการน า บวร เป็นการขับเคลื่อนกิจกรรม เนื่องจากไร่ธารธรรม มีสถานที่วัฒนธรรม ใกล้เคียงในชุมชน โดยมีการออกแบบกิจกรรมที่สนุก สร้างสรรค์เพื่อทำให้เด็กเข้าถึงแก่นของธรรมะและ ธรรมชาติผ่านการเรียนรู้และแบ่งปันกัน การท ากิจกรรมที่ไม่ใช่เพียงได้รับแต่ความสุขและความสนุก กิจกรรมที่ได้ลงมือทำให้เด็กได้เรียนรู้การเคารพธรรมชาติ เข้าใจการแบ่งปัน การใช้ชีวิตอย่างมีสติ และ ผู้ปกครอง ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับลูกในวันหยุด เพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย ฝึกการเรียนรู้ที่สามารถพบได้จากที่ บ้าน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฝึกสมาธิการน าธรรมะมาอยู่ในชีวิตได้จริงและไม่น่าเบื่อ 6.ความเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของชุมชน การเชื่อมโยงอัตลักษณ์ของชุมชน คือ ธรรมชาติ และ แม่น้ำเลย ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญในการหล่อเลี้ยงคนใน ชุมชน ไร่ธารธรรม จึงนำสายธารของแม่ เป็นเส้นทางแห่งการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนนั้น อาทิ ภูพุทโธ , วัดป่าภู สะนาว ต านานนางผมหอม , การสลักหินแกรนิต , บ้านไม้ร้อยปี, จักรสานนาอ้อ โดยมีการท่องเที่ยวยังพื้นที่จริง และ การออกแบบกิจกรรรมที่ให้นักท่องเที่ยวเข้าใจ ราก ของชุมชนนั้นอย่างแท้จริง ตามรูทเส้นทาง เที่ยวเลยให้รู้ ราก Loei Route to the Root ความเชื่อมโยงเอกลักษณ์ของชุมชน คือ วิถีชีวิต ทรัพยากรทางธรรมชาติของพื้นถิ่นนั้น ผ่านกิจกรรมที่ได้ ลงมือทำวิธีการดำรงชีวิต การประกอบอาหารพื้นถิ่น ของที่ระลึกที่ได้เรียนรู้จากคนในชุมชน และ เรียนรู้การ เคารพธรรมชาติ ทรัพยากรของแต่ละพื้นถิ่น เพื่อเป็นการสร้างการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เมื่อมีการท่องเที่ยว ไปยังสถานที่อื่นๆ 7.การสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน ไร่ธารธรรม ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน 4 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านระบบนิเวศ ด้านเศรษฐกิจ และ ด้านความสุขของคนในชุมชน เพื่อน าไปสู่พฤติกรรม การท่องเที่ยว ที่ไม่ทิ้งใครไว้ด้านหลัง และการกระจายรายได้ของคนในชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม Bio Economy ลดการใช้ขยะ และ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถ ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และนำวัสดุนั้น มาเพิ่มมูลค่าเป็นวัสดุในการท ากิจกรรมภายในไร่ต่อไป โดยกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ด้านระบบนิเวศ Circular Economy แม่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่ทางไร่ได้มีการบริหารการจัดการขยะได้ ลดลง โดยการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวก่อนใช้บริการ อีกทั้ง ขยะเปียก แปรเปลี่ยน เป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ ให้กับ เกษตรกรชุมชน เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้านความสุขของคนในชุมชน การที่มีการสื่อสาร กฎ ระเบียบ ก่อนทำกิจกรรม และมีการกำหนด นักท่องเที่ยวเพื่อลดความหนาแน่นในชุมชน

Latitude : 17.64490 Longitude : 101.74221

junpatch@gmail.com

0955862256

Line ID : june_enuj


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :