แหล่งเรียนรู้ : สังคมสูงวัย

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการบ้านโคกมั่งงอย

author

ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงาน : นางสุพัตรา ทองจำรูญ

ที่อยู่ : วัดจอมธาตุบ้านโคกมั่งงอย ม.2 ต.โคกมั่งงอย อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ

กิจกรรมเด่น/น่าสนใจ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการบ้านโคกมั่งงอย เกิดขึ้นโดยผลของการขับเคลื่อนภารกิจของ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย ตามยุทธศาสตร์ “สร้างสุข ๓ ดินแดน ๑ หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งกลุ่มโซนบ้านโคกมั่งงอย ทั้งสามหมู่บ้าน ได้ร่วมกันกำหนดประเด็นเพื่อใช้แก้ไขปัญหาอันเกิดจากขยะมูลฝอย และผู้สูงอายุที่นับวันจะมีมาก ทั้งนี้ ตำบลโคกมั่งงอยมีจำนวนผู้สูงอายุกว่าร้อยละ ๒๑.๕๒ % ของประชากรตำบลโคกมั่งงอย ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้สูงอายุของจังหวัดชัยภูมิ (ปี ๒๕๖๓ มีจำนวนร้อยละ ๑๙.๔๓) ผู้สูงอายุหลายคน มีปัญหาในด้านจิตใจ สุขภาพร่างกายที่เสื่อมสมรรถภาพตามอายุสังคมทอดทิ้ง ลดความสำคัญ บางครอบครัวมองเป็นภาระ ฯลฯ ๒๓.๕๒ ๑๙.๔๓ จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็นวาระสำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อีกทั้งได้มีการใช้กลไกของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตสูงอายุและผู้พิการบ้านโคกมั่งงอยร่วมดำเนินการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการบ้านโคกมั่งงอย จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นมา โดยได้รับอนุญาตจากวัดจอมธาตุ บ้านโคกมั่งงอย ให้ใช้พื้นที่สร้างอาคารและใช้สถานที่ศาลาการเปรียญหลังใหม่ ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นศูนย์แห่งการสร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ เติมความสุขให้กับครอบครัว ชุมชนอย่างยั่งยืน” ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมุ้งเน้นการบูรณาการงานจากทุนทางสังคมในพื้นที่ในการพัฒนาให้เกิดระบบการดูแลผู้สูงอายุในทุกด้าน โดยมีกิจกรรมการดำเนินงานผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการบ้านโคกมั่งงอย ยึดหลัก ๕ อ.สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้พิการ คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อดิเรก และอนามัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กำหนดขึ้นทุกวันศุกร์ตั้งแต่เดือนตุลาคมของปี – เดือนกันยายนของปีถัดไป ซึ่งผู้สูงอายุและผู้พิการจะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งจะมีรถรับส่งให้สำหรับผู้สูงอายุเพื่อมาทำกิจกรรมในศูนย์ฯ สำหรับกิจวัตรประจำวันของวันศุกร์ จะเริ่มต้นด้วยการลงทะเบียน รับแสตมป์ ออมเงิน ถุงพลาสติกแลกไข่ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น (ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต) สวดมนต์ ร้องเพลงประจำศูนย์ฯ กิจกรรมสันทนาการก่อนชั่วโมงการเรียนรู้โดยจิตอาสา และเข้าสู่ชั่วโมงเรียนต่างๆ ที่กำหนด ในหนังสือเรียน (สำหรับปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๑ ใช้หนังสือเรียนที่ชื่อว่า “คัมภีร์ ๕๕๕(๐) ว่าด้วยสุขภาพผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการจัดหาเครื่องออกก าลังกายชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและผู้พิการ การจัดตั้งชมรมเพื่อกระตุ้นการรวมกลุ่มออกกำลังกาย อาทิ ชมรมโยคะ ชมรมบาสโลบ การให้คำปรึกษาด้านกฎหมายการจัดให้มีศูนย์กายอุปกรณ์ ที่มีการระดมงบประมาณซื้อกายอุปกรณ์กับหน่วยงานต่างๆไม่ว่าจะเป็น รพ.สต. โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด การเสริมสร้างรายได้ที่เหมาะสม การออม การบำเพ็ญประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็นต้นแบบในการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุนให้กน่วยงานต่างๆในพื้นที่ปรับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุและผู้พิการเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการใช้บริการ นอกจากนี้ยังมีการบูรณาการงานกับกลุ่ม/องค์กรชุมชน อื่นๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ที่สร้างผลกระทบในด้านต่างฯ ประกอบด้วย กิจกรรมนอกศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการบ้านโคกมั่งงอย อาทิ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อบต.โคกมั่งงอย การเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมหมอครอบครัว การเยี่ยมยามพร้อมมอบของใช้ครัวเรือนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลโคกมั่งงอย (กองทุนวันละบาท) การถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับเด็กเล็กในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯ การสนับสนุนให้เกิด อสม.น้อย ใส่ใจผู้สูงอายุ มีการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ในการดูแลสุขภาพกายและจิตใจคนในครอบครัว และการทำหน้าที่จิตอาสาทำความดี โดยการทำกิจกรรมจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ ร่วมกับ อสม.ในพื้นที่และทีมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ เช่น การทำความสะอาดบ้าน การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ดูแลพูดคุยกับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวตนเอง และญาติผู้ใหญ่ในชุมชน การเสริมศักยภาพระบบการบริการและการเข้าถึงการรักษาการแพทย์ฉุกเฉิน (Community emergency medical services : CEMS) ที่ต่อยอดการดำเนินงานจาก EMS กู้ชีพกู้ภัย ที่มีการนำบุคลากรในชุมชน (ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น อสม. ญาติ และ CG) เพื่อสร้างกระบวนการรับรู้ และมีส่วนร่วมในช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และกระบวนรักษาโดยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และมีการติดตั้งไฟฉุกเฉินในบ้านของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อการป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุซ้ำซ้อน ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้ประชาชนทราบถึงวิธีการ แนวทางการดำเนินงาน การให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เมื่อเห็นสัญญาณไฟวับวาบ ซึ่งหากมีภาวะฉุกเฉิน(ที่อยู่ในภาวะสามารถกดสัญญาณได้)ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหรือคนในครอบครัว จะกดสัญญาณไฟวับวาบ สัญญาณไฟวับวาบ จะส่งเสียงและแสง ในรัศมี ๓๐ เมตร ญาติ CG ผู้นำชุมชน เข้าช่วยเหลือ เช่น ช่วยเหลือเบื้องต้น ตามอาการ เช่น ให้ลูกอม อาหาร ยา ช่วยพยุง แจ้ง ๑๖๖๙ ฯลฯ กดนวดหัวใจ หากหมดสติ (CPR) หรือหากไม่ทราบ ไม่มีทักษะการช่วยเหลือเบื้องต้น โทรแจ้งเหตุ เบอร์ ๑๖๖๙ การบูรณาการร่วมกับกองทุนสวัสดิการตำบล เพื่อการจัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปใช้ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ ติดบ้านติดเตียง โดยนำมาใช้เพื่อจัดซื้อของใช้ครัวเรือนจากการเยี่ยมบ้ามพร้อมมอบให้กับผู้สูงอายุและผู้พิการ นอกจากนี้ยังผลักดันให้ผู้สูงอายุและผู้พิการเข้ามาเป็นสมาชิกในกองทุนสวัสดิการ เพื่อให้สามารถรับบริการหรือชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนสวัสดิการ ที่ดูแลคลอบคลุมกรณีเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต ซึ่งกองทุนสวัสดิการตำบลโคกมั่งงอย มีเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงสามารถทำเนินการได้คลอบคลุมและทั่วถึงทั้งตำบล การส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้หลักคิดพลังคลังปัญญาพัฒนาผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุสู่ OTOP จังหวัดชัยภูมิ ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพภูมิปัญญาของผู้สูงอายุและการพัฒนาผลิตภัฑณ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น กลุ่มจักรสาน กลุ่มทอผ้า กลุ่มเลี้ยงไหม กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มจักรสานแปรรูปผลิตภันฑ์ผักตบชวา กลุ่มประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และการหนุนเสริมกลุ่มผู้สูงอายุปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อนำไปทานและปรุงอาหารในครอบครัว การจัดสรรพื้นที่สาธารณะให้กับผู้สูงอายุมีพื้นที่ทำหรับปลูกพืชผักสวนครัว และการนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุ โดยมีตลาดรองรับในพื้นที่ การพัฒนาสมรรถนะกำลังคน การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของธรรมนูญสุขภาพผู้สูงอายุ ในหมวดที่ ๓ ชุมชนกับการดูแลผู้สูงอายุ จะเป็นการมุ้งเน้นให้เกิดการพัฒนาศัยภาพคนในการดูแลตนเอง ดูแลเพื่อนผู้สูงอายุ ตลอดทั่งการพัฒนาศัยภาพของอาสาสมัครเพื่อเข้าไปเป็นกลไกในการดูแลช่วยเหลือ จึงต้องมีกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพ ซึ่งประกอบด้วย ๑)การพัฒนาศัยภาพผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตนเองและเพื่อนผู้สูงอายุได้ ในเรื่องการดูแลสุขภาพ ๕อ. อาหาร ออกกำลังกาย อาชีพ ออม และเป็นอาสา การป้องกันสมองเสื่อม ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในครัวเรือน การดูแลสุขภาพโดยใช้สมุนไพร และลดความเสี่ยงพลัดตกหกล้ม ผ่านการฝึกอบรมในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ๒)การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุกรณีป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผ่านการให้คำแนะนำโดยหน่วยบริการสุขภาพ ๓)การพัฒนา อสม.น้อย ที่ทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุในทุกกลุ่มวัย เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และชุมชน ๔)การพัฒนาศักยภาพกลุ่มเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยการให้ความรู้ให้คำแนะนำในการเตรียมตัวดูแลตนเอง ในทุกมิติสุขภาพ ๕)การพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน CEMS ในด้านการให้บริการกรณีฉุกเฉิน และช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างถูกต้องและทันท่วงที ๖)พัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการสุขภาพ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care giver) อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว (อสผ.) อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีศักยภาพ ให้การสนับสนุนส่งเสริมการจัดระบบดูแลผู ้สูงอายุ ร่วมกับคนโคกมั่งงอย และหน่วยงาน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพตนเองให้มีความชำนาญในงาน

ภาพถ่ายเล่าเรื่อง :


คลิปวิดีโอเล่าเรื่อง :

แผนที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ :