แหล่งเรียนรู้ : เด็กและเยาวชน

การผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน บ้านอุบลสามัคคี ตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นายวิโรจน์ หยวกทองหลาง

ที่อยู่ : บ้านอุบลสามัคคี ตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

ชุมชนท่องเที่ยวเชิงการศึกษาวิถีเกษตร ซึ่งวิถีชีวิตของคนในชุมชนยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะทำงานที่มีความเข้าใจและมีความสามารถในการดำเนินโครงการ มีการคัดเลือกคณะทำงานที่มีความเข้าใจและมีความสามารถในการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ตามความเหมาะสม เป็นตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ในชุมชน และมีความเข้าใจและมีความสามารถในการดำเนินโครงการ 1. เกิดคณะทำงานจำนวน 10 คน ที่มาจากกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนคุ้มปราชญ์ชุมชน และกลุ่มอื่นๆ ที่เห็นชอบร่วมกันดังนี้คือ 1. ผู้ใหญ่บ้าน1 คน 2. หัวหน้าคุ้ม2 คน 3. อสม.2 คน 4. ปราชญ์ด้านการปลูกผัก 1 คน 5. กรรมการหมู่บ้าน4 คน 2. เกิดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายดังนี้ คือ 1. นายวิโรจน์ หยวกทองหลาง ผู้บริหารโครงการ/วางแผน/ประสานงานหน่วยงานภาครัฐ 2. นายทองหล่อ สุขวงศ์กต ถ่ายทอดองค์ความรู้/ที่ปรึกษาด้านการปลูกผัก 3. นางเพ็ญศรี บุญชิต สำรวจ/เก็บข้อมูล/สรุปข้อมูล 4. นางสาวศรีสวรรค์ เข็มนาค บัญชีการเงิน/สำรวจ/เก็บข้อมูล/สรุปข้อมูล 5. นายสิทธิชัย วงศ์อินตา สถานที่/บริการ/พัสดุ 6. นายปัญญา บุญชิต สำรวจ/เก็บข้อมูล 7. นายวิระพงษ์ มาดา สำรวจ/เก็บข้อมูล/สถานที่/บริการ 8. นายสวน มาศสกุล ประสานงานคุ้ม/สำรวจ/เก็บข้อมูล 9. นางยุวานี คงเจริญ สำรวจ/เก็บข้อมูล/บริการอาหารเครื่องดื่ม 10. นางสายฝน แสงกล้า สำรวจ/เก็บข้อมูล/สรุปการประชุม/คีย์ข้อมูล 3. ในการทำงาน คณะทำงานจะร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรม โดยมอบหมายงานตามความถนัดและเชี่ยวชาญของแต่ละคน ซึ่งในการวางแผนการปฏิบัติงานจะแบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้คณะทำงานทุกท่านมองภาพรวมของโครงการร่วมกัน 4. มีการติดตามผลการดำเนินงานและเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประเมินและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องและมีการสรุปผลการดำเนินงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าตลอดระยะ ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดกลไกสนับสนุนการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ชุมชนมีข้อมูลสถานการณ์ด้านพฤติกรรมการปลูกและบริโภคผัก การใช้สารเคมีในชุมชน และนำข้อมูลไปใช้รวมถึงคืนข้อมูลให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ พฤติกรรมการปลูกผักใน 127 ครัวเรือน มี 53 ครัวเรือนที่ปลูกและซื้อทาน 74 ครัวเรือนซื้อเพื่อบริโภคอย่างเดียว ผักที่ปลูกทานเองมีตะไคร้ ข่า กะเพรา บวบ โหรพา ต้นหอม และฟักทอง ส่วนผักที่ซื้อเพื่อบริโภคคือ พริก กระเทียม คะน้า ต้นหอม ผักชีจีน แตงกวา ถั่ว และกะเพรา ค่าใช้จ่ายในการซื้อผัก/วัน แบ่งเป็น มากกว่า 30 บาท/วันหรือ 200-400 บาท/สัปดาห์ มี 21 ครัวเรือน และน้อยกว่า 30 บาท/วันหรือ 100-200 บาท/สัปดาห์ มี 106 ครัวเรือน ลักษณะการซื้อผักแบ่งเป็นดังนี้ ซื้อจากตลาดนัด 39 ครัวเรือน รถพุ่มพวง/รถเร่ 82 ครัวเรือน และซื้อจากศูนย์เรียนรู้ฯ 6 ครัวเรือน แนวคิดด้านการซื้อและปลูกทานเองแบ่งเป็น ปลูกทานเองดีกว่า 59 ครัวเรือน ซื้อสะดวกกว่า 68 ครัวเรือน ลักษณะการปลูกผักจะนิยมปลูกหลังบ้าน และริมรั้ว ซึ่งเป็นผักที่ปลอดสารเคมี 50 ครัวเรือน ปลูกทานเองและใช้สารเคมีด้วย 4 ครัวเรือน ใช้ยากำจัดวัชพืช 4 ครัวเรือน มีสมาชิกที่สนใจปลูกผักทานเอง 62 ครัวเรือน และไม่สนใจปลูกผักมี 65 ครัวเรือน น้ำที่ใช้ในการรดผัก ส่วนมากจะเป็นน้ำประปา ค่าใช้จ่ายการซื้อผักลดลง ภายหลังจากที่มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว ทางคณะทำงานร่วมกับครัวเรือนต้นแบบได้ร่วมกันกำหนดกติกาหรือข้อตกลงเรื่องการปลูกและการบริโภคผักปลอดสารเคมี และเกิดการปฏิบัติตามกติกาหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้ดังนี้ 1. การทำงานกลุ่มต้องเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน 2. สมาชิกกลุ่มต้องใช้และทำปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้ในสวน 3. การกำจัดวัชพืชต้องไม่ใช้สารเคมีเช่น ใช้จอบ เสียม มือ ถ้าฝ่าฝืนปรับ 1,000 บาท 4. สมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง/ทุกเดือน 5. กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ ในช่วงที่มีการปลูกผัก ทางคณะทำงานจะมีการลงพื้นที่เพื่อติดตามและรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นใน การดำเนินโครงการ และในขณะเดียวกันก็มีการเชิญเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลโนนสุวรรณเข้ามาให้ความรู้เรื่องพิษภัยของสารเคมี ตลอดจนมีปราชญ์จากในชุมชนเข้ามาสอนการเตรียมดิน การปลูกพืช และทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ ผลลัพธ์ที่ 3 : ครัวเรือนมีการปลูกและบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมี มีครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 127 ครัวเรือน ปลูกและบริโภคผักแบบปลอดสารเคมี จำนวน 126 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 99 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในแต่ละครัวเรือน

Latitude : 14.5774575 Longitude : 102.5970192


ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :